2nd benefit

2nd benefit

  • หน้าแรก

ภาคประชาชนไม่ยอมรับร่าง พ.ร.บ.กสทช. ชี้นำมาสู่การแย่งชิงทรัพยากรของชาติที่ประชาชนเป็นเจ้าของ

590804 news

เครือข่ายสื่อภาคประชาชนและองค์กร แสดงจุดยืนไม่ยอมรับร่าง พ.ร.บ.กสทช. ชี้เป็นร่างที่นำมาสู่การแย่งชิงทรัพยากรของชาติ และทำลายหลักการความเป็นองค์กรอิสระเพื่อกการปฏิรูปสื่อ เสนอให้มีตัวแทนผู้บริโภค สิทธิเสรีภาพ ในกรรมการ ลดบทบาทคณะกรรมการดิจิทัลฯ

วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เครือข่ายสื่อภาคประชาชนและองค์กรผู้บริโภค จัดแถลงข่าวข้อเสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.กสทช. ซึ่งทางเครือข่ายฯ มองว่าเป็นการมอบอำนาจให้คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อำนาจควบคุมกำกับดูแล กสทช. ตั้งแต่กระบวนการสรรหาไปจนถึงการวินิจฉัยชี้ขาดกรณีมีปัญหากับการดำเนินการระหว่าง กสทช. กับ แผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ถือว่าเป็นการครอบงำองค์กรอิสระและเป็นการแทรกแซง กสทช.

นางสาวสุวรรณา จิตประภัสสร์ กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) และตัวแทนจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.กสทชว่า ฉบับนี้มีการกำหนดให้ใช้อำนาจควบคุมไปกับคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล เป็นการให้อำนาจที่เปิดทางให้ครอบงำองค์การอิสระและเป็นการแทรกแซงกิจการของรัฐ

“ อะไรก็ตามแต่ถ้ากลับเข้าไปสู่ศูนย์รวม ถ้าไม่มีการกระจายอำนาจประชาชนและนักธุรกิจขนาดกลาง ที่กำลังจะเข้าสู่กระบวนการ จะติดขัดเมื่อคลื่นความถี่กลับเข้าไปในระบบรัฐเพียงอย่างเดียว ร่างฉบับนี้อยู่ในคณะกรรมาธิการพิจารณาวิสามัญ แต่ในประชามติที่กำลังเกิดขึ้นถ้าผ่านจะมีการเขียนร่างใหม่ทั้งหมด จะผ่านหรือไม่ผ่านคลื่นความถี่ก็เป็นของรัฐอยู่ดี” นางสาวสุวรรณากล่าว

นายวิชาญ อุ่นอก เลขาธิการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.กสทช. ตัวใหม่คิดว่าเป็นปัญหาใหญ่สำหรับวิทยุชุมชน ตั้งแต่กระบวนการสรรหา เมื่อก่อนมีสัดส่วนของตัวแทนชุมชนแต่ในร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ก็โดนตัดไปซึ่งร่างตัวใหม่ไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ชุมชนโดยแท้จริง

“ปัจจุบันมีคลื่นวิทยุ 4,000 สถานี มีวิทยุชุมชนมีเพียง 200-300 สถานี การคืนคลื่นเมื่อกลับมาจัดสรรใหม่ ตอนนี้ชุมชนใช้คลื่นชั่วคราวมากว่า 10 ปี ซึ่งมีการทับซ้อนการใช้คลื่นและมีสัญญาณว่าภายใน พ.ร.บ.กสทช. จะจัดสรรให้ ถ้าร่าง พ.ร.บ. ตัวใหม่เกิดขึ้น ถ้าคลื่นเก่ามีความจำเป็นต้องใช้ก็จะสามารถให้ใช้ต่อไปได้” นายวิชาญกล่าว

ในประการสำคัญ การลดอำนาจคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับการปฏิบัติงานของ กสทช. ให้เป็นเพียงคณะกรรมการกำกับการประเมินการปฏิบัติงาน กสทช. เท่ากับเป็นการปิดช่องทางการตรวจสอบถ่วงดุลการทำงานของคณะกรรมการ กสทช. และตกอยู่ในสถานะเป็นเพียงกลไกตรวจสอบภายในเท่านั้น อาจทำให้องค์กรนี้ยิ่งเป็นองค์กรที่ขาดความโปร่งใส และขาดธรรมาภิบาลมากขึ้น

อนึ่งทางเครือข่ายภาคประชาชนมีข้อเสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้คือ

1. ให้นำกระบวนการสรรหาที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. กสทช.ปี 2553 กลับมาใช้เพื่อเป็นหลักประกัน การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่เป็นเจ้าของคลื่นความถี่

2. ให้กำหนดตัวแทนด้านคุ้มครองผู้บริโภคให้ชัดเจนว่าเป็นหนึ่งในกรรมการชุดนี้ และกำหนดคุณสมบัติกรรมการด้านผู้บริโภคต้องมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ กำหนดจำนวนปีของประสบการณ์การทำงาน ให้เท่าๆ กับผู้สมัครกรรมการด้านอื่น

3. ให้กำหนดตัวแทนกรรมการด้านสิทธิเสรีภาพ เป็นหนึ่งในกรรมการชุดนี้ เพื่อรับประกันสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรคลื่นของประชาชนอย่างทั่วถึง

4. ให้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับการประเมินเป็นคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) ของ กสทช. ตามเดิม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในความโปร่งใสขององค์กร และให้คงข้อกำหนดเรื่องเปิดเผยรายงานตรวจสอบของ กตป. ไว้อย่างเดิมด้วย

5. ให้เพิ่มกรรมการ กตป. ที่เชี่ยวชาญด้านคุ้มครองผู้บริโภคและด้านสิทธิเสรีภาพในคณะกรรมการตรวจสอบฯ เพื่อถ่วงดุลการบริหารงานของ กสทช.

6. ให้ลดบทบาทคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในการกำกับดูแล กสทช. ให้มีความเท่าเทียมกันและมีความร่วมมือในการทำงานในระดับเดียวกันเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างแท้จริง

7. ให้ประเด็นเรื่องการจ่ายค่าชดเชยในการเรียกคืนคลื่นความถี่ฯ ออกไป และให้ดำเนินการตามเจตนารมณ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายปี ๒๕๕๓ กล่าวคือ เรียกคืนคลื่นความถี่ทั้งหมดเพื่อนำมาจัดสรรใหม่อย่างเป็นธรรม

8. ให้ตัดประเด็นการนำเงินกองทุนไปลงทุน เพราะกองทุนมีวัตถุประสงค์ต่างๆ ชัดเจนอยู่แล้วในเรื่องการทำบริการอย่างทั่วถึงทั้งด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ในการคุ้มครองผู้บริโภค การเสริมความเข้มแข็งประชาชน เรื่องการเท่าทันสื่อและเทคโนโลยีสื่อสาร ร่าง พ.ร.บ. นี้ต้องพึงเคารพจุดประสงค์หลักของกองทุนที่กำหนดให้นำไปใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะและช่วยเหลือคนด้อยโอกาสทั่วไป

9. ให้กำหนดว่าอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ได้มาตามมาตรา 31 ของ พ.ร.บ.กสทช.ปี 2553

ให้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องร้องเรียน มิใช่มีเพียงแค่พิจารณากลั่นกรองเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคเท่านั้น เพื่อประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคอย่างแท้จริง

ภาพและข่าวโดย เบญจมาศ ลาวงค์

คอบช. เผยทีวีดิจิทัลโฆษณาเกินเวลา แนะกสทช.คุมเข้ม

581022001 AdTV
คอบช.ร่วมกับเครือข่ายผู้บริโภค เผยพบโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเครื่องสำอางผิดกฎหมายจำนวนมาก พบหลายช่องโฆษณาเกินเวลา พร้อมจี้กสทช.กำหนดโฆษณาทั้งในและนอกรายการไม่เกิน 12.30 นาที

ผู้บริโภคผิดหวัง กทค.ไม่จริงใจ เห็นชอบร่างประมูล1800 ไร้เงาคุ้มครองผู้บริโภค

580820 4G

เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคโวย ผิดหวัง กทค. ผ่านร่างประกาศหลักเกณฑ์ประมูลคลื่น 1800 MHz. กำหนดเงื่อนไขคุ้มครองอัตราค่าบริการห่วย แค่บังคับให้ต้องมีแพ็คเกจพื้นฐานที่ถูกกว่าค่าเฉลี่ยอัตราค่าบริการ 3G

กสทช. ต้องออกประกาศห้ามคิดค่าโทรแบบปัดเศษในทุกกรณี

580818 Calls

องค์กรผู้บริโภค จี้ กสทช. เร่งออกประกาศห้ามคิดค่าโทรแบบปัดเศษในทุกกรณี ชี้ให้ระบุเงื่อนไขไม่ปัดเศษไว้ในเงื่อนไขการประมูล 4จี 

คอบช. จี้ สปช ดันร่างรัฐธรรมนูญ ม.48 ห้ามควบรวมสื่อ พร้อมเพิ่มมิติคุ้มครองผู้บริโภค

 66172

วันนี้ (23 เม.ย.) นางสาวชลดา บุญเกษม อนุกรรมการองค์การอิสรเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสื่อและโทรคมนาคม (คอบช.สื่อและโทรคมนาคม) ยื่นหนังสือกับ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช) ให้การสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญในมาตรา48 ห้ามมิให้มีการควบรวมสื่อและให้เพิ่มเนื้อหาคุ้มครองสิทธิผู้บรโภคสื่อในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงเป็นธรรมรอบด้านและปราศจากการครอบงำ พร้อมสนับสนุนการต่อสู้ของบริษัท Nation Multi media Group (NMG) เพื่อหลักการตามกฎหมายมิให้การควบรวมสื่อ

“การปฏิรูปสื่อนั้น เป็นกระบวนการที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วม เนื่องจากประชาชนเป็นฝ่ายรับข้อมูลข่าวสารที่มาจากสื่อทุกประเภท ในทุกรูปแบบ” คอบช.สื่อและโทรคมนาคม กล่าว

นางสาวชลดา กล่าวต่อไปว่า หากประชาชนถูกชี้นำความคิดทั้งทางด้านการเมืองเศรษฐกิจ สังคม อันเนื่องมาจากการมีอิทธิพลจากกลุ่มทุนบางกลุ่มที่สามารถควบรวมสื่อไว้ในกำมือได้ อาจส่งผลร้ายต่อประเทศชาติในระยะยาว ที่นำมาซึ่งความระส่ำระสายในสังคมที่ปราศจากประชาธิปไตยทางความคิด

องค์การอิสระฯ ภาคประชาชนจึงมีข้อเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อให้ผลักดันประเด็นมนร่างรัฐธรรมนูญดังต่อไปนี้

1. ให้คงไว้ซึ่งข้อบัญญัติตามมาตรา 48 เพื่อให้สื่อมวลชนรักษาความเป็นอิสระจากการควบรวมสื่อจากกลุ่มทุน

2. ให้เพิ่มข้อความในวรรคแรกของมาตรา 60 ในร่างรัฐธรรมนูญดังนี้

สิทธิผู้บริโภคในการได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงเป็นธรรม รอบด้านและปราศจากการครอบงำย่อมได้รับการคุ้มครองผู้บริโภคมีสิทธิ เข้าถึงสินค้าและบริการที่ปลอดภัย มีคุณภาพ ราคาเป็นธรรม มีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค

"ทั้งนี้เพื่อรักษาความเป็นประชาธิปไตย และความเป็นอิสระจากการครอบงำความคิดของประชาชน 

อนึ่ง องค์การอิสระฯภาคประชาชนสนับสนุนการต่อสู้ของบริษัท Nation Multi media Group ในการต่อสู้เพื่อรักษาสิทธิตาม มาตรา 31 ในพรบ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ห้ามมิให้มีการถือสิทธิ์ข้ามสื่อหริอการควบรวมสื่อ” คอบช.สื่อและโทรคมนาคม กล่าวทิ้งท้าย

 

บทความเนื้อหาใกล้เคียงกัน:

|

ภาคประชาชน-นักวิชาการ ร่วมวง สปช. ถกแก้กม.ดิจิทัล ชี้ขาดการมีส่วนร่วมของ ปชช.

712791

ภาคประชาชน นักวิชาการร่วมวง สปช. ย้ำ แก้กม.ดิจิทัล เพียงแค่เอาตัวรอด ไม่จริงใจส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ส่งเสริมการวิ่งเต้นเสรี ขาดการมีส่วนร่วม เสนอให้ประธานคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นตัวแทนผู้บริโภค ในชุดกฎหมายดิจิทัล

เนื้อหาอื่นๆ...