test protect push open

fb icontw icong plus iconyt icon

test protect push open

fb icontw icong plus iconyt icon

คอบช.เปิด สภาผู้บริโภคแห่งชาติวันสิทธิผู้บริโภคสากล

banner 15consumerday
คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน(คอบช.) เปิดสภาผู้บริโภครณรงค์ ไม่ให้ใช้ยาปฏิชีวนะในอาหาร (Antibiotics Off the Menu) เพื่อลดอันตรายจากเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ รวมทั้งลด ละ เลิกการใช้ยาปฏิชีวนะในการกระบวนการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร ในวันสิทธิผู้บริโภคสากล และผลักดันกลไกคุ้มครองผู้บริโภคโดยผู้บริโภค 15 มี.ค. ณ โรงแรม อมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง



โดยร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(มพบ.) ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา(กพย.) แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ(คคส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค เห็นความสำคัญเรื่องปัญหานี้ จึงจัดให้มีการประชุม สภาผู้บริโภคแห่งชาติครั้งที่ 1 โดยหวังให้เป็นกลไกของผู้บริโภคที่ ในการติดตามบังคับใช้กฎหมาย มติด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค และร่วมกันผลักดันให้ผ่านร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. เพื่อให้เกิดกลไกคุ้มครองผู้บริโภคโดยผู้บริโภค


อนึ่งวันที่ 15 มีนาคมของทุกปี ถือเป็น "วันสิทธิผู้บริโภคสากล" World Consumer Rights Day ซึ่งปีนี้สหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumers International หรือ CI) ได้ให้ความสำคัญเรื่องอาหารปลอดภัยและรณรงค์"สร้างสุขภาพที่ดี ต้องไม่มียาปฏิชีวนะ " (Antibiotics Off the Menu) เพื่อลดอันตรายจากเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ รวมทั้งลด ละ เลิกการใช้ยาปฏิชีวนะในการกระบวนการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร

ปัจจุบัน 50% ของยาปฏิชีวนะทั่วโลก ถูกใช้ในทางการเกษตร ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อและการเจ็บป่วยเล็กน้อยซึ่งเคยรักษาได้ในอดีต


นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุข เผยปัจจุบันปัญหาการดื้อยาของเชื้อจุลชีพที่ทำให้เกิดโรคมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุสำคัญมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่มากขึ้น ทั้งการใช้อย่างไม่จำเป็นและเกินความจำเป็น โดยมูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะของคนไทยมากกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี และมีการติดเชื้อชนิดที่ดื้อยาปฏิชีวนะปีละกว่า 100,000 คน มีผู้ป่วยติดเชื้อชนิดดื้อต่อยาปฏิชีวนะ 5 ชนิด เสียชีวิต 38,481 ราย แซงโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มูลค่าสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรปีละกว่า 40,000 ล้านบาท ทำให้ยาปฏิชีวนะตัวเก่าที่เคยใช้ ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ผู้ป่วยบางรายต้องเปลี่ยนใช้ยาตัวใหม่ซึ่งมีราคาแพงมาก เชื้อดื้อยาบางชนิดไม่มียารักษาที่มีประสิทธิผลดีและปลอดภัย ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มขึ้น ใช้เวลารักษานานขึ้นและโอกาสเสียชีวิตสูง ผลเสียต่อไปหากเชื้อชนิดนี้แพร่ไปสู่ผู้ป่วยรายอื่นและเกิดการระบาดในชุมชน จะมีผลทำให้โรคติดต่อที่เคยควบคุมได้กลับมาระบาดมากขึ้น นอกจากนี้ เชื้อดื้อยายังสามารถถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมดื้อยาไปสู่เชื้อสายพันธุ์อื่นทำให้ปัญหาการดื้อยาทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

 

เอกสารประกอบการประชุม
57-58book1

รายงาน ผลงานคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน
ประจำปี 2557 – 2558

 

57-58book2

รายงานคุ้มครองผู้บริโภค ประจำปี 2557 – 2558




57-58book3

รายงานตรวจสอบการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำปี 2557 – 2558

 


know consumer

ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
ผ่านการพิจารณา สปช. เข้าสู่ ครม. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2558




  เส้นทางองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

 

 


กำหนดการ
การประชุมสภาผู้บริโภคแห่งชาติ ครั้งที่
1
วันที่
15 มีนาคม 2559
ณ ห้องกินนรี โรงแรม อมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง  กรุงเทพมหานครฯ

 

๘.๐๐-๙.๐๐ น.

ลงทะเบียน

๙.๐๐-๑๐.๐๐ น.

ประชุมสภาผู้บริโภคแห่งชาติ: แนวทางการดำเนินการสภาผู้บริโภคแห่งชาติ

รศ. ดร. ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์   ประธานคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน เป็นประธาน

๑๐.๐๐-๑๐.๑๐ น.

เปิด VTR เส้นทางองค์การอิสระฯ

๑๐.๑๐-๑๐.๔๐ น.

ปฐกถาพิเศษ “เส้นทางรัฐธรรมนูญไทย จากอดีตสู่ปัจจุบันและอนาคต”
โดย ศาสตราจารย์พิเศษจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

๑๐.๔๐ – ๑๑.๐๐ น.

แถลงข่าว “เปิดตัวสภาผู้บริโภคแห่งชาติ ปฏิรูประบบการคุ้มครองผู้บริโภค”

๑๑.๐๐-๑๒.๓๐ น.

อภิปรายเรื่อง “เดินหน้าประเทศไทย: กฎหมายองค์การอิสระผู้บริโภค”

  • นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์นายกสภาทนายความ
  • นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ
  • นายภัทระ คำพิทักษ์     กรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ
  • นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค*

ดำเนินการอภิปรายโดย นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล   ผู้จัดรายการเช้าทันโลก FM ๙๖.๕

๑๒.๓๐-๑๓.๐๐ น.

รับประทานอาหารกลางวัน

๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น.

(ห้อง กินนรี ๒)

แถลงข่าวเปิดตัวกระจิบท้องเสีย

:รณรงค์การใช้ยาต้านแบคทีเรียอย่างสมเหตุสมผล

โดย อาจารย์เรืองศักดิ์   ปิ่นประทีป (อ.ตุ๊บปอง)

       รศ.ดญ.ดร.วารุณี   พรรณพานิช วานเดอร์พิทท์

       ผศ.ภญ.ดร.นิยดา     เกียรติยิ่งอังศุลี

๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น.

แบ่งห้องย่อย ๒ ห้อง

ห้องที่ ๑ กินนรี

เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น.

๑๓.๐๐-๑๔.๓๐ น.

สถานการณ์และการพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ

๑.รายงานสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ

   โดย ผศ.ดร.ภญ.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ

รองผู้จัดการแผนงาน คคส.

๒. การจัดลำดับสินค้าไม่ปลอดภัย

   โดย รศ.ดร.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงาน คคส.

๓. ระบบแจ้งเตือนภัยสินค้าไม่ปลอดภัย

   โดย ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร

ผู้ช่วยอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ดำเนินการโดย ภญ.พรพรรณ สุนทรธรรม

วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพฯ

๑๔.๓๐-๑๖.๐๐ น.

สถานการณ์ปัญหาและข้อเสนอภาคประชาชนต่อการจัดการปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยา

๑. พระฤทธิชัย อภิเมธี   เครือข่ายพื้นที่ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่

๒. นายอัมรินทร์ เปล่งรัศมีผู้อำนวยการกลุ่มละครชุมชนกั๊บไฟ จังหวัดเชียงใหม่

๓. นายประสิทธิ์   มีแก้ว     สำนักงานสาธารณสุขอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

๔. ภก.สันติ โฉมยงค์    เครือข่ายพื้นที่ภาคกลาง   สสจ.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ดำเนินการโดย   ผศ.ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข รองผู้จัดการแผนงาน กพย.

๑๖.๐๐- ๑๖.๓๐ น.

พิธีมอบประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม

  • สาขากฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
  • สาขานโยบายและการบริหารระบบยาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
  • สาขาระบาดวิทยาเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ

ห้องที่ ๒ กินนรี

เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น.

๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น.

แนวทางการจัดตั้งสภาผู้บริโภคแห่งชาติ

นางสาว สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

๑๓.๐๐-๑๔.๐๐ น.

ทิศทางของสภาผู้บริโภคแห่งชาติ

๑๔.๐๐-๑๕.๐๐ น.

ภารกิจของสภาผู้บริโภคแห่งชาติ

๑๕.๐๐-๑๖.๐๐ น.

โครงสร้างของสภาผู้บริโภคแห่งชาติ

๑๖.๐๐-๑๖.๓๐ น.

สรุปข้อหารือและแนวทางการจัดตั้งสภาผู้บริโภคแห่งชาติ

 

 

หมายเหตุ
*วิทยากรอยู่ระหว่างประสานงาน

 พิมพ์  อีเมล