2nd benefit

2nd benefit

สคบ.ไม่เสนอกม.องค์การอิสระฯ อ้างซ้ำซ้อน

How2Indy001

สคบ. อ้าง ไม่เสนอกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะกฎหมายฉบับนี้ซ้ำซ้อนกับสคบ. 80% องค์กรผู้บริโภคแย้ง

ให้กลับไปอ่านร่างกฎหมายก่อนพูดหรือให้ความเห็น ชี้หากเป็นแบบนั้นจริง คงไม่ต้องเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งปี 2540 และ 2550 ซึ่งรับรองสิทธิของบุคคล ซึ่งเป็นผู้บริโภค ย่อมได้รับการคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค


ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย


กฎหมายฉบับนี้ที่ช่วยกันผลักดันมาเกือบ 16 ปี ทำท่าจะเป็นหมันเมื่อเจอปัญหาหน่วยงานรัฐที่ไม่เข้าใจเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค


นอกจากนี้อาจจะยังมีปัญหากฎเหล็กของคสช. ที่มีต่อสนช. ว่า กฎหมายที่สนช. มีสิทธิในการยื่นเสนอและพิจารณาจะต้องไม่เกี่ยวข้องกับการเงิน


หากย้อนไปพิจารณากฎหมาย 43 ฉบับที่ค้างท่อรอพิจารณาซึ่งไม่มีร่างกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผ้บริโภค กฎหมายทุกฉบับก็เกี่ยวข้องกับการเงินทั้งนั้น


ร่างพรบ.องค์การอิสระ ฯ ถูกกำหนดให้มีงบประมาณเป็นอิสระ ด้วยการกันเงินไว้ 3 บาทต่อหัวประชากร หากคิดเป็นงบประมาณ ประมาณ 190 ล้านบาทต่อปี (บางคนบอกว่าน้อยกว่ามูลค่าห้องน้ำในรัฐสภาแห่งใหม่) การกันเงินเป็นเพียงหลักการเรื่องความอิสระขององค์กรนี้ในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค และมีหลักประกันให้กับองค์กรว่า สามารถทำงานได้ไม่ว่ารัฐบาลใดจะชอบหรือไม่ชอบองค์กรนี้ ก็ต้องให้เงินองค์กรนี้ขั้นต่ำ 190 ล้านบาท ซึ่งนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนเงิน 2.4 แสนล้านที่เป็นงบประมาณแผ่นดิน หรือหากเทียบกับเม็ดเงินของกสทช. ที่วางแผนแจกกล่องดิจิตอลในตอนแรก 25,000 ล้านบาท


เรื่องการเงินเป็นอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่งแต่อุปสรรคที่สำคัญกว่า คงเป็นปัญหาจากหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค ที่ไม่ยอมเสนอกฎหมายฉบับนี้ และไม่ยอมรับความจริง ว่า ไม่มีใครสามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้ ยกเว้นผู้บริโภคจะเท่าทันและสามารถคุ้มครองตนเองได้


การปฏิรูปครั้งนี้จะไม่ถึงฝั่ง หากไม่มีการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มเครื่องมือให้กับประชาชน ต้องจัดทำกฎหมายที่ให้อำนาจประชาชน ดำเนินการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ต่างเฝ้ารอมามากกว่า 16 ปี ประเทศนี้ไม่ได้ขาดแคลนเงิน แต่ต้องมีความเข้าใจในแก้ปัญหาประเทศมากกว่าอำนาจของตนเอง