2nd benefit

2nd benefit

แม่ใจนำร่อง 13 สถานศึกษาสอนหลักสูตรลดบริโภคขนมขบเคี้ยว

610617
"แม่ใจ" ขยายผลการจัดการเรียนการสอน 13 สถานศึกษา สอนหลักสูตรลดบริโภคขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มผสมน้ำตาลให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ

พะเยาจัดเวทีสภาผู้บริโภคจังหวัด สานพลังขับเคลื่อนงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค

17629780 1664128890559221 6625075114365982119 n

วันนี้ (28 มีนาคม 2560) ณ ห้องประชุมสหกรณ์การเกษตรเมืองพะเยา จำกัด อ.เมือง จ.พะเยา มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา ร่วมกับคณะกรรมการสภาผู้บริโภคฯและเครือข่ายสร้างบ้านแปงเมืองพะเยา ได้จัดเวทีสภาผู้บริโภคจังหวัดพะเยา โดยมี นายปานทอง สระคูพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดประชุมพร้อมให้ข้อคิดแก่ผู้เข้าร่วม และเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคและประชาชนจากเครือข่ายต่าง ๆ จำนวน 100 คน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามสถานการณ์และการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และให้ผู้บริโภคร่วมกันเสนอแนะแนวทางการออก เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคและมีข้อเสนอให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป

การคุ้มครองประชาชนเป็นหน้าที่ของรัฐที่พึงดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ อีกทั้งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองที่ต้องได้รับความคุ้มครองจากรัฐ ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ และเป็นหน้าที่ของรัฐบาลต้องดำเนินการโดยอาศัยกระบวนการทางกฎหมาย เพื่ออำนวยความยุติธรรมและสร้างความเสมอภาคอย่างเป็นรูปธรรมแก่ประชาชน ทุกคน แต่ในความเป็นจริงในปัจจุบันกลับพบว่าทุกข์ของผู้บริโภคที่มีอย่างต่อเนื่องในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลการร้องเรียนที่ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดพะเยาได้ดำเนินการพบว่า 

ปัญหาด้านอาหาร ยา เครื่องสำอาง เป็นอันดับต้น ๆ ที่พบทั้งปัญหา อาหารหมดอายุแล้วยังนำมาจำหน่ายในห้างร้าน วันที่ผลิต วันหมดอายุ ไม่ชัดเจน ฉลากกำกับไม่เป็นภาษาไทย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเสมือนยารักษาโรค โดยที่ไม่มีการควบคุม หรือกำกับดูแลอย่างทั่วถึง เช่น ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก เร่งผิวขาว หน้าเด้ง หน้าใส หรือแม้กระทั่งผลิตภัณฑ์ที่เสริมสมรรถภาพทางเพศ ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค

ด้านสื่อและโทรคมนาคม พบว่า มีลักษณะของการได้รับซิมฟรีแล้วถูกเรียกเก็บเงินภายหลังทั้งที่ไม่ได้เปิดใช้บริการคือปัญหาสูงสุดในขณะนี้ รองลงมาคือปัญหาวันหมด แต่เงินไม่หมด แต่ไม่สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้ ตลอดจนการตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ที่ใกล้กับชุมชนและเป็นอันตรายต่อประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นความหละหลวมในการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

บริการสาธารณะ มีเรื่องร้องเรียนมากที่สุดคือ การให้บริการของระบบขนส่งสาธารณะ รถโดยสารขนาดใหญ่จะพบปัญหาเรื่องอุบัติเหตุ การเก็บค่าโดยสารแพงเกินจริง ขับรถหวาดเสียวทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย, พูดจาไม่สุภาพตวาดผู้โดยสาร, ทิ้งผู้โดยสารระหว่างทาง รถตู้โดยสาร มีปัญหาด้านการบรรทุกเกินจำนวน การรถรับส่งนักเรียนที่ผิดระเบียบที่ได้มีป้ายหรือไฟกระพริบ

ทุกข์ของผู้บริโภคที่มีอย่างต่อเนื่องสารพัดรูปแบบ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอาจไม่สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้ทั้งหมด ผู้บริโภคจึงควรลุกขึ้นมาจัดการปัญหาของตนเอง โดยเริ่มจาก
ประการแรกคือ ผู้บริโภคจะต้องมีข้อมูลให้เท่าทันสถานการณ์เพื่อใช้รับมือ รวมทั้งเป็นเกราะป้องกันตัวจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ
ประการที่สอง การปรับปรุงพัฒนากฎหมายที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคในปัจจุบัน
ประการที่สาม ต้องบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่อย่างจริงจัง และให้เกิดประสิทธิภาพ 

กลุ่มองค์กรและเครือข่ายภาคประชาชนที่มีการทำงานในประเด็นการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคของ จ.พะเยาจึงได้รวมกลุ่มเพื่อจัดตั้ง “สภาผู้บริโภคจังหวัดพะเยา” ซึ่งมีบทบาทหน้าที่
1.เป็นตัวแทนของผู้บริโภคในการประสานนโยบาย และดำเนินงาน ร่วมกับท้องถิ่น หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน
2.สนับสนุนการมีส่วนร่วมและการรวมตัวกันของผู้บริโภคในการจัดตั้งองค์กรผู้บริโภค
3.ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ที่มีพลังในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค
4.ให้คำปรึกษา และให้ข้อเสนอแนะแก่ท้องถิ่น และหน่วยงานของรัฐเพื่อการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค
5.สนับสนุน เผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค

เนื้อหาและภาพข่าวจาก facebook fanpage มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา

17457970 1664130600559050 2028762384843688740 n

17554011 1664129820559128 5852011801992125220 n

17629761 1664129417225835 1340515944115593568 n

17630103 1664128853892558 7430358522596106016 n

เวทีพัฒนาแกนนำองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ จ.พะเยา

payaocivil news 10092016-01web

เมื่อวันที่ 9 - 10 กันยายน 2559 มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนาได้จัดเวทีพัฒนาแกนนำองค์กรผู้บริโภคคุณภาพจังหวัดพะเยาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยได้รับความรู้และทักษะในการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ จากเจ้าหน้าที่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา รวมไปถึงทักษะในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน จากเจ้าหน้าที่ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพะเยา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจากองค์กรผู้บริโภคในจังหวัดพะเยา เข้าร่วมกว่า 15 องค์กร

payaocivil news 10092016-04web

payaocivil news 10092016-03web

 

 

มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนาจัดเวทีพัฒนากลไกคุ้มครองผู้บริโภคระดับจังหวัด

phyaocivil 02

 

วานนี้ (31 สิงหาคม 2559) มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนาจัดเวทีพัฒนากลไกความร่วมมือกับองค์กรผู้บริโภคจังหวัดพะเยา ซึ่งมีองค์กรผู้บริโภคในจังหวัดพะเยาเข้าร่วมกว่า 10 องค์กร จำนวนกว่า 20 คน เพื่อให้มีความเข้มแข็งและมีความเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการสร้างความร่วมมือและเชื่อมประสานงานกับภาคีทุกภาคส่วน เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนากลไกขับเคลื่อนด้านนโยบายที่มีผลกระทบกับผู้บริโภค ด้วยการเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาและได้รับการยอมรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเกิดแกนนำขององค์กรเครือข่ายที่สามารถเป็นนักจัดการปัญหาผู้บริโภคในการเฝ้าระวัง การแก้ไขปัญหา และสร้างความตื่นตัวให้กับผู้บริโภคในการรู้สิทธิ ใช้สิทธิ และเข้าถึงสิทธินำไปสู่การแก้ไขปัญหาของตนเองไม่ให้ถูกเอาเปรียบ

 

phyaocivil 04

phyaocivil 01

มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนาร่วมกับเครือข่ายภาคเหนือ จัดทำเครื่องมือช่วยพัฒนาองค์กรคุณภาพ

payaocivil news 27072016-01web

การจัดทำแผนที่ผลลัพธ์ Outcome Mapping : เครื่องมือช่วยในการบริหารจัดการเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรคุณภาพภาคเหนือ

         เมื่อวันที่ 23 – 25 กรกฏาคม 2559  ณ  คำม่อนล้านนารีสอร์ท จ. เชียงใหม่  มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนาร่วมกับเครือข่ายผู้บริโภคภาคเหนือจาก  จ.พะเยา  จ.ลำปาง จ.เชียงใหม่  จ.เชียงราย   และจ.ลำพูน  รวมทั้งเพื่อนๆจากเครือข่ายผู้หญิงเพื่อสุขภาพ ภาคกลาง ประมาณ 33 คนได้มารวมตัวกันมาเพื่อฝึกปฎิบัติการจัดทำแผนที่ผลลัพธ์ (Outcome Mapping)  เครื่องมือช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาองค์กรผู้บริโภคให้มีคุณภาพซึ่งมีอาจารย์วีรบูรณ์   วีรสารทกุล  เป็นวิทยากร  

        เริ่มตั้งแต่การให้แต่ละองค์กรได้ทบทวนและวิเคราะห์องค์กร ในประเด็นเป้าหมายการทำงานขององค์กร  การกำหนดกลุ่มเป้าหมายและรูปธรรมของภาพฝันที่อยากเห็นรวมทั้งการออกแบบกิจกรรมว่าสอดคล้องที่จะไปบรรลุเป้าหมายอย่างไร  อีกทั้งยังมีการใช้เครื่องมือSwot มาวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก จึงทำให้แต่ละองค์กรได้มีโอกาสเรียนรู้การทำงานขององค์กรตนเองที่ผ่านมา นอกจากนี้แล้วยังได้แลกเปลี่ยนแนวคิดการทำงานพัฒนาและการพยายามปรับใช้เครื่องมือแผนที่ผลลัพธ์(Outcome Mapping) มาวางแผนการทำงานขององค์กรคุณภาพ ภาคเหนือเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ  นำมาพัฒนาให้การทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นต่อไป 

พวงทอง  ว่องไว
รายงาน

 

พะเยารณรงค์ลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงสงกรานต์

payaocivil news 11042016-04web

5 เมษายน 2559 สำนักงานขนส่งจังหวัดพะเยา ร่วมกับมูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา และภาคีเครือข่ายลดอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดพะเยา ร่วมจัดกิจกรรม โครงการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2559 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยากล่าวเปิดงาน และปล่อยคาราวานรถจักรยานยนต์ขับขี่ปลอดภัย สวมหมวกกันน๊อตนิรภัย เพื่อลดอุบัติเหตุ

payaocivil news 11042016-01web

ข้อมูลและภาพจาก: มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา (Facebook Fanpage)

ศูนย์คุ้มครองสิทธิฯ จ.พะเยา จัดเวทีสรุปบทเรียน การพัฒนาคุณภาพรถโดยสารฯ

pdf02-2016-01

10 กุมภาพันธ์ 2559 ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพะเยา ภายใต้มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา จัดเวทีสรุปบทเรียน
“การพัฒนาคุณภาพรถโดยสารสาธารณะให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคจังหวัดพะเยา” ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ศาลากลางจังหวัดพะเยา อ.เมือง จ.พะเยา โดยมีคณะทำงาน 20 กว่าท่านร่วมสรุปบทเรียนในครั้งนี้

pdf02-2016-02

pdf02-2016-03

pdf02-2016-04

ที่มาข้อมูลและภาพ: 
facebook fanpage มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา