สปช.หารือ ผู้บริโภค-ผู้ประกอบการ ปรับกม.เลมอลลอว์ คอบช.ชี้ให้ยกร่างกม.ใหม่

Written on . Posted in ด้านสินค้าและบริการทั่วไป ฮิต: 3531

 lemonlaw

สปช.คุ้มครองผู้บริโภค เชิญ องค์กรผู้บริโภค สคบ. สภาหอการค้าฯ สภาอุตสาหกรรมฯ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ถกปรับกม. Lemon law กรรมการองค์การอิสระฯชี้ควรยกร่างกฎหมายใหม่

คณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ชี้แจง และให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดชอบเพื่อชำรุดบกพร่องในสัญญาซื้อขายและการคุ้มครองผู้บริโภค (Lemon Law) วิจัยโดย นายเชิญวุฒิ สินพิมลบูรณ์ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ได้เชิญผู้มีส่วนได้เสียหายมาร่วมให้ความเห็น ได้แก่ สภาหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ) นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค (คอบช.) ในวันที่ 18 มีนาคม 2558 ที่รัฐสภา

ดร.วิทยา กุลสมบรณ์ รองกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค สปช. กล่าวถึงข้อเสนอในการยกระดับกฎหมายดังกล่าวใน 3 แนวทาง คือ 1.ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 2.ให้แก้ไขพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 3.ให้ยกร่างกฎหมายใหม่

ขณะที่ ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง กรรมการ คอบช. ให้ความเห็นว่า หากแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือแก้ไขกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ก็จะทำให้เกิดความล่าช้า และกินระยะเวลายาวนาน ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร อีกทั้งกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเป็นกฎหมายที่ต้องมีเจ้าภาพดูแลอีกด้วย จึงเห็นว่าควรให้มีการยกร่างกฎหมายใหม่ซึ่งจะมีความครอบคลุมมากกว่า และสามารถรับฟังความคิดเห็นได้รอบด้าน

น.ส. สารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมการธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค สปช. กล่าวว่า จากการรับฟังเสียส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่าควรยกร่างกฎหมายใหม่ เพราะการแก้ไขกฎหมายเดิมมีระยะเวลาที่ยาวนานและยุ่งยากกว่า แต่การยกร่างกฎหมายใหม่ก็ต้องมีการพิจารณาให้รอบด้าน

ด้าน สภาหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ควรมีการแก้ไขกฎหมายเดิมและเชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาร่วมให้ความเห็น แต่หากจะต้องยกร่างกฎหมายใหม่จะต้องมีการพิจารณาให้รอบด้าน รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องด้วย อย่างไรก็ตามก็ขอกลับไปหารือกับผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้ก่อน

จากงานวิจัยของนายเชิดวุฒิ สินพิมลบูรณ์ ได้มีการกล่าวถึงกฎหมาย lemon law ในประเทศสิงคโปร์จะถือเอาสัญญาเป็นหลัก ผู้ซื้อมีหน้าที่ตรวจสอบของก่อนรับมอบ หากสินค้าที่ซื้อไปแล้วชำรุดภายใน 6 เดือนนับแต่ส่งมอบของให้ถือว่าชำรุดตั้งแต่ส่งมอบ โดยกำหนดทำการซ่อมแซม หากไม่สามารถซ่อมได้จึงเปลี่ยนสินค้าให้ ก่อนที่จะลดราคา ค่าเสียหาย ค่าใช้จ่ายอื่นๆ กำหนดให้ผู้ขายต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสินค้า

 

บทความเนื้อหาใกล้เคียงกัน:

|

พิมพ์