2nd benefit

2nd benefit

'ระพี สาคริก' เผยข้อเท็จจริงโรงไฟฟ้าถ่านหิน 5 ประการถึงนายก

 580721 Andaman01

วันนี้ (21 ก.ค. 58) ศ.ระพี สาคริก เขียนจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขอให้ทบทวนโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่ และโปรดรับฟังข้อเสนอตามสาระในแถลงการณ์ของชาวบ้านจังหวัดกระบี่ โดยมีประชาชนมานั่งอดอาหารกว่า 10 วัน เพื่อเรียกร้องรัฐบาลด้วยวิธีการที่สุภาพและสันติ พร้อมเผยข้อเท็จจริง 5 ประการ

ศ.ระพี สาคริก เผยว่า เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าถ่านหินอ้างว่าเป็นโครงการเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าแก่พื้นที่ในจังหวัดภาคใต้ตามนโยบายของรัฐบาลนั้น พบว่ามีรายงานที่ขัดแย้งกับเหตุผลข้างต้น อีกทั้งยังมีรายงานด้าน การท่องเที่ยว รายงานด้านมลพิษ การมีกำลังผลิตติดตั้งไฟฟ้าเกิดจำเป็นที่อาจจะทำให้ภาพรวมด้านสิ่ง แวดล้อม และคุณภาพ รวมทั้งอาจเป็นการลงทุนโดยไม่จำเป็น และยังอาจทำให้เกิดความเสียหายทั้งใน ระยะสั้นและระยะยาวตามมาหลายประการอีกด้วย สิ่งสำคัญคือยังมีเครื่องบ่งชี้ว่าอาจมีความพยายามทำ งานอย่างรวบรัดข้ามขั้นตอน และมีการจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวข้องอันส่อไปในทางไม่โปร่งใสอีกด้วย ดังนั้น จึงของให้รัฐบาลทบทวนโครงการดังกล่าวด้วยเหตุด้านมนุษยธรรมเป็นหลักสำคัญ

ข้อเท็จจริงโรงไฟฟ้าถ่านหิน 5 ประการ

  1. รายงานข้อเท็จจริงของมูลนิธินโยบายสุขภาวะ ว่า ชาวจังหวัดกระบี่มีศักยภาพที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนหลายชนิดได้เกินความต้องการของจังหวัด ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่จะสร้างโรงงานไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดกระบี่ แต่ควรส่งเสริมให้ชาวกระบี่สามารถผลิตพลังงานหมุนเวียนจนประสบความสำเร็จเพื่อเป็นแบบอย่างให้ทุกๆจังหวัดที่มีศักยภาพในทำนองเดียวกันสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้เต็มศักยภาพ อันเป็นความมั่นคงพลังงานที่กระจายสู่อำนาจของประชาชน ยิ่งในสภาวะที่ประเทศกำลังเผชิญกับปัญหาทางเศรษฐกิจหลายประการเช่นนี้ รัฐบาลควรดำเนินนโยบายพลังงานด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริเพื่อสร้างรากฐานให้เกิดความมั่นคงของประเทศในระยะยาว
  2. มีรายงานกรมการท่องเที่ยวและรายงานข่าวในประเทศเกี่ยวกับกรณีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดกระบี่ ที่ชัดเจนว่า พ.ศ. 2556 มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เยือนจังหวัดกระบี่ถึงร้อยละ 14 ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดของประเทศ และนักท่องเที่ยวเหล่านั้นมาด้วยความพอใจในธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความสงบสุขของกระบี่ดังสถิติและข่าวที่ปรากฏในสื่อต่างประเทศ
  3. มีรายงาน "แถลงผลการศึกษาและเฝ้าระวังสารปรอทในชุมชน มูลนิธิบูรณะนิเวศ" ที่ชัดเจนว่าผลจากการใช้ถ่านหินเป็นวัตถุดิบผลิตกระแสไฟฟ้าก่อให้เกิดการปนเปื้อนสารโลหะหนักหรือสารพิษในสิ่งแวดล้อมจนกระทั่งเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารและสู่ร่างกายประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้ พื้นที่ ซึ่งรายงานการศึกษาพบค่าสารปรอทปนเปื้อนมีค่าสูงกว่ามาตรฐานในร่างการของประชาชนและปลาถึง 4.5 เท่า ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยและยิ่งกว่านั้นเด็กรุ่นต่อไปที่ถือกำเนิดขึ้นมามีโอกาสเป็นเด็กปัญญาอ่อนสูงมาก นับเป็นความรุนแรงทางสังคมที่ไม่สามารถเยียวยาได้ซึ่งไม่ควรปล่อยให้เกิดเรื่องเช่นนี้แก่คนไทย
  4. พบเอกสารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (รายงานการจัดการซื้อจัดจ้าง กฟผ.) ว่ามีการจ้างที่ปรึกษาการพัฒนาธุรกิจถ่านหินนำเข้า ของ กฟผ. 1 ฉบับ การจ้างที่ปรึกษาจัดหาถ่านหินนำเข้าเพื่อโรงไฟฟ้ากระบี่ใหม่ 2 ฉบับ และการจัดจ้างที่ปรึกษา โครงการศึกษาจัดทำรายงานข้อเสนอแนะทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการขนส่งถ่านหินนำเข้าจากต่างประเทศมายังท่าเทียบเรือของโครงการโรงไฟฟ้าเทพา จ.สงขลา 1 ฉบับ ด้วยวงเงินงบประมาณฉบับละ 5 ล้านบาท รวม 4 ครั้ง วงเงินรวม 20 ล้านบาท ซึ่งเป็นการจัดจ้างเพื่อหาวัตถุดิบชนิดเดียวกัน คือ ถ่านหินของหน่วยงานเดียวกัน คือ กฟผ. ในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งหากเป็นการทำหน้าที่อย่างมีหลักธรรมาภิบาลก็ไม่ควรจะต้องแยกดำเนินการโดยใช้จ่ายงบประมาณซ้ำซ้อนเช่นนี้ และยังมีการจัดซื้อจัดจ้างงานเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์คุณภาพดิน คุณภาพน้ำ คุณภาพตะกอนดิน และปริมาณโลหะหนักในเนื้อปลาบริเวณโครงการขยายกำลังผลิตไฟฟ้ากระบี่วงเงิน 1.9 ล้านบาท ทั้งที่มีการว่าจ้างที่ปรึกษาจัดทำรายงาน EIA และ EHIA ไปแล้ว จึงควรมีการตรวจสอบในเรื่องนี้เพื่อให้เกิดความโปร่งใสมิให้เกิดมลทินในการบริหารรัฐกิจในเรื่องนี้
  5. ด้วยทราบว่ามีความพยายามเปิดให้มีการยื่นประมูลการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ในขณะที่รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและคุณภพ (EHA) ยังไม่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง จึงควรมีการตรวจสอบอย่างรัดกุมด้วย

 

ข่าวบทความเนื้อหาใกล้เคียงกัน:

|

 

Tags: อันดามัน