2nd benefit

2nd benefit

7องค์กรผู้บริโภคเอเชีย-แปซิฟิก เผยแผนทดสอบปี'59 ชี้ผู้บริโภคใช้ข้อมูลทดสอบ

sf
องค์กรผู้บริโภคภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เรียกร้องให้ผู้บริโภคใช้ข้อมูลจากการทดสอบเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค พร้อมแถลงข้อตกลงการทดสอบผลิตภัณฑ์และบริการสำคัญในปี 2559
องค์กรผู้บริโภคภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จาก 7 องค์กร ได้แก่ ประเทศไทย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลี ฮ่องกง จีน  และองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (ICRT, International Consumer Research Testing) ประเทศอังกฤษ ได้ประชุมร่วมกัน 2 วัน (30 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม) ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในการทดสอบผลิตภัณฑ์และบริการที่สำคัญ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าสำหรับเด็ก อุปกรณ์เครื่องนอน อาหาร ขนมจีน เส้นก๋วยเตี๋ยว ซีอิ๊ว น้ำมันงา นมผง และค่ารักษาพยาบาล และเรียกร้องให้ผู้ผลิตรถยนต์ในภูมิภาคนี้มีอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับรถทุกคัน
 
 
 
นายกีโด้  อันเดรียสเซน ประธานกรรมการบริหารองค์การ ICRT กล่าวว่า ICRT เป็นองค์กรประสานงานและสนับสนุนองค์กรผู้บริโภคในการทดสอบสินค้าร่วมกัน โดยยึดหลักมาตรฐานสินค้า และความพึงพอใจของผู้บริโภคในการทดสอบ เพื่อเปิดเผยข้อมูลให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้า
องค์กรผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกได้บรรลุข้อตกลงที่จะร่วมมือกันทดสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าสำหรับเด็ก อุปกรณ์เครื่องนอน อาหาร ขนมจีน เส้นก๋วยเตี๋ยว ซีอิ๊ว น้ำมันงา นมผง และค่ารักษาพยาบาล พร้อมเรียกร้องให้ผู้บริโภคใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค
 
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการบริหาร กล่าวว่า ปีที่ผ่านมา นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ใช้ข้อมูลการทดสอบของ ICRT จำนวนมาก เช่น สมาร์ทโฟน, ฟิตเนสแบนด์, โปรแกรมสแกนไวรัส, ที่นอนสปริง, กล้องดิจิตอล, และช่วยทำให้ผู้บริโภคประหยัดได้ของที่มีคุณภาพคิดเป็นมูลค่าหลายร้อยบาท จนถึงพันบาทต่อรายการ การใช้ข้อมูลของผู้บริโภค นอกจากจะช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคแล้ว ยังช่วยส่งพลังและความต้องการไปยังผู้ประกอบการให้ผลิตสินค้ามีคุณภาพมากขึ้น
 
นอกจากนี้ในปี 2559 นิตยสารฉลาดซื้อยังได้วางแผนทดสอบสินค้าที่เป็นที่สนใจของผู้บริโภคจำนวนมาก อาทิเช่น การบริการส่งพัสดุ, ฟิล์มกันรอยและถนอมสายตาสำหรับสมาร์ทโฟน, การซื้อของออนไลน์การประกันภัยชั้น 1 ของรถโดยสารสาธารณะ,  หมูปิ้ง, เส้นขนมจีน, จีเอ็มโอในอาหาร, เห็ดหูหนูขาว   
 
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้ตกลงที่จะร่วมมือกันในการผลักดันให้รถยนต์ที่จำหน่ายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน และอย่างน้อยรัฐบาลควรสนับสนุนข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ได้แก่
 
1)  เพิ่มขีดความสามารถในการรับการชน (crash worthiness) และความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารที่อยู่ในรถ โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ 94 ของ UNECE (UNECE Regulation 94) สำหรับการชนทางด้านหน้า ตามข้อบังคับ 95 (Regulation 95) สำหรับการชนทางด้านข้าง และตามข้อบังคับ 14 และ 16 (Regulations 14 and 16) สำหรับเข็มขัดนิรภัย และที่ยึดเข็มขัดนิรภัย
 
2)  อุปกรณ์ป้องกันการชน  โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ 13-H/GTR 8 ของ UNECE (UNECE 13-H/GTR 8) สำหรับระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัวแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic stability control)
  
และจะร่วมมือกันเปิดเผยรายชื่อรถยนต์ที่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยของทั่วโลกเพื่อยกมาตรฐานความปลอดภัยของรถยนต์ของทุกประเทศในภูมิภาคนี้
 
 
ข้อมูลเพิ่มเติม
 
1)  ICRT(International Consumer Research &Testing เป็นองค์กรที่มีสมาชิก 35 องค์กรทั่วโลก มีเป้าหมายหลักในการสร้างความเข็มแข็งให้กับผู้บริโภค สามารถทำการทดสอบ เปรียบเทียบสินค้าได้หลากหลาย และใช้ผลทดสอบอย่างคุ้มค่า
 
2)  ผู้บริโภคที่สนใจอ่านผลการทดสอบของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และการทดสอบร่วมกันของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ICRT) ติดตามได้จาก นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดย สามารถทำได้หลายทาง ทั้งผ่านการสมัครสมาชิกหรืออ่านเฉพาะการทดสอบที่สนใจ ติดตามได้ทาง www.ฉลาดซื้อ.com และ
 
fanpageนิตยสารฉลาดซื้อ
 
3)  องค์กรผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก