2nd benefit

2nd benefit

  • หน้าแรก

องค์กรผู้บริโภคท้วง กสทช. อย่าฉวยจังหวะเอื้อเอกชนยามวิกฤต แนะลดค่าบริการดีกว่าแจกเน็ตฟรี

630402 1คอบช. วิจารณ์นโยบาย กสทช. แจก “เน็ตฟรี ”ฉวยจังหวะวิกฤตโควิดเอื้อรายได้ให้กับค่ายมือถือ แนะลดค่าบริการโทรคมนาคมถ้วนหน้าเป็นวิธีการช่วยเหลือเยียวยาความเดือดร้อนของประชาชนได้โดยตรงมากกว่า

จี้ กสทช. กำกับค่าบริการโทรศัพท์นอกโปรฯ หยุดเอื้อประโยชน์ค่ายมือถือ

news pic 15082019 8

กลุ่มผู้บริโภค และ คอบช. เรียกร้อง กสทช. ยืนหยัดกำกับอัตราค่าบริการนอกโปรโมชันตามแนวทางที่กำหนดไว้เดิม อย่าคล้อยตามเสียงเอกชน แต่ควรเห็นแก่ประโยชน์ของผู้บริโภคโดยรวม

ผู้บริโภคยื่นฟ้องคดีแบบกลุ่ม ๓ ค่ายมือถือ เรียกค่าชดเชย ๒.๒ หมื่นลบ.จากการคิดค่าโทรแบบปัดเศษ

610606 newsitเครือข่ายผู้บริโภคยื่นฟ้องคดีแบบกลุ่ม ๓ ค่ายมือถือดัง เรียกค่าเสียหายไม่น้อยกว่า ๒.๒ หมื่นล้านบาท เพื่อให้จ่ายให้แก่ผู้ใช้มือถือทุกคนกว่า ๙๐ ล้านเลขหมายในประเทศไทย

ผู้บริโภคฉะ กสทช. แก้ปัญหา SMS ไม่ได้โยนภาระให้ผู้บริโภค ย้ำ บังคับใช้ประกาศ กสทช.

610419 news

ผู้บริโภคฉะ กสทช. แก้ปัญหา SMS ไม่ได้โยนภาระให้ผู้บริโภค  ย้ำ บังคับใช้ประกาศ กสทช. การโทรศัพท์หรือส่งข้อความโฆษณา  ก่อความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้บริโภค ปรับไม่เกินห้าล้านบาท และหากฝ่าฝืนให้คณะกรรมการปรับรายวันอีกไม่เกินวันละ 100,000 บาท

องค์กรผู้บริโภค ร่วมค้านร่าง ก.ม.ตีทะเบียนสื่อ คล้ายจับต้อนเข้าคอก ขีดเส้นการมีส่วนร่วมของ ปชช.

press banner 02052560

 

แถลงการณ์องค์กรผู้บริโภค

องค์กรผู้บริโภคคัดค้านคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศ ที่ขาดความจริงใจ ในการปฏิรูปสื่อ ด้วยการออกร่างพ.ร.บ.ที่ต้อนสื่อเข้าคอก ให้มีเจ้าหน้าที่กำกับ และไม่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาชน

     แม้สภาปฏิรูปยอมถอนการทำบัตรสื่อมวลชนและบทลงโทษในร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน เมื่อสื่อและสังคมกดดัน แต่ยังคงยืนยันตำแหน่งปลัดกระทรวงอยู่ถึงสองที่นั่ง และยังคงโทษปรับอยู่ ซึ่งแสดงเจตนาชัดเจนว่าสภาปฏิรูปสื่อนี้ มิได้มีเจตนาและความจริงใจที่จะส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของสื่อ ตลอดจนการคุ้มครองสื่อมวลชนและส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพ ในทางตรงกันข้าม ยังมีเจตนาในการคุกคามสื่อ

     การลิดรอนสิทธิเสรีภาพสื่อนั้น คือ การลิดรอนสิทธิเสรีภาพการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ซึ่งสิทธิเสรีภาพทั้งสองประการนี้ถือเป็นหลักการใหญ่ที่ต้องคงรักษาไว้ในสังคมประชาธิปไตย

     ในรายงานเรื่อง "การปฏิรูปการสื่อมวลชน" ที่คณะกรรมาธิการเสนอเข้าสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเพื่อประกอบ ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนนั้น มุ่งเน้นแต่กลไกการกำกับดูแลสภาวิชาชีพสื่อในต่างประเทศ โดยละเลยปัจจัยที่สำคัญที่สุด ว่าการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่เกิดขึ้นในต่างประเทศนั้น คือความเข้มแข็งของภาคประชาชนที่มีส่วนได้เสียโดยตรงจากผลกระทบของสื่อ

     ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้วทั่วโลกได้พิสูจน์ว่าการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนกับกลุ่มประชาชนเท่านั้นที่จะสามารถบรรลุเจตนา "คุ้มครองเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน" โดยมีภาครัฐสนับสนุน และเอื้ออำนวยกลไกต่างๆ เพื่อกำกับวิชาชีพนี้ให้มีเสรีภาพอย่างแท้จริง ปราศจากการครอบงำโดยรัฐ การเมือง และกลุ่มทุน และสร้างกลไกที่เอื้ออำนวยกับการสร้างศักยภาพให้กับประชาชนทั่วประเทศในการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสามารถกำกับดูแล และปกป้องสิทธิเสรีภาพสื่อเช่นกัน

     อนึ่ง แม้ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ เน้นเจตนาคุมสื่อและลิดรอนสิทธิประชาชน แต่สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปเสียงข้างมาก ได้รับรองร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ 

     องค์กรผู้บริโภคจึงขอคัดค้านการกระทำของสภาขับเคลื่อนเสียงข้างมาก ที่ไม่รักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์สาธารณะในการปกครองแบบประชาธิปไตย

จึงขอเรียกร้องให้

1) ยกเลิกร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยเร็วที่สุด
2) ร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ที่สร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ยกเว้นการกำกับดูแลจากภาครัฐหรือตัวแทนภาครัฐ
3) ให้ส่งเสริมศักยภาพประชาชนในการเป็นพลเมืองที่รู้เท่าทันสื่อและปกป้องสิทธิเสรีการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน (คอบช.) สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค (สอบ.) และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ขอประกาศว่าจะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมใดๆ กับสภาวิชาชีพสื่อ ตามร่างพ.ร.บ.นี้ หากสภาปฏิรูปยังคงยืนยันเนื้อหาที่นำไปสู่การลิดรอนสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน

2 พฤษภาคม 2560

เตือนค่ายมือถืออย่ามั่ว แค่ให้เลิกปัดเศษ ทำไมต้องรื้อแพ็กเกจ

mobile
จากกรณีการออกมาเปิดเผยของผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือว่าหากคิดค่าโทรเป็นวินาทีนั้นผู้บริโภคส่วนใหญ่จะได้ไม่คุ้มเสีย ต้องหาผู้รับผิดชอบกรณีนี้ แต่พร้อมที่จะปฏิบัติตามมติของที่ประชุม กทค. ซึ่งพรุ่งนี้ (11 ม.ค.60 ) จะมีการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) มีวาระการขอทบทวนมติ กทค. เดิม (มติครั้งที่ 10/2559) ที่ให้ค่ายมือถือที่ใช้คลื่น 1800 และ 900 MHz "คิดอัตราค่าบริการตามการใช้งานจริงเป็นวินาทีทุกรายการส่งเสริมการขาย" โดยให้ยกเลิกมติเดิมตามข้อเรียกร้องของค่ายมือถือ ซึ่งมีการอ้างเหตุผลว่า การคิดอัตราค่าบริการตามการใช้งานจริงเป็นวินาทีจะทำให้ประชาชนต้องจ่ายค่าโทรศัพท์แพงขึ้น

เนื้อหาอื่นๆ...