2nd benefit

2nd benefit

‘ปานเทพ’ ชู ม.44 แก้ปัญหาขาดแคลนพลังงาน

580604Gas

วันนี้ (4 มิ.ย. 58) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ พร้อมด้วย นางสาวบุญยืน ศิริธรรม และเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ยื่นหนังสือ “ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติในอีก 6 ปีข้างหน้า” ต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีนายจำเริญ ยุติธรรมสกุล รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมารับหนังสือ ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล

นายปานเทพ กล่าวถึงข้อกังวลของรัฐบาลกรณีการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติในอีก 6-7 ปีข้างหน้าในแหล่งปิโตรเลียมบงกชและเอราวัณ ซึ่งเป็นปริมาณครึ่งหนึ่งของการผลิตก๊าซธรรมชาติของคนในประเทศเพื่อนำมาผลิตไฟฟ้า ทาง คปพ.จึงได้ทำการศึกษาและจัดทำร่าง พรบ. ประกอบกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. .... และร่างคำสั่งการใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 44 ขึ้นเพื่อแก้ไขวิกฤตดังกล่าว พร้อมเห็นว่า พรบ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. .... ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ เพราะสามารถใช้ประมวลรัษฎากรปกติได้ และให้กิจการปิโตรเลียมเป็นเสมือนกิจการทั่วไปของธุรกิจทั่วไป ในการจัดเก็บภาษี

“ความเป็นห่วงก็คือการต่ออายุสัมปทานครั้งที่แล้วไม่ได้พูดถึงการเข้าสวมต่อหรือการถ่ายโอนการผลิตปิโตรเลียมให้มีความชัดเจนทำให้ผู้มีสัมปทานสองแปลงนี้สามารถอยู่ได้จนวันสุดท้ายในการผลิตปิโตรเลียมเป็นผลให้เราไม่สามารถเปลี่ยนผ่านในการผลิตปิโตรเลียมต่อจากนั้นซึ่งจะเป็นวิกฤตปิโตรเลียมของประเทศไทย ด้วยเหตุผลนี้ทำให้ผู้รับสัมปทานทั้งสองแปลงมีอำนาจต่อรองสูงกว่าภาครัฐ และสามารถทำให้ภาครัฐเปิดสัมปทานปิโตรเลียมในแปลงสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ทั้งหมดเลยก็ได้เพื่อมาชดเชยก๊าซที่จะขาดแคลน หรือพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลซึ่งยังตกลงกันไม่ได้ต้องเร่งรีบในการตกลงเพื่อมาชดเชยการขาดแคลน ซึ่งเราเห็นว่าภาวะการณ์ดังกล่าวเป็นภาวะการณ์ที่ทำให้รัฐเสียอำนาจต่อรองครั้งใหญ่และไม่สามารถรักษาประโยชน์สูงสุดของประเทศได้” นายปานเทพ กล่าว

นายปานเทพ กล่าวต่อไปว่า ควรให้มีการเปิดประมูลแปลงสัมปทานที่มีศักยภาพในระบบ แบ่งปันผลผลิตให้เร็วที่สุด แต่ต้องกำหนดให้ผู้รับสัมปทานรายเดิมที่จะเข้าประมูลต้องแก้ไขสัญญาให้ภาครัฐสามารถเข้าไปทำการผลิตต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เข้าไปผลิตในแปลงสัมปทานเดิม เพื่อสร้างอำนาจต่อรองให้กับรัฐ แล้วค่อยเปิดประมูลในแปลงสัมปทานที่จะหมดอายุเป็นลำดับที่สอง

“เราไม่ต้องการใช้กฎหมายบังคับเอกชน แต่ใช้แรงจูงใจทางธุรกิจมาเป็นอำนาจต่อรองต่อรัฐบาล เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะสามารถฝ่าวิกฤตขาดช่วงผลิตใน 6-7 ปีข้างหน้า โดยใช้การประมูลแข่งขันในระบบแบ่งปันผลผลิต” นายปานเทพ กล่าว

นอกจากนี้ นายปานเทพ เผยว่า ควรให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานหมุนเวียนว่าทดแทน โดยกำหนดกำหนดให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (ADDER) จากพลังงานทางเลือกอื่นๆให้เท่ากันในทุกกลุ่ม เพื่อให้เกิดการแข่งขันทางด้านเทคโนโลยีและเผยราคาต้นทุนที่ต่ำที่สุดเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อรัฐบาล โดยไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

นายปานเทพ กล่าวถึงหลักการของร่าง พรบ.ประกอบกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. ....ว่า

1.เป็นกฎหมายที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำคือกระบวนการสำรวจและการผลิต กลางน้ำคือกระบวนการขนส่ง จัดเก็บรักษารูแยกก๊าซรูกลั่นน้ำมัน และปลายน้ำคือการจำหน่ายให้กับประชาชน และเพื่อให้การประกอบกิจการทุกขั้นตอนมีความพร้อมสำหรับการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต่อไป

2.ให้มีทั้งระบบสัมปทาน ระบบแบ่งปันผลผลิต และระบบจ้างการผลิตเพิ่มเติม มีการตรากฎหมายเพื่อลดการใช้ดุลพินิจให้ความสำคัญกับการใช้หลักเกณฑ์ว่าจะใช้ระบบใด เพื่อทำให้เกิดความโปร่งใสสูงสุดต้องมีการประมูลในทุกระบบเพื่อทำให้เกิดการแข่งขันและนำมาซึ่งต้นทุนที่ต่ำที่สุด เพื่อประโยชย์ประชาชน

3.ให้ตั้งบรรษัทปิโตรเลียมแห่งชาติ เพื่อรองรับการโอนถ่ายทรัพยากรปิโตรเลียมและทรัพย์สินทั้งหมด โดยให้ภาคประชาชนเข้าร่วมกับรัฐ โดยเน้นความสำคัญของเป้าประสงค์หลักการพิจารณาสิ่งที่ทำได้และสิ่งที่ทำไม่ได้เป็นสาระสำคัญมากกว่าการให้ความสำคัญกับบุคคล

4.เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การกำกับ ตลอดจนการจัดการผลประโยชน์ของประเทศ

5.เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมอย่างเป็นรูปธรรมในฐานะว่าทรัพยากรปิโตรเลียมเป็นของปวงชนชาวไทย และ

6.ให้มีระบบเยียวยาประชาชนอย่างเป็นธรรมและเป็นรูปธรรม

ด้าน นายจำเริญ กล่าวชื่นชมร่าง พรบ.ประกอบธุรกิจปิโตรเลียม พ.ศ. .... ที่มีการคิดอย่างเป็นระบบ และจะนำข้อเสนอดังกล่าวเสนอต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป

“ผมชื่นชมพรบ. 6 หมวด มีการคิดอย่างเป็นระบบ ก็จะรับเอาเรื่องนี้รีบนำเสนอท่านนายกฯ นำเสนอผ่านรัฐมนตรีโดยด่วนที่สุด และมีข้อเสนอส่งไปกระทรวงพลังงาน ส่งไปรัฐบาล ส่งไป สนช. ตามแนวทางที่เราทำไว้ให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน 7 วัน” นายจำเริญ กล่าว


เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการนำเสนอ ข้อมูลสารสนเทศ สามารถ Download File ข้อมูลได้ดังต่อไปนี้

จดหมายถึง นายก ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2558 เรื่อง ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติในอีก ๖ ปีข้างหน้า(ฉบับลงนาม) 

ข้อเสนอให้ใช้ คาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ม.44 เพื่อแก้ไขปัญหาฝ่าวิกฤติพลังงานไทย 

หนังสือตอบรับจาก สนร.ถึง คปพ.15/5/2558

ร่าง-พระราชบัญญัติการประกอบกิจการปิโตรเลียม ฉบับ คปพ.

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
@ ฝ่ายสารสนเทศและประสานงานสื่อมวลชน This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ID Line : Bigninja TEL:081-8328610


ข่าวบทความเนื้อหาใกล้เคียงกัน:

|