2nd benefit

2nd benefit

'ค่ารักษาพยาบาลควรใช้มาตรฐานเดียวทั้งรพ.รัฐและรพ.เอกชน' ความเห็นอดีตที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประจำคณะกรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา

 
 
ขรปญญ ณ บางชาง
 
ปัจจุบันค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่แพงเกินไปมาก หากเปรียบเทียบระหว่างโรงพยาบาลรัฐกับเอกชนก็ยิ่งเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน แต่ก็ยังไม่มีมาตรการควบคุมสักที
.
ราคาในต่างประเทศเขามีการควบคุม เช่น ประเทศแคนาดา จะมีสมุดราคาค่ารักษาพยาบาล เรียกว่า 'Blue book' ซึ่งในนั้นมีราคาค่าใช้จ่ายทุกอย่าง ตั้งแต่เจาะเลือดไปจนถึงผ่าตัด รวมถึงค่าห้อง ค่าอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย 
.
Blue book ถูกใช้เป็นมาตรฐานราคารักษาของทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐ หรือเอกชน สมมติโรงพยาบาลเก็บค่าผ่าตัดไส้ติ่ง 5 หมื่นบาท แต่ในสมุดฯ เขียนไว้แค่ 5 พันบาท คุณก็จ่ายแค่ 5 พัน ตามที่สมุดระบุ แต่หากใครพอมีเงินแล้วต้องการจ่าย 5 หมื่นก็สามารถทำได้ มันต้องมีลิมิตของค่ารักษา ไม่ใช่ปล่อยให้ใครอยากจะทำอะไรก็ทำได้ กลายเป็นการหากินบนความทุกยากของคนอื่น 
.
ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรมีการควบคุมค่ารักษาพยาบาลอย่างจริงจัง และผมมองว่าควรมีการกำหนดราคาค่ารักษาในแต่ละกรณี เช่น เป็นไข้หวัดราคาเท่าไร ผ่าตัดไส้ติ่งราคาเท่าไหร่ เพราะต้นทุนในการรักษาเขาสามารถคำนวณกันได้อยู่แล้ว ไม่ใช่ปล่อยให้คิดค่ารักษาแพงๆ แล้วอ้างว่ามีค่าใช้จ่าย ค่าหมอแต่ละคนไม่เท่ากัน คุณเอาอะไรมาพิสูจน์ว่าหมอคนไหนควรจะได้เงินเท่าไร

--- คุณขุรปัญญ์ ณ บางช้าง อดีตที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ประจำคณะกรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา / ผู้จบการศึกษาด้านการบริหารโรงพยาบาล จากมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา

#มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค #ค่ารักษาพยาบาล