2nd benefit

2nd benefit

บริษัทประกันไม่รับผิดชอบผู้บริโภคดีพอ เครือข่ายผู้บริโภค ไม่หนุนกระทรวงการคลังทำประกันคนจน 99 บาท

press news 08092016 web01

เครือข่ายผู้บริโภคจัดเวทีความร่วมมือในการดูแลผู้บริโภค กรณีปัญหาผู้บริโภคกับการธุรกิจประกัน ไม่เห็นด้วยกับกระทรวงการคลัง จะมีการใช้เงินเกือบ 800 ล้านบาทซื้อประกันให้คนจน เหตุบริษัทประกันจำนวนมากยังไม่มืออาชีพในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคมากเพียงพอหลังเกิดปัญหาเมื่อทำประกัน เป็นเพียงการสนับสนุนธุรกิจประกัน สวัสดิการชั่วคราวและไม่ยั่งยืน พร้อมเสนอให้รัฐมีระบบบำนาญช่วยเหลือประชาชนเพราะเป็นสวัสดิการโดยตรงต่อประชาชน

            วันนี้ (8 กันยายน) คณะอนุกรรมการด้านการเงินและการธนาคาร องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) จัดเวทีความร่วมมือในการดูแลผู้บริโภค กรณีปัญหาผู้บริโภคกับการธุรกิจประกัน

press news 08092016 web02นางสาวสารี อ๋องสมหวัง  เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากการณีปลัดกระทรวงการคลังเตรียมเสนอ จัดสวัสดิการแห่งรัฐ โดยมาตรแรก คือ การจัดทำประกันชีวิตสำหรับผู้มีรายได้น้อยให้กับผู้มีสิทธิ์ทุกราย โดยอัตราค่าเบี้ย 99 บาทต่อราย มีความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพสิ้นเชิง เป็นเงิน 50,000-60,000 บาท และจ่ายชดเชยกรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยจนไม่สามารถทำงานได้ วันละ 300 บาท เท่ากับค่าแรงขั้นต่ำ

“กระทรวงการคลัง จะมีการใช้เงินเกือบ 800 ล้านบาทซื้อประกันให้คนจน เพราะบริษัทประกันจำนวนมากยังไม่มืออาชีพในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคมากเพียงพอหลังเกิดปัญหาเมื่อทำประกัน เป็นเพียงการสนับสนุนธุรกิจประกัน สวัสดิการชั่วคราวและไม่ยั่งยืน พร้อมเสนอให้รัฐมีระบบบำนาญช่วยเหลือประชาชน” นางสาวสารีกล่าว

press news 08092016 web05

 

 

นางนฤมล  เมฆบริสุทธิ์ เลขานุการคณะอนุกรรมการด้านการเงินและการธนาคาร นำเสนอสถานการณ์ปัญหาประกัน ม.ค.2557 - ส.ค. 2559  รวม 324 กรณี  แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มปัญหาคือ 1.กลุ่มประกันชีวิต อุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ233 กรณี พบว่าเป็นปัญหาการขายประกันทางโทรศัพท์  130 กรณี  รองลงมากคือ บริษัทประกันบอกล้างสัญญาไม่จ่ายสินไหม อันดับ 3 การจ่ายเงินผลตอบแทนไม่ครบตามสัญญากรรมธรรม์  2.กลุ่มประกันภัยรถยนต์ 84 กรณี   พบว่าอับดับแรกคือผู้บริโภคไม่รู้สิทธิของตัวเอง อันดับ 2  การประวิงเวลาจ่ายค่าสินไหม   อันดับ 3 ไม่จ่ายค่าสินไหมตามกรมธรรม์   3.กลุ่มปัญหาประกันวินาศภัย 5 กรณี พบว่าปัญหาอันดับแรกคือปัญหาประกันปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหม  อันดับ 2 ธนาคารบังคับให้ชำระเงินเบี้ยประกันอัคคีภัยเพิ่ม อันดับ 3 บริษัทประกันไม่ส่งมอบกรมธรรม์    และ 4.กลุ่มประกันอัคคีภัย 2 กรณี

 

press news 08092016 web03

 

ภญ.ชโลม  เกตุจินดา  อนุกรรมการด้านการเงินและการธนาคาร  มีข้อเสนอต่อการแก้ไขปัญหาโดยได้เสนอข้อเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทย 4 ประเด็นนั่นคือ  1.ขอให้เยกเลิกบัตรเอทีเอ็ม /บัตรเดบิตแบบมีประกัน   2.การทำประกันภัยคุ้มครองบ้านขอให้มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน (เช่นวางเงินดาวน์ต่ำกว่าร้อยละ 20 ) และต้องไม่จำกัดสิทธิในการเลือกบริษัทที่ต้องการ 3.การทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อขอให้มีข้อมูลสุขภาพแนบท้ายสัญญาด้วย   และ 4.เอกสารยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล  ต้องระบุข้อมูลบริษัทและให้ผู้บริโภคเซ็นยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรแยกจากเอกสารใบคำขอ

พร้อมทั้งมีข้อเสนอต่อคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมประกอบธุรกิจประกันภัย 4 ประเด็นเช่นกัน 1.การขายประกันทางโทรศัพท์  ขอให้มีการส่งเอกสารให้ลูกค้าลงนามก่อนทำประกัน 2.การบอกล้างสัญญา อ้าง ผู้เอาประกันปกปิดข้อมูลสุขภาพ  ขอให้มีการส่งประวัติข้อมูลสุขภาพแนบใบคำขอทำประกันชีวิตทุกครั้ง 3. การจ่ายเงินผลตอบแทนไม่ครบตามสัญญากรมธรรม์  ขอให้ คปภ.ดำเนินการเรียกบริษัทประกันมาจ่ายให้ครบตามโฆษณา และ 4.ปัญหาตัวแทนประกันทำผิด  ขอให้ คปภ.เรียกให้บริษัทประกันร่วมรับผิดชอบด้วย

 

press news 08092016 web04นายนรศิ  พุกกะมาน   ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่ายินดีรับข้อเสนอทั้งหมดกลับไปพิจารณา พร้อมให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกำกับดูแล ธปท.ว่า ธนาคารไม่สามารถขายพ่วงประกันได้ ตามประกาศของ ธปท. การเสนอขายต้องเคารพสิทธิของผู้ใช้บริการนั่นคือ  1.ได้รับข้อมูลครบถ้วน  2.ผู้บริโภคมีอิสระในการเลือกใช้บริการ  3.สิทธิที่จะได้ตั้งคำถามและร้องเรียน  4.สิทธิที่จะได้รับการชดเชย

“การเสนอขายประกันต้องแยกให้ผู้บริโภคเห็นอย่างชัดเจนว่าเสนอบริการใดให้ลูกค้าว่าทำบัตรเอทีเอ็ม หรือขายประกัน  ห้ามบังคับขายประกันพ่วงให้ผู้บริโภคต้องใช้บริการอื่นๆของธนาคาร และต้องให้ข้อมูลที่ชัดเจนกับผู้บริโภคว่าส่วนไหนเป็นเงินฝาก  ส่วนไหนเป็นสัญญาประกัน  ซึ่งหากบังคับให้ผู้รับบริการซื้อเอทีเอ็มพวงประกันหรือให้ข้อมูลเป็นเท็จเข้าข่าย  มาตรา 36  ตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต 2551 หากบริการต่างๆไม่เป็นไปตามสัญญาทางธนาคารต้องชดเชยเยียวยา” นายนรศิ กล่าว 

อนึ่งหากความผิดเป็นไปตามมาตรา 36 บริษัทนั้นๆ มีโทษปรับตามมาตรา 93  มีโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท  หากทำผิดต่อเนื่องปรับอีกไม่เกินวันละ 20,000 ยาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่

press news 08092016 web06

นางสาวราตรี เนตรพระฤทธิ์  ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ให้ความเห็นต่อข้อเสนอว่ากรณีการขายประกันทางโทรศัพท์ ทาง คปภ.ได้ทำเรื่องการกำหนดเวลาการโทรขายประกันไปยังบริษัทประกันแล้ว   หากยังพบปัญหาโทรศัพท์รบกวนอีกสามารถทำจดหมายร้องเรียนมาที่ คปภ.จะรับเรื่องดำเนินการให้  

                “การยกเลิกประกันทางโทรศัพท์นั้น เป็นปัญหาที่ผู้บริโภคไม่รู้วิธีการ ซึ่งทำได้หากได้รับกรมธรรม์แล้ว ยกเลิกภายใน 15 วันโดยถ่ายสำเนาบัตรประชาชน  พร้อมเขียนยกเลิกส่งไปที่บริษัทนั้นๆ เพื่อเป็นหลักฐานในการยกเลิก การโทรไปที่บริษัทอาจถูกพนักงานอ้างว่าไม่ได้รับเรื่อง ”

                 นางสาวราตรีกล่าวเพิ่มเติมว่าการขายประกันชีวิตพ่วงนั้น  แนะนำว่าผู้บริโภคควรอ่านสัญญาต่างๆทุกครั้งก่อนลงชื่อในสัญญา  โดยผู้ขายต้องมีใบสัญญาแยกอย่างชัดเจน และทาง คปภ.ไม่มีนโยบายสนับสนุน  เป็นนโยบายของทางสถาบันการเงินเฉลี่ยความเสี่ยง โดยให้ผู้บริโภคทำประกันภัย  และกรณีข้อเสนอการให้ตัวแทนขายประกันทำผิดต้องให้บริษัทเข้ามารับผิดชอบ เป็นไปตามมาตรา 70/1 อยู่แล้วจึงไม่ต้องกังวล