Black Ribbon

2nd benefit

2nd benefit

  • หน้าแรก
  • ด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ

100% หมูหวาน-หมูแผ่น พบไนเตรท ไนไตรท์ อย.เผยไม่มีการกำหนดใช้

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2559 ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) จัดแถลงข่าวผลทดสอบผลิตภัณฑ์อาหารพบว่า 100% หมูหวาน-หมูแผ่น พบไนเตรท ไนไตรท์ และไม่ระบุฉลากทั้งหมด โดยที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่มีกำหนดมาตรฐานเรื่องการใช้ไนเตรทและไนไตรท์ในผลิตภัณฑ์อาหารกลุ่มนี้ หากใช้ต้องขออนุญาตเป็นการเฉพาะราย และต้องแสดงในฉลาก แต่ไม่พบมียี่ห้อใด ระบุ ว่ามี ไนเตรทและไนไตรท์ จากการทดสอบของนิตยสารฉลาดซื้อฉบับที่ 184 ฉบับล่าสุด

     นางสาวมลฤดี โพธิ์อินทร์ นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค / นักวิชาการคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) กล่าวว่า ตัวอย่าง หมูแผ่นกรอบ หมูสวรรค์ หมูหวาน เนื้อเค็ม ที่นำมาทดสอบจำนวน 14 ตัวอย่าง ร้อยละ 100 พบไนเตรท ไนไตรท์ ได้แก่

ยี่ห้อ/ผู้ผลิต

ประเภท

เลขสารบบอาหาร

ปริมาณไนเตรท

ปริมาณไนไตรท์

  1. เจ้าสัว (เตี่ยหงี่เฮียง)

หมูแผ่นกรอบ

มีจดแจ้งต่างจังหวัด

15.94 มก./กก.

ไม่พบ

  1. เฮงชุงกิม (ตั้งฮะเฮง)

หมูหวาน

มี

23.39 มก./กก.

ไม่พบ

  1. P&P food supply

หมูสวรรค์แช่แข็ง

มี

27.63 มก./กก.

ไม่พบ

  1. ฮะกี่ลิ้มจิงเฮียง

หมูหวาน

ไม่มี

23.26 มก./กก.

น้อยกว่า 10 มก./กก.

  1. ฮะกี่ลิ้มจิงเฮียง

หมูแผ่น

ไม่มี

32.91 มก./กก.

น้อยกว่า 10 มก./กก.

  1. พรทิพย์ (น้ำง้วน)

หมูแผ่นกรอบ

มี จดแจ้งต่างจังหวัด

34.73 มก./กก.

น้อยกว่า 10 มก./กก.

  1. เฮงชุงกิม

หมูแผ่น

มี

35.30 มก./กก.

27.13 มก./กก.

  1. .ขอนแก่น

หมูสวรรค์อบ

มี

76.09 มก./กก.

ไม่พบ

  1. พรทิพย์ (น้ำง้วน)

หมูสวรรค์

ไม่มี

92.71 มก./กก.

ไม่พบ

  1. .ขอนแก่น

เนื้อสวรรค์

ไม่มี

100.68 มก./กก.

ไม่พบ

  1. .บ้านไผ่

เนื้อสวรรค์

มี

94.66 มก./กก.

น้อยกว่า 10 มก./กก.

  1. ลัดดา

หมูเค็ม

ไม่จำเป็นต้องมี

169.93 มก./กก.

55.68 มก./กก.

  1. ร้านหมู หมู

เนื้อเค็ม

ไม่จำเป็นต้องมี

216.05 มก./กก.

17.17 มก./กก.

  1. ร้านหมู หมู

หมูสวรรค์

ไม่จำเป็นต้องมี

2,033.16 มก./กก.

ไม่พบ


ทั้งนี้ อย
.ไม่มีกำหนดเรื่องการใช้ไนเตรทและไนไตรท์ในผลิตภัณฑ์อาหารกลุ่ม หมูแผ่นกรอบ หมูหวานและเนื้อเค็ม จากการสอบถามกับนักวิชาการของ อย. การใช้ต้องขออนุญาตเป็นการเฉพาะราย และเมื่อมีการใช้ต้องแจ้งข้อมูลบนฉลากทุกครั้ง หากใช้โดยไม่มีการขออนุญาต มีความผิดตามมาตรา 6(5) ของ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 หลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการใช้วัตถุเจือปนอาหาร บทลงโทษมาตรา 47 ระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท


นอกจากนี้ยังพบว่าอีกว่าใน
11 ตัวอย่าง ที่ต้องมีเลขสารบบอาหาร มีเพียง ตัวอย่างที่มีเลขสารบบของ อย. โดยสามารถตรวสอบความถูกต้องว่าเป็นเลข อย.จริง เพียง 5 ตัวอย่าง อีก 2 ตัวอย่าง เป็นเลขสารบบอาหารของต่างจังหวัด ไม่สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของ อยและอีก 5 ตัวอย่าง ฉลากไม่ระบุวัน เดือน ปี ที่ผลิตและหมดอายุ ได้แก่ 1. ฮะกี่ลิ้มจิงเฮียงหมูหวาน 2. ฮะกี่ลิ้มจิงเฮียงหมูแผ่น 3. หมูเค็มลัดดา 4. เนื้อเค็มร้านหมู หมู 5. หมูสวรรค์ร้านหมู หมู

 

     นางสาวมลฤดี โพธิ์อินทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การรับประทานอาหารที่มีการใช้ไนเตรทและไนไตรท์ อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ ไต กระเพาะปัสสาวะ กระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับอ่อน และทางเดินหายใจได้ กรณีผู้ที่มีอาการแพ้อาจส่งผลต่อระบบหายใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว หมดสติหรือเสียชีวิตได้

     นางสาวสารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการบริหารนิตยสารฉลาดซื้อกล่าวว่า นิตยสารฉลาดซื้อ ได้ติดตามปัญหาเรื่องความปลอดภัยของอาหารโดยเฉพาะวัตถุเจือปนอาหาร โดยได้ทำการทดสอบเกี่ยวกับวัตถุเจือปนอาหาร จำนวนไม่น้อยกว่า 16 ชนิด โดยมีกลุ่มผลิตภัฒฑ์ที่ตรวจพบว่ามี วัตถุเจือปนอาหารเกินค่ามาตรฐาน อาทิ สารกันบูดในขนมจีน ไส้กรอก กุญเชียง น้ำพริก กะปิ ขนมปัง และลูกชิ้น บอแรกซ์ในหมูบด อาฟลาท็อกซินในเส้นก๋วยเตี๋ยว น้ำมันทอดซ้ำในไก่ทอด เฟรนซ์ฟราย และ สีสังเคราะห์ในชาโบราณ หรือในครั้งนี้เป็นผลิตภัณฑ์หมูและเนื้อแปรรูปพร้อมรับประทาน อย่าง หมูกรอบ หมูแผ่น เนื้อเค็ม ทีเราทดสอบในครั้งนี้ ดังนั้นจึงอยากให้ผู้บริโภค ติดตามการทดสอบผ่านนิตยสารฉลาดซื้อของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จะได้มีข้อมูลในการเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัยให้ตนเอง 

     นอกจากนี้ เสนอให้สถาบันวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีด้านอาหาร หรือสถาบันที่เกี่ยวข้องช่วยสนับสนุนหรือพัฒนาเทคโนโลยีว่าจะทำอย่างไรอาหารจึงจะอร่อยและปราศจากวัตถุเจือปนอาหารได้ พร้อมขอเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดังนี้

1) ดำเนินการกับผู้ผลิตอาหาร ตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.. 2522 ใช้วัตถุเจือปนอาหารโดยไม่มีการขออนุญาต มีความผิดตามมาตรา 6(5) ของ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 หลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการใช้วัตถุเจือปนอาหาร บทลงโทษมาตรา 47 ระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

2) บังคับการใช้ฉลากตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) .. 2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ โดยให้แสดงว่า ใช้สารกันบูด ชนิดไนเตรท รวมทั้งเลขมาตรฐานสากล เป็นต้น

3) ยกระดับมาตรฐานอาหารภายในประเทศให้มีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานโคเด็กซ์ (CODEX)

ข้อมูลจากศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
ภาพข่าว: เบญจมาศ ลาวงค์

อ่านผลทดสอบฉลาดซื้อได้จาก www.ฉลาดซื้อ.com หรือ สมัครสมาชิกได้ที่ 02-248-3737

--------------------------------------------------------------------------------------------------


ขอบคุณทุกท่านที่สนใจข้อมูลจากนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
>>> อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง
>>> ร่วมอ่าน online 200 บาท/ ต่อปี
>>> อ่านย้อนหลังได้กว่า 90 ฉบับ ผลทดสอบเพียบ!
>>> โอนเงินแล้วแจ้งมาที่ >> อีเมล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. + แนบรูปโอน >> เปิดอ่าน full Version ทันทีจ้าาาาาา
>>> ต้องการใบเสร็จ >> พิมพ์ชื่อ - ที่อยู่ ใน อีเมล์ด้วยนะครับ
---------------------------------
ชื่อบัญชี "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค"
ธ.กสิกรไทย : 058-2-86735-6
ธ.ไทยพาณิชย์ : 319-2-62123-1
ธ.กรุงไทย : 141-1-28408-9
ธ.ทหารไทย : 026-2-40760-4
ธ.กรุงเทพ : 088-0-38742-8
ธ.กรุงศรีอยุธยา : 463-1-10884-6
---------------------------------

ขอบคุณที่สนับสนุนสมาชิกฉลาดซื้อ เรานำไปใช้ดังนี้
1. นำรายได้ไปช่วยผู้บริโภคที่ประสบปัญหาการถูกละเมิดสิทธิ ซึ่งต่อปีมีประมาณ 10,000 คน
2. นำรายได้ไปช่วยพัฒนาและส่งเสริม ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภค ทั่วประเทศ
3. นำรายได้ไปจ่ายค่าทดสอบสินค้าและบริการ ที่ผ่านห้อง Lab เฉพาะทางในประเทศไทย เพื่อข้อมูลอย่างละเอียดและเป็นจริงที่สุด
4. นำรายได้ไปเป็นสมาชิก องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT (International Consumer Research and Testing)
5. ผู้สนับสนุนทุกท่าน สามารถนำใบเสร็จ จากการสนับสนุนไป หักลดหย่อนภาษีได้

 พิมพ์  อีเมล