2nd benefit

2nd benefit

เมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉินทำอย่างไรไม่ให้เสียเงิน

570102 medical2

 

ปัจจุบัน ประชาชนคนไทยทุกคนมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาล ตามโรงพยาบาลหรือหน่วยบริการต่างๆ ที่กำหนดในระบบหลักประกันสุขภาพแต่ละระบบ และหากเจ็บป่วยฉุกเฉินก็สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยไม่ต้องเสียเงิน ตามนโยบายรัฐบาล “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน” ซึ่งมุ่งหมายให้ทุกคน สามารถรับบริการที่ใดก็ได้โดยไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า


อย่างไรก็ตาม การใช้สิทธิเข้ารับการรักษากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินยังมีปัญหาในทางปฏิบัติอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถูกเรียกเก็บเงิน ซึ่งผู้บริโภคต่างก็ยินยอมเนื่องจากต้องการช่วยเหลือชีวิตของผู้ป่วยให้รอดพ้นจากภาวะวิกฤต ดังเช่น กรณี คุณพูนศักดิ์ ใช้สิทธิบัตรสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) มีอาการแน่นหน้าอกและหายใจไม่ออกเนื่องจากเป็นโรคถุงลมโป่งพอง เพราะเคยสูบบุหรี่มาก่อน ถูกนำส่งรพ.เอกชนแห่งหนึ่งใกล้บ้าน แพทย์ทำการรักษาเบื้องต้นโดยการพ่นยา ก่อนแจ้งอาการผู้ป่วยกับญาติพร้อมแจ้งว่าหากต้องรักษาต่อจะมีค่าใช้จ่ายสูง ญาติไม่มีทางเลือกจึงขอให้แพทย์ช่วยชีวิต แต่วันรุ่งขึ้นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลแจ้งว่ามียอดค่าใช้จ่ายจำนวน 81,400 บาท ซึ่งญาติต้องชำระก่อนแพทย์จึงจะดำเนินการรักษาต่อเนื่อง โรงพยาบาลไม่ได้แนะนำการใช้สิทธิฉุกเฉิน และ ญาติไม่ทราบขั้นตอนการใช้สิทธิฉุกเฉินดังกล่าว จึงต้องหาเงินจ่ายค่ารักษามาจ่ายให้โรงพยาบาลเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้สิทธิได้อย่างแท้จริง การใช้สิทธิในกรณีฉุกเฉินผู้ที่เกี่ยวข้องควรปฏิบัติดังนี้


ข้อควรปฏิบัติในการนำผู้ป่วยฉุกเฉินไปโรงพยาบาล

  1. ต้องเตรียมบัตรประจำตัวประชาชนผู้ป่วยไปด้วยทุกครั้งถ้าอยู่ในวิสัยที่ทำได้
  2. เข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
  3. ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ป่วย (ถ้ามี) พร้อมแจ้งการขอใช้สิทธิฉุกเฉินกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล
  4. หากโรงพยาบาลเรียกเก็บเงิน ให้ยืนยันการใช้สิทธิฉุกเฉิน โดยอ้างสิทธิตามนโยบายรัฐบาล
  5. เมื่อแพทย์แจ้งว่าผู้ป่วยพ้นวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายได้แล้ว ให้ประสานโรงพยาบาลตามสิทธิเพื่อย้ายผู้ป่วยเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง
  6. หากไม่ได้รับความสะดวกในการใช้สิทธิ หรือพบว่าเกิดความเสียหายจากการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยที่มีสิทธิบัตรทอง สามารถแจ้งเรื่องได้ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สายด่วน 1330 กรณีอยู่ต่างจังหวัด ให้แจ้งเรื่องที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.)
  7. กรณีอุบัติเหตุทั่วไป
    ก. เข้ารับบริการตรงกับ รพ.ตามสิทธิบัตรทอง แสดงบัตรประชาชน ประกอบการใช้สิทธิ ค่าใช้จ่ายอยู่ในงบเหมาจ่ายรายหัว
    ข. เข้ารับบริการกับกับ รพ. อื่น (ใช้สิทธิข้ามบัตร/ข้ามเขต แต่เป็น รพ.ในระบบ UC ) แสดงบัตรประชาชน ประกอบการใช้สิทธิ รพ.เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเป็นกรณี AE ( อุบัติเหตุ/เจ็บป่วยฉุกเฉิน) มาที่ สปสช.ส่วนกลาง
    ค. เข้ารับบริการกับ รพ.เอกชน ไม่เข้าร่วมโครงการ หากอาการแรกรับเข้าเกณฑ์ EMCO

หากเลือกได้ ขอให้เป็นโรงพยาบาลของรัฐ เพราะเจรจาต่อรองได้ง่ายกว่า หากเกิดปัญหา

หากไม่มีบัตรประชาชน ให้แจ้งชื่อ-สกุลผู้ป่วย แล้วรีบนำบัตรประชาชนมายื่นภายหลัง

แต่หากเจ้าหน้าที่ยังยืนยันจะเก็บเงิน ซึ่งส่วนใหญ่อ้างว่าเป็นเงินมัดจำ แล้วจะคืนให้เมื่อเบิกจาก สปสช. ได้ ให้โทรไปสายด่วน 1330 สปสช. เพื่อให้เจราจากับโรงพยาบาล

(อุบัติเหตุ ฉุกเฉิน 3 กองทุน อาการแรกรับเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤติถึงแก่ชีวิต) แสดงบัตรประชาชนประกอบการใช้สิทธิ รพ. เรียกเก็บค่าใช้จ่ายมาที่ สปสช. หากไม่เข้าเกณฑ์คนไข้จ่ายเงินเอง

8.
กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินเพราะได้รับอุบัติเหตุจากรถ ให้ปฏิบัติดังนี้

 

 

(ความคุ้มครองตาม พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ. 2535 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมวงเงิน 100,000 บาท เป็นค่ารักษาพยาบาลในวงเงิน 50,000 บาท ค่าอนามัยวงเงิน 50,000 บาท)


หากมีข้อสงสัย ปรึกษาได้ที่

»  สายด่วน สปสช. โทรฟรี 1330 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

»  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ฟรี!!!!! โทร : 02-248 3737 ฝ่ายรับเรื่องร้องเรียน (วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 9.00-17.00 น.)
หรือ ส่ง e-mail มาที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.