คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.)
คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน (คอบช.) ชุดที่ 2 ทั้ง 15 ท่าน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริโภค 7 ด้านๆ ละ 1 ท่าน และ ผู้แทนองค์กรผู้บริโภคระดับเขต จำนวน 8 เขตๆ ละ 1 ท่าน ดังนี้
1) ด้านการเงินและการธนาคาร
2) ด้านการบริการสาธารณะ
3) ด้านที่อยู่อาศัย
4) ด้านบริการสุขภาพ
5) ด้านสินค้าและบริการทั่วไป
6) ด้านสื่อสารและโทรคมนาคม
และ 7) ด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริโภค 7 ด้าน
นายกมล กมลตระกูล
กรรมการผู้เชี่ยวชาญ ด้านการเงินและการธนาคาร
- ประสบการณ์ในการทำงาน
- อดีตกรรมการนโยบาย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ThaiPBS)
- อดีต ผู้อำนวยการ สภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งภูมิภาคเอเชีย (Asian Forum for Human Rights and
Development-Forum-Asia)
- ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและ สถาบันการเงิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- อนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน1 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดที่ 1 รวมทั้ง
- อนุกรรมการคุ้มครองสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
- อนุกรรมการชุดค้ามนุษย์ และอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
- กรรมการมูลนิธิศรีบูรพา
- กรรมการมูลนิธิ รพีพร-เพ็ญศรี
- อนุกรรมการ ศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดระบบการเงินของประเทศเพื่อเป็นการป้องกันการ
เกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ (ศ.ป.ร. 3) สำนักนายกรัฐมนตรี 2546
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 2541-2543
- อาจารย์ผู้บรรยายพิเศษที่ : สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA), มหาวิทยาลัย
ABAC, วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย คณะรัฐศาสตร์ (ภาค
ภาษาอังกฤษ), และ หลักสูตรปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง
- ร่วมงานวิจัย
- โครงการวิจัย “หนังสือดี 100 เล่มในรอบศตวรรษที่คนไทยควรอ่าน” (2540) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(ส.ก.ว.)
- โครงการวิจัยเรื่อง “วิกฤติเศรษฐกิจไทย : ผลกระทบจากการรับเงื่อนไข IMF และทางออกสำหรับประชาชน (2541)
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(ส.ก.ว.) และ ชุดโครงการวิจัย “สิทธิมนุษยชนไทยในสถานการณ์สากล” ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก เป็นประธานโครงการ (2544)
- งานวิจัย “การสร้างสันติภาพใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในมุมมองของผู้ถูกผลกระทบ” คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ ( 2550)
- ผลงานด้านหนังสือ
- คู่มือโรบินฮู๊ด ( พิมพ์ 8 ครั้ง 2523,2544), กึ๋น วอลล์สตรีท.
- ถนนชีวิต(รวมเรื่องสั้นนานาชาติ พิมพ์ 2 ครั้ง 2531,2538)
- IMF นักบุญ หรือ คนบาป(2541-2542, พิมพ์ 3 ครั้งในรอบ 3 เดือน),
- การครอบโลก พิมพ์ 2 ครั้ง ( 2542,2544 )
- สงครามการเงิน : เมืองไทยเหลือแต่ชื่อ(2543)
- ทรราชย์การเงินโลก(2543)
- WTO ทรราชย์การค้าโลก (2543)
- ฉีกหน้าการองค์การค้าโลก ( 2546)
- บริษัทฉ้อฉลกลโกงข้ามชาติ ( 2548)
- ส่องกล้องสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (2548, 2550)
- อย่าร้องไห้ตามอาเจนตินา ( 2549)
- ไม่อยากเห็นเมืองไทยหายนะ (2550)
- ถอดรหัสอนุสาวรีย์เสรีภาพ ( 2552)
- สิทธิและทางรอดของลูกหนี้
- สิทธิในชีวิต จัดพิมพ์โดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
“ สิทธิของผู้บริโภค คือ สิทธิมนุษยชน”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประสาท มีแต้ม
Asst. Prof. Prasart Meetam
กรรมการผู้เชี่ยวชาญ ด้านการบริการสาธารณะ
นักวิชาการอิสระที่ติดตามและเสนอความเห็นเพื่อขับเคลื่อนนโยบายพลังงานทางเลือก ปัจจุบันเป็นอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน ในคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา
“ ระบอบประชาธิปไตยจะกลายเป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระ หากผู้บริโภค (ซึ่งก็คือทุกคนในชาติ) ไม่มีอำนาจ ไม่มีองค์การที่อิสระปราศจากการครอบงำของระบอบทุน เพื่อทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองสิทธิของตนเอง ”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ
Asst. Prof. Jumphon Chuanjitsiri
ประธาน คอบช. / กรรมการผู้เชี่ยวชาญ ด้านที่อยู่อาศัย
อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มีความมุ่งมั่นที่จะใช้กฎหมายให้เกิดประโยชน์กับการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะการคุ้มครองผู้บริโภคด้านที่อยู่อาศัยปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร
“ ความเป็นอิสระในการทำงาน ”
นางสาวสุภัทรา นาคะผิว
Miss Supatra Nacapew
กรรมการผู้เชี่ยวชาญ ด้านบริการสุขภาพ
การศึกษา
- ปริญญาตรีนิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
- หลักสูตรการเมืองการปกครองสำหรับผู้บริหารระดับสูง (ปปร.) รุ่นที่ 19 สถาบันพระปกเกล้า (เทียบเท่าปริญญาโท)
ตำแหน่งปัจจุบัน
- ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
- ประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ในคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ (คช.ปอ.)
- ประธานอนุกรรมการบริการด้านสุขภาพ ในคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.)
- กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.)
- กรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สป.สช.)
- กรรมการสอบสวน ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- อนุกรรมการเปรียบเทียบคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคม กสทช.
- อนุกรรมการพัฒนาบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- อนุกรรมการกำหนดประเภทและขอบเขตสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- อนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 สปสช.
- ตำแหน่งสำคัญที่ผ่านมา
- หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง
- โฆษกคณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ชุดที่ 1)
- สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม(พ.ศ. 2557-2558)
- กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (พ.ศ.2558)
- ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านสุขภาพ สภาทนายความ
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์(คช.ปอ.)
- อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการด้านโทรคมนาคม กสทช.
- กรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สป.สช.)
- กรรมการในคณะกรรมการกลไกความร่วมมือระดับประเทศ(Country Coordinating Mechanism) กองทุนโลกเพื่อต่อสู้เอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย-ประธานคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์(กพอ.)
- กรรมการในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ
- กรรมาธิการในคณะกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข สภาปฏิรูปแห่งชาติ
- อนุกรรมาธิการมีส่วนร่วมและรับฟังความเห็นประชาชน ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
- อนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านยาเสพติด คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
- ประธานกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหมู่บ้านรื่นฤดี 3
- อนุกรรมการสื่อสารประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็น ภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
-
ผลงานสำคัญ
- ได้รับการคัดเลือกให้เป็น ASHOKA FELLOW (ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์สังคม) ประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2547 จากองค์กร ASHOKA สหรัฐอเมริกา
- ได้รับคัดเลือกให้เป็นสตรีดีเด่น สาขาพิทักษ์สิทธิสตรี ของกรุงเทพมหานคร เนื่องในวันสตรีสากลปี 2551
- ได้รับเลือกให้เป็นผู้แทนภาคประชาสังคมไทยปเข้ารับการอบรมเรื่อง Human Rights Treaty Body ที่สำนักงานองค์การสหประชาชาติ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง
Dr. Paiboon Choungthong
กรรมการผู้เชี่ยวชาญ ด้านสินค้าและบริการทั่วไป
นักวิชาการที่มีความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อผู้บริโภค ปี 2549 ได้เริ่มก่อตั้งเครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค และได้ทำการทดสอบ พิสูจน์สินค้าร่วมกับหน่วยงาน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) รวมถึงเข้าไปเป็นกรรมการ ในการทดสอบและพิสูจน์สินค้าภายใต้ สคบ.ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
" องค์การอิสระเพื่อผู้บริโภค เพื่อโลก เพื่อลูกหลาน "
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รุจน์ โกมลบุตร
Asst. Prof. Ruj Komolbuj
รองประธาน คอบช. คนที่ 1 / กรรมการผู้เชี่ยวชาญ ด้านสื่อสารและโทรคมนาคม
อดีตนักหนังสือพิมพ์ที่ผันตัวเองมาเป็นอาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นนักพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคที่มีแนวคิดเรื่องการสื่อสารมวลชนรูปแบบใหม่ (New Media) และ การใช้สื่อเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
“ ความเข้มแข็งของพลเมือง จะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข
Asst. Prof. Dr. Yupadee Sirisinsuk
กรรมการผู้เชี่ยวชาญ ด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ
คุณวุฒิ
- เภสัชศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2525
- เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2530
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (อายุรศาสตร์เขตร้อน) มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2545 (สาขาวิชา Social Medicine Program)
ผลงานทางวิชาการ
- ยุพดี ศิริสินสุข และธิติมา เพ็งสุภาพ บรรณาธิการ. รายงานสถานการณ์ระบบยา พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพ: บริษัทมาตาการพิมพ์ จำกัด จัดพิมพ์โดย ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2561
- ยุพดี ศิริสินสุข. นโยบายแห่งชาติด้านยาและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติของไทย. ใน รายงานสถานการณ์ระบบยา พ.ศ. 2555-2559.กรุงเทพ: บริษัทมาตาการพิมพ์ จำกัด จัดพิมพ์โดย ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2561
- ยุพดี ศิริสินสุข. รายงานผลการศึกษาโครงการศึกษาการเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคของประชาชนทั้ง 3 ระบบประกันสุขภาพภายใต้สิทธิประโยชน์สร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ 2561.
- Orabhorn Suanchang, Vithaya Kulsomboon, Yupadee Sirisinsuk, et al. Clinical outcomes of a pharmaceutical care service in lithium clinic adjunct to standard care compared with standard care alone in patients with bipolar disorder: 10 years naturalistic retrospective cohort study. Thai Journal of Pharmaceutical Sciences. 2017; 41(3): 1-8
- ยุพดี ศิริสินสุข รายงานผลการศึกษาการทบทวนการทำงานเพื่อการพัฒนาของหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน (หน่วยรับร้องเรียน ตามมาตรา 50(5)) ภายใต้โครงการสรุปบทเรียนการดำเนินงานกลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพ. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. 2559.
- รวงทิพย์ ตันติปิฎก และ ยุพดี สิริสินสุข (2558) การใช้แนวคิด "การศึกษาดูงานในสถานการณ์จริง" เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ในความเป็นวิชาชีพของนิสิตใหม่เภสัชศาสตร์. โครงการวิจัยในชั้นเรียน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- จิราพร ลิ้มปานานนท์, ยุพดี ศิริสินสุข, อรวรรณ เกตุเจริญ, นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี และคณะ. รายงานการศึกษาเบื้องต้นระบบการตรวจสอบการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลภายใต้ระบบสวัสดิการรักษาข้าราชการ. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2558. รายงานฉบับสมบูรณ์ภายใต้การสนับสนุนของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง.
- Daranee Chiewchantanakit, Niyada Kiatying-Angsulee and Yupadee Sirisinsuk. Medication Use Situation in Thai Elderly: The Computerized Database from Four Tertiary Care Hospitals. Thai Journal of Hospital Pharmacy 2013; 23(1): 9-20.
- Yupadee Sirisinsuk. The Report of Drug System Situation 2011: Change in Drug System 2009-2011. Drug System Monitoring and Development Plan, Health Promotion Foundation 2011.
- Yupadee Sirisinsuk, Orawan Katecharoen. The Report of Drug System Situation: 2009. Drug System Monitoring and Development Plan, Health Promotion Foundation 2010.
- Yupadee Sirisinsuk, Orawan Katecharoen, Niyada Kiatying-Angsulee, Natthaporn Leamjaraskul. Drug System Indicators. Research Report, Drug System Monitoring and Delvelopment Plan, Health Promotion Foundation. 2009.
- Yupadee Sirisinsuk, Niyada Kiatying-Angsulee, Suntharee T. Chaisumritchoke, yaowapa Vairaksat, Thongchai Sooksawet. The Implementation Evaluation of National List of Essential Medicines, 2008. Research Report, Food and Drug Administration. 2009.
- Yupadee Sirisinsuk. Consumer Protection in Universal Coverage in Thailand: What is Missing? Journal of Health Science 2006; 15(2):697-710.
- Niyada Kiatying-Angsulee, Vithaya Kulsomboon, Tanattha Kittisopee, Wanna Sriwiriyanupap, Yupadee Sirisinsuk, Naiyana Patcharapisarn, Suchart Threetipthikun. MDZ Injection and HIV Transmission in Injecting Drug Users. 2006
- Vithaya Kulsomboon, Jiraporn Limpananont, Yupadee Sirisinsuk. Incidence of Adverse Events and the Failure Rate of the Nevirapine-based Anti-Retroviral Therapy in Thailand. Research report, Faculty of Pharmaceutical Sciences, Chulalongkorn University. 2006.
- Yupadee Sirisinsuk*, Jiraporn Limpananon. The Beneficiaries’ Complaints under the Universal Health Coverage in Thailand. Journal of Health Science 2005; 14(2):354-64.
- Yupadee Sirisinsuk. Consumer Protection System in Thai Health Insurance. Bangkok: Health System Research Institute, Ministry of Public Health 2005.
- Jiraporn Limpananont, Suntaree Vithayanartpaisarn, Vithaya Kulsomboon, Yuppadee Sirisinsuk*, Wanna Sriwiriyanuphap, Saowanee Kulsomboon, Usawadee Maleewong. 30 Baht Scheme: Efficiency and access to health care among grass root people. Research report, National Economic and Social Advisory Committee. 2004.
- Jiraporn Limpananont, Suntaree Vithayanartpaisarn, Vithaya Kulsomboon, Wanna Sriwiriyanuphap, Yuppadee Sirisinsuk*, Saowanee Kulsomboon, Usawadee Maleewong. Level of People Participation under Universal Health Coverage Policy in Thailand. Poster Presentation at the 20th Federation of Asian Pharmaceutical Associations Congress, November 30 – December 3, 2004 at Bangkok Convention Centre Hall in Sofitel Central Plaza Bangkok Hotel.
- S. Yupadee, F. Wijitr, S. Pratap, K. Jaranit and R. Sauwakon. “Health Seeking behavior among insured persons under the Social Security Act, 1990” Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2003. 34(3):662-669
- Yupadee Sirisinsuk. Attitude toward 30-Baht Scheme among Thai People. (2001), report, Universal Health Insurance Campaign Project, 12 Civil Groups Network. (in Thai)
- Winna Riensuwan, Yupadee Sirisinsuk, Niyada Kiatying-Angsulee el al (1998) The Roles of Thai Pharmacy Leaders: 1932-1992 Thai J. Pharm. Sci. 22(3): S50
- Yupadee Sirisinsuk. The Development of Public Health Pharmacy Course in Faculty of Pharmaceutical Sciences, Chulalongkorn University, Thailand. Podium Presentation at the 9th International Social Pharmacy Workshop, University of Wisconsin, USA. August 11-14, 1996.
- Sathitpong Thanaviriyakul, Sauwakon Ratanawijitrasin, Yupadee Sirisinsuk, et al. Development of Indicators for Investigating Drug Use in Drugstores. Thai J. Pharm. Sci. 1996;20(4): 247-259
- Yupadee Sirisinsuk. Pharmacist Manpower Planning in Community Hospitals in Thailand, 1994-2004. Podium Presentation at the 9th International Social Pharmacy Workshop, University of Wisconsin, USA. August 11-14, 1996.
- Sumlee Jaidee et al (1994) Pharmacist Manpower Planning in Community Hospital, report, Social Pharmacy Research Unit, Faculty of Pharmaceutical Sciences, Chulalongkorn University. (Co researcher).
ผลงานวิชาการรับใช้สังคม
1) กรรมการตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
พ.ศ. 2546 – 2554 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ผู้แทนองค์กรเอกชน) 2 วาระ
พ.ศ. 2554 – 2558 คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
คณะกรรมการสอบสวน คณะที่ 1 คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณากรณีอุทธรณ์คณะที่ 2
พ.ศ. 2559 – 2563 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน)
พ.ศ. 2559 – 2563 อนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
พ.ศ. 2559 – 2563 คณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการและเครือข่าย หน่วยบริการ
พ.ศ. 2559-2560 คณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขในการกำหนดประเภทและขอบเขตบริการด้านสาธารณสุข
พ.ศ. 2559-2560 คณะทำงานวิชาการจัดทำข้อเสนอระบบบริหารการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช.
พ.ศ.2560 - ปัจจุบัน คณะทำงานพัฒนาประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข ด้านบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและ ผู้ป่วยเอดส์
กพ. – กค. 2560 คณะกรรมการพิจารณา (ร่าง) พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 16 (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ....
คณะอนุกรรมการพิจารณาประเด็นประกอบการแก้ไขเพิ่มเติมพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ (คณะที่ ๑ และคณะที่ ๒)
พ.ศ. 2560 – 2561 อนุกรรมการจัดทำแผนการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ ปีงบประมาณ 2561
พ.ศ. 2560 – 2563 ประธานคณะทำงานพัฒนาการเข้าถึงบริการระบบหลักประกันสุขภาพของกลุ่มคนไทยที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียน ภายใต้ คณะอนุกรรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการสร้างหลักประกันสุขภาพของทุกภาคส่วน
พ.ศ. 2560 - 2563 คณะทำงานพัฒนาประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข ด้านบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์
พ.ศ. 2561 - 2563 คณะทำงานกำกับติดตามการจัดหายา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช.
2) กรรมการภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 4 คณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปด้านสาธารณสุข (พ.ศ. 2559-2560)
2559 – ปัจจุบัน คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูประบบสาธารณสุขด้านการคลังสุขภาพและระบบหลักประกันสุขภาพ
2559 – ปัจจุบัน คณะอนุกรรมการกำหนดและประมาณการค่าใช้จ่ายชุดสิทธิประโยชน์หลัก
2559 - 2560 คณะทำงานศึกษาความยั่งยืนและความเพียงพอของระบบหลักประกันสุขภาพ
2559 – 2560 คณะทำงานศึกษาความเป็นธรรมระหว่างระบบหลักประกันสุขภาพ
3) (พ.ศ. 2560) คณะกรรมการพิจารณา (ร่าง) พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ...
4) คณะทำงานภายใต้คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
พ.ศ. 2556 -ปัจจุบัน คณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ภายใต้คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ
พ.ศ. 2560 – 2561 คณะอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และค่าใช้จ่ายในกระบวนการพิจารณาอนุญาตด้านยา
พ.ศ. 2562 – 2564 คณะกรรมการอาหาร
5) ผู้รับผิดชอบ หรือกรรมการของแผนงานภายใต้การสนับสนุนของ สสส.
พ.ศ. 2552-2560 รองผู้จัดการแผนงานศูนย์วิชการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา
พ.ศ. 2560-2562 ประธานคณะอนุกรรมการด้านอาหาร ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ใน คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน
พ.ศ. 2556-2559 คณะอนุกรรมการด้านบริการสุขภาพในคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน
พ.ศ. 2560 – 2562 คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน (คอบช.) กรรมการผู้เชี่ยวชาญ ด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ
พ.ศ. 2561-2562 ประธานคณะกรรมการประสานการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาการทำงานส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ร่วมกับกลุ่มผู้ติดเชื้อฯ หรือกลุ่มประชาชน
พ.ศ. 2562 - คณะกรรมการกำกับทิศทางการสร้างเสริมสุขภาพคนไร้บ้านและสุขภาวะคนจนเมือง
ผู้แทนองค์กรผู้บริโภคระดับเขต จำนวน 8 เขต
นางสาวชลดา บุญเกษม
Miss Chonlada Boonkasem
กรรมการผู้แทนเขต 1 ภาคกลาง
อาสาสมัครนักพัฒนาที่ทำงานเพื่อสังคมมาโดยตลอด เป็นอดีตเลขาสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาสาสมัครพิทักษ์สิทธิเด็ก(UNICEF) ประเทศไทย ทำงานรณรงค์การป้องกันเชื้อ HIV มีบทบาทสำคัญในการผลักดัน พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ ปัจจุบันเป็นประธานเครือข่ายประชาชนเพื่อการเลือกตั้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
“ จะเป็นองค์กรที่สามารถทำหน้าที่คุ้มครอง ปกป้อง ดูแล ผู้บริโภคทุกคนในประเทศไทย ให้ได้รับความเป็นธรรมตามสิทธิที่พึงจะได้รับ ”
นางสาวสุภาวดี วิเวก
Miss Supawadee Wiwak
กรรมการผู้แทนเขต 2 ภาคตะวันออก
- ปี 2536 สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนสุตะบำรุงพิทยาคาร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ปี 2539 สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาการบัญชี จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ปี 2541 สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาการบัญชี จากวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ปี 2543 สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรี หลักสูตรรัฐศาสตร์บัณฑิต (ร.บ.) จาก มหาวิทยาลัยรามคําแหง
ประวัติการทำงาน
- ปี 2543-2551 ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่สำนักงานสถิติแห่งชาติจังหวัดฉะเชิงเทรา
- ปี 2551-2557 ดำรงตำแหน่งผู้ประสานงานสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจังหวัดฉะเชิงเทรา
- ปี 2551-2555 ดำรงตำแหน่งประธานกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลลาดกระทิง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
ปี 2551
- ปี 2551-ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ประสานงานสมาคมรักษ์ชุมชนคนแปดริ้ว
- ปี 2551-ปัจจุบัน เป็นวิทยากรกระบวนการหลักประกันสุขภาพระดับเขต 6 ระยอง
- ปี 2551-ปัจจุบัน เป็นวิทยากรบรรยายเรื่องสิทธิผู้บริโภคให้กับประชาชน
ปี 2552
- ปี 2552- ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดฉะเชิงเทรา
- ปี 2552- ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ประสานงานสมัชชาสุขภาพ จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ปี 2552- ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
- ปี 2552- ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ประสานงานศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดฉะเชิงเทรา
ปี 2553
- ปี 2553- ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ประสานงานกลไกศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนภาคตะวันออก
- ปี 2553- ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ประสานงานกลไกเครือข่ายศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคภาค ตะวันออก
ปี 2556
- ปี 2556-2562 ดำรงตำแหน่งคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 6 ระยอง
ปี 2559
- ปี 2559-ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคตะวันออก
นายปฏิวัติ เฉลิมชาติ
Mr.Patiwat Chalermchart
กรรมการผู้แทนเขต 3 ภาคอีสานตอนบน
นักพัฒนาแห่งแดนอีสานที่ทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคมาอย่างยาวนานติดตามทดสอบสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ การโฆษณาเกินจริงรณรงค์ให้ความรู้กับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องยาชื่อสามัญ สารพิษในอาหาร รณรงค์และเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย สุขภาพดีโดยไม่พึ่งอาหารเสริม ร่วมขับเคลื่อนนโยบายคัดค้านพืชตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) รณรงค์สิทธิผู้บริโภคจากการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตการสาธารณสุขและการคุ้มครองผู้บริโภค สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเป็นกำลังหลักในการผลักดันองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ ปี 40 จนถึงปัจจุบัน
“ ผู้บริโภคจะเข้มแข็ง ต้องเสริมพลังด้วยองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ”
นางอาภรณ์ อะทาโส
Mrs.Arporn Athaso
กรรมการผู้แทนเขต 4 ภาคอีสานตอนล่าง
เป็นอาสาสมัครคุ้มครองสิทธิผู้ด้อยโอกาส/คนพิการ ที่ยกระดับมาทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ผ่านการทำงานศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด และศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมจังหวัดร้อยเอ็ดโดยรณรงค์ให้ความรู้ กระตุ้นให้ผู้บริโภคตื่นตัวเรื่องสิทธิ ส่งเสริมให้ผู้บริโภคสามารถปกป้องสิทธิของตนเองและให้คำปรึกษาให้การช่วยเหลือผู้บริโภคเมื่อถูกละเมิดสิทธิมาจนถึงปัจจุบัน
“ เป็นองค์กรแห่งการคุ้มครองสิทธิ ที่ผู้บริโภคเข้าถึงได้ และเข็มแข้ง อย่างมืออาชีพ ”
นางสุภาพร ถิ่นวัฒนากูล
Mrs.Supaporn Thinwattanakul
รองประธาน คอบช. คนที่ 2 / กรรมการผู้แทนเขต 5 ภาคเหนือ
นักพัฒนาเอกชนด้านสุขภาพ มีบทบาทสำคัญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่องสุขภาพให้ชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรชาวบ้านผ่านประเด็นที่เป็นปัญหาของชุมชน เช่น ปัญหาโรคเอดส์ปัญหาน้ำดื่ม และปัญหาการถูกละเมิดสิทธิด้านต่างๆ ปัจจุบันเป็นเลขาธิการมูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา และเป็นกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
“ เป็นองค์กรแห่งการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคที่เข้มแข็ง และมีพลัง ”
นางสาวบุญยืน ศิริธรรม
Miss Boonyuen Siritum
กรรมการผู้แทนเขต 6 ภาคตะวันตก
ชาวบ้านนักต่อสู้ ผู้กล้า แห่ง อ่าว ก.ที่มุ่งมั่นเคลื่อนไหวเพื่อพิทักษ์สิทธิชุมชนสิทธิมนุษยชน และสิทธิผู้บริโภค เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในทางนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาผู้บริโภคด้านโทรคมนาคมโดยการยกเลิกเก็บค่าเชื่อมต่อสัญญาณ 107 บาทกรณผิดนัดชำระค่าบริการโทรศัพทเคลื่อนที่และเป็นกำลังหลักในการผลักดันกฎหมายต่าง ๆ โดยเฉพาะองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ปัจจุบันเป็นประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค (สอบ.) กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
“ ต้องการให้เกิดองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ที่มาเป็นเจ้าภาพ สร้างความเข้มแข็งให้ผู้บริโภค และสร้างความเป็นธรรมในสังคม ”
ภญ.ชโลม เกตุจินดา
Mrs.Chalome Ketjinda, B.Sc.Pharm
กรรมการผู้แทนเขต 7 ภาคใต้
อดีตอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่สนใจงานขับเคลื่อนทางสังคมจึงได้ผันตัวเองมาทำงานองค์กรพัฒนาเอกชน มีบทบาทสำคัญในการผลักดันประเด็นสาธารณะ ด้านสุขภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค รวมไปถึง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาสมาคมผู้บริโภคสงขลาและศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดสงขลา
“ หวังให้ผู้บริโภคเข้าใจพลังที่ตนมีอยู่ และองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภคนี่แหละที่จะเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนให้ ผู้บริโภคคนเล็กคนน้อย กลุ่มผู้บริโภค ที่ถูกเอาเปรียบได้รวมตัวกันเป็นองค์กรผู้บริโภคที่เข้มแข็ง ร่วมตรวจสอบหน่วยงาน ผู้ประกอบการ สร้างภูมิคุ้มกัน และสามารถแสดงพลังผู้บริโภคในการยกระดับการบริโภคเปลี่ยนแปลงสังคมให้เกิด ความยั่งยืนได้ ”
นายสมชาย กระจ่างแสง
Mr.Somchai Krajangsaeng
กรรมการผู้แทนเขต 8 กรุงเทพมหานคร
ผลงานการทำงาน
- ร่วมกับองค์กรภาคี ขับเคลื่อนการเข้าถึงยาต้านไวรัส ในหลากหลายรูปแบบ และการใช้มาตราการบังคับใช้สิทธิ ตาม ม.๕๑ ใน พรบ.สิทธิบัตร ทำให้มีผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ ได้รับยาต้านไวรัส และ ประเทศสามารถซื้อยาต้านไวรัสได้ในราคาถูกและได้ปริมาณเม็ดยาที่มากขึ้นเพียงพอกับการแก้ปัญหา หยุดอัตราการตายอย่างได้ผลในผู้ป่วยเอดส์ ทั่วประเทศ
- เป็นผู้ร่วมพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน/องค์การพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ในเรื่องต่อไปนี้
- การอบรมผู้ฝึกอบรม เรื่อง การสื่อสารเรื่องเอดส์เพื่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม
- การอบรมผู้ฝึกอบรม เรื่อง การจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา (Sexuality Education) สำหรับวัยรุ่น
- แนวคิดเรื่อง Gender กับการทำงานเอดส์
- การวางแผนการสร้างกระแสสังคมในเรื่องเอดส์
- การพัฒนาสื่อสุขภาพ (IEC Materials Development)
- การทำงานส่งเสริมการดูแลผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์ที่บ้าน/ในชุมชน
- หลักสูตรและจัดกิจกรรมเพื่อการป้องกันเอดส์สำหรับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เช่น ผู้ใช้แรงงาน กลุ่มประมงนอกน่านน้ำ นักเรียน/นักศึกษา ผู้ใช้ยาเสพติด ชายรักชาย ฯลฯ
- หลักสูตรกระบวนการเรียนรู้แลกเปลี่ยนและฝึกฝนทักษะในการสร้างความเข้าใจและส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคประชาชนในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม
- หลักสูตรรู้จักและเข้าใจระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- หลักสูตรการมีส่วนร่วมของชุมชน
- ร่วมกับภาคีเครือข่าย ผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐสวัสดิการ เช่น พรบ.บำนาญ แห่งชาติ ตั้งแต่ ปี พศ.2550-2562 (จนถึงปัจจุบัน)
- คณะกรรมการสอบสวน ในระบบหลักประกันสุขภาพ
- คณะทำงานพัฒนาระบบริการปฐมภูมิ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
- คณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมการมีส่วนร่วม ในระบบหลักประกันสุขภาพ
- คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
- คณะกรรมการระดับชาติจัดทำยุธศาสตร์ระบบสุขภาพเขตเมือง
- คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร
- คณะกรรมการพิจารณาการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประกันตนที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์
- คณะทำงานพัฒนาเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉิน(สพฉ)
- ที่ปรึกษาเครือข่ายเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย