2nd benefit

2nd benefit

  • หน้าแรก
  • ด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ภาคประชาชนยื่นข้อเสนอ พรบ.ยา กับเลขาธิการ อย.

07835 n

คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และภาคประชาสังคมกว่า 15 องค์กร ยื่นหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ.......ฉบับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)

วันที่ 24 ตุลาคม 2557 นำโดยผศ.ภญ.สำลี ใจดี ประธานมูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา และตัวแทนคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนร่วมกับภาคประชาสังคม 15 องค์กรประกอบด้วย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย, สหพันธ์องค์กรบริโภค, เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก,ชมรมเพื่อนโรคไต, เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง,มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์,มูลนิธิศูนย์คุมครองสิทธิด้านเอดส์, มูลนิธิชีววิถี, มูลนิธิบูรณะนิเวศ, มูลนิธิสุขภาพไทย, เครือข่ายคนทำงานด้านการลดยาอันตรายจากการใช้สารเสพติด (12D), กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) เข้าพบเลขาธิการอย. เพื่อยื่นหนังสือโดยขอให้นำความเห็นและข้อเสนอแนะที่มีต่อร่าง พระราชบัญญัติยา พ.ศ.....ฉบับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เข้าแก้ไขและบรรจุในพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีรายละเอียดตามมติดังนี้

  1. สนับสนุนร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ...... ฉบับประชาชน เอกสารตามลิงห์(http://www.thaidrugwatch.org/download/draft_revise_drug_act_19-01-55.pdf) เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและพัฒนาระบบยาของประเทศ
  2. เสนอให้ตัดผู้แทนจากภาคธุรกิจออกจากคณะกรรมการยาทั้ง 4 ชุด เพราะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่สมควรเข้ามากำกับดูแลนโยบาย
  3. เสนอให้คงไว้และห้ามตัดออกสาระที่ดีมากในพ.ร.บ. ยาฉบับกฤษฎีการ คือ ข้อมูลการขึ้นทะเบียนยา โดยเฉพาะ โครงสร้างราคายาและข้อมูลสิทธิบัตร เพราะมีส่วนในการกำหนดราคายาที่เหมาะสมและเป็นการเข้าถึงยาของประชาชนเมื่อยานั้นหมดสิทธิบัตรลง
  4. เสนอให้เพิ่มหมวดการควบคุมราคายา เพื่อป้องกันการกำหนดราคายาที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค โดยให้นำสาระจากร่าง พ.ร.บ. ยา ฉบับประชาชน
  5. การจัดการกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายยาจะต้องเข้มงวดมากขึ้น โดยยกระเบียบต่างๆ ขึ้นมาอยู่ในระดับกฎหมาย
  6. ต้องไม่ขยายคำจำกัดความของ “ยาปลอม” ไปครอบคลุมเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นกลวิธีของอุตสาหกรรมยาข้ามชาติที่ต้องการขัดขวางการเข้าถึงยาของประชาชนและทำลายอุตสาหกรรมยาชื่อสามัญ

ข้อเสนอดังกล่าวให้เป็นไปตามสาระดีๆใน พ.ร.บ. ยา ฉบับประชาชน และให้เป็นไปตามนโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ. 2554 และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. 2555 – 2559

ทั้งนี้ ผศ.ภญ.สำลี ใจดี และตัวแทนคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนร่วมกับภาคประชาสังคม จำนวน 15 องค์กร เน้นย้ำว่าขอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทำหน้าที่การคุ้มครองผู้บริโภคทั้งด้านสวัสดิภาพ และความปลอดภัยในการใช้ยาของประชาชน และเป็นส่วนสำคัญที่เข้มแข็งในการพัฒนาระบบยาของประเทศ โดยนำเสนอและผลักดันข้อเสนอของภาคประชาชนทั้งหมดเสนอต่อคณะกฤษฎีกาพิจารณา เพื่อให้ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่เป็น พ.ร.บ.ยาที่คุ้มครองผู้บริโภคอย่างแท้จริง