2nd benefit

2nd benefit

  • หน้าแรก
  • ด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ

คอบช. จับมือหน่วยงาน แก้ปัญหาตู้น้ำดื่ม

IMG 0601

อนุอาหาร ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ จับมือหน่วยงานรัฐ หาแนวทางแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยของการบริโภคน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญ ให้ประชาชนสามารถตรวจสอบความปลอดภัยก่อนบริโภค

คณะอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ด้านอาหาร ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (คอบช.ด้านอาหารยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ) จัดเวทีเรื่อง “การประชุมระดมสมองต่อการแก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยของการบริโภคน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ” เพื่อสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการจัดการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญให้ประชาชนสามารถตรวจสอบความปลอดภัยก่อนบริโภคได้ ในวันที่ วันที่ 9 กันยายน 2558 ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

นางสาวนฤมล โพธิ์อินทร์ นักวิชาการ และเลขานุการ คอบช.ด้านอาหาร ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ กล่าวว่า ได้ทำการสุ่มสำรวจตู้น้ำดื่มในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 โซนๆ ละ 3 เขต รวม 18 เขต จำนวน 855 ตู้ พบว่า สถานที่ติดตั้งตู้ส่วนใหญ่ใกล้บริการที่มีฝุ่นมาก อยู่ใกล้ที่ระบายน้ำเสีย ซึ่งอาจก่อให้เกิดการแพร่เชื่อโรคได้ อีกทั้งยังไม่มีการติดฉลาก ไม่แสดงวันที่เปลี่ยนไส้กรองวันที่ทำความสะอาดตู้และวันที่ตรวจคุณภาพน้ำ

“ให้ กทม.ติดสติ๊กเกอร์สำหรับผู้ประกอบการที่ขอใบอนุญาต และให้ สคบ. มีการบังคับใช้กฎหมายเรื่องการติดฉลากอย่างจริงจัง พร้อมตรวจการเปลี่ยนไส้กรองตามวันเดือนปีที่กำหนด ในส่วน อย. ควรมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำทุก 3 เดือน และติดป้ายระบุวันที่มีการตรวจสอบด้วย” เลขานุการ คอบช.ด้านอาหาร ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ กล่าว

ด้าน นายวิโรจน์ วัชระเกียรติศักดิ์ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กล่าวว่า ตู้น้ำหยอดเหรียญไม่ได้ควบคุมน้ำดิบที่เข้าสู่ตู้ และปริมาณการใช้งาน ทำให้คุณภาพน้ำออกมาตามตัวไส้กรอง เบื้องต้นได้มีการหารือกับสมาคมธุรกิจแห่งประเทศไทย พบว่า ตู้น้ำหยอดเหรียญมีทั้งแบบขายขาดและแบบมีการดูแลรักษาโดยบริษัท

“การให้ใบอนุญาตไม่ได้บอกถึงคุณภาพของน้ำ ควรมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำควบคู่กันไปด้วย” นายวิโรจน์ กล่าว

ทางด้าน นายอารยะ โรจนวณิชชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นและอยู่ระหว่างการหาแนวทาง โดยคุณภาพตู้น้ำดื่มต้องเท่ากับน้ำดื่มบรรจุภัณฑ์ หากไม่เท่ากันกฎหมายกำหนดปรับ 50,000 บาท

“ขณะนี้สมาคมธุรกิจแห่งประเทศไทยขอไปคุยก่อนจะมีการตรวจปรับจริง เราไม่สามารถไปยึดตู้ได้เพราะไม่มีอำนาจ การตรวจใช้เทสคิส จำนวนที่อยู่ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ มีการจัดทำแผ่นพับ คู่มือ สื่อต่างๆ ส่งไปทางเครือข่ายนำไปเสนอต่อผู้ประกอบการในเบื้องต้น” นายอารยะ โรจนวณิชอากกล่าว

ขณะที่ นายทวัยพร ชาเจียมเจน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า ได้มีการจัดประชุมเรื่อง ประชุมเพื่อจัดทำมาตรฐานคุณภาพตู้น้ำหยอดเหรียญ โดยดูเรื่องมาตรฐานคุณภาพตู้น้ำหยอดเหรียญและสมรรถนะ ในส่วนของสมอ.อยู่ภายใต้ภารกิจของกระทรวง กระทรวงต้องส่งเสริมอุตสาหกรรม ดูแลความปลอดภัย

“เราไม่ค่อยแนะนำในตัวสินค้าที่เป็นภาคบังคับ แต่อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปบังคับมากกว่า การนำเข้าจะไม่ทำเครื่องหมาย แต่จะส่งเสริมภายในประเทศ แต่ถ้าบังคับจะเน้นที่คุณภาพมากกว่าและจะมีการตรวจทั้งในประเทศและนอกประเทศ กรณีนี้สินค้าเริ่มแรกมีคุณภาพแน่นอน แต่นี่คือปัญหาการควบคุมมากกว่า” นายทวัยพร กล่าว

ด้าน นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จะนำข้อเสนอในเวทีไปหารือกับผู้บริโภคต่อไป ส่วนในของการหาเจ้าตู้น้ำหยอดเหรียญนั้นสามารถตรวจสอบได้ หากตู้น้ำหยอดเหรียญไหนไม่มีเจ้าของให้เจ้าของบ้านเป็นผู้รับผิดชอบเพราะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์

 

ข่าวบทความเนื้อหาใกล้เคียงกัน:

|

Tags: คอบช. , อาหาร , ยา , ตู้น้ำหยอดเหรียญ