2nd benefit

2nd benefit

 ข่าว - บทความล่าสุด

เครือข่ายองค์กรงดเหล้า จังหวัดกาญจนบุรี

kanjana01

 

วัตถุประสงค์

ด้วยทุนทางสังคมเดิมที่มีและความมีใจอาสาจิตสาธารณะจากผู้เข้าร่วมก่อตั้งองกรเครือข่ายพลังสังคมจังหวัดกาญจนบุรี และประชาคมเครือข่ายงดเหล้าจังหวัดกาญจนบุรี ได้ร่วมขับเคลื่อนงานการรณรงค์ป้องกันด้านสุขภาพมาอย่างต่อเนื่อง ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)และเครือข่ายองค์กรงดเหล้า(สคล.)และภายใต้โครงการ”คนเห็นคน”ให้ได้มีโอกาสเป็นพลังสังคมเชื่อมร้อยประสานเครือข่ายภาคี องค์กร ภ่คธุรกิจ หน่วยงาน วัด โรงเรียน ฯลฯและชุมชน ในการร่วมสร้างเสริมและป้องกันด้านสุขภาพในเรื่อง แวดล้อม อาหาร สังคม สกัดนักดื่มหน้าใหม่ ชวนคน ลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่ จนถึงการพนัน อุบัติเหตุและการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์เป็นต้น และต่อมาได้ประสานการทำงานเชิงราบด้วยการหนุนเสริมองค์กร เช่น สื่อท้องถิ่น อาชีวศึกษา อุทยาน อาสากู้ชีพกู้ภัยเพื่อยกระดับการทำงาน ในการรอรับเหตุให้หันมาร่วมด้วยช่วยกันในการป้องกันร่วมคิดร่วมแก้ไข ลดปัจจัยเสี่ยงด้านอุบัติเหตุ อีกทั้งรับฟังเรื่องราวให้คำปรึกษาในส่วนของผู้บริโภค จากการได้พบเห็นการทำงานของภาคประชาสังคม ในทุกมิติได้มองเห็นคุณค่าของพลังสังคม คนจิตอาสาที่มีมุ่งมั่นขับเคลื่อนประเด็นร่วมแก้ปัญหาสุขภาวะ ของคนชุมชนถึงสังคม กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ประกอบกับการได้ร่วมขับเคลื่อนงานกับภาคีต่างๆ จึงได้จัดตั้งองค์กรนี้


ปัจจัยเสี่ยงทางสังคมมีส่วนสำคัญต่อปัจจัยกำหนดสุขภาพ มีทั้งใกล้ตัว ได้แก่ ปัจจัยทางปัจเจกบุคคล ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และปัจจัยด้านระบบบริการสุขภาพ และไกลตัวซึ่งมีผลต่อปัจจัยใกล้ตัว ในแต่ละนิยามก็มีขอบเขตและรายละเอียดต่างกัน สภาวะแวดล้อมของบุคคลตั้งแต่เกิด เติบโต ทำงานและชราภาพ ซึ่งถูกกำหนดโดยระบบเศรษฐกิจ การเมือง และการกระจายทรัพยากรในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับโลก ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมด้านสุขภาพ แต่ละบริบทมีปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่างกันและมีลักษณะเฉพาะ ปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อสุขภาพกายและจิตทำให้เกิดการมีสุขภาพที่ไม่ดี ระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคมและการเมือง ระบบบริการสุขภาพ ระบบเครือข่ายความสัมพันธ์ของชุมชน ระบบการศึกษา ระบบที่อยู่อาศัย ระบบคมนาคมขนส่ง ระบบวัฒนธรรม ระบบแรงงานและพัฒนาอาชีพ เป็นต้น เนื่องจากสังคมมนุษย์กำลังเผชิญกับวิกฤตนานัปการ วิกฤตสำคัญยิ่งประการหนึ่งคือ วิกฤตอันเป็นผลมาจากการที่มนุษย์และสังคมไม่สามารถบริหารจัดการหรือควบคุมสถานการณ์ต่างๆ ได้ในระดับดี ทำให้วิกฤตลุกลามบานปลายกว่าที่ควรเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ภัยพิบัติ ซึ่งมิใช่ภัยปกติที่โครงสร้างรัฐจะรับมือได้เพียงลำพัง ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าจะเกิดที่ไหน รูปแบบใด เมื่อไหร่และเลวร้ายแค่ไหน ไม่ว่า สึนามิ อุทกภัย วาตภัย ภัยแล้ง แผ่นดินไหว โรคอุบัติใหม่ ฯลฯ ที่พร้อมเล่นงานมนุษย์ทุกเมื่อ ไม่เลือก เผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ ศาสนา เราต่างรู้ดีว่ามีโอกาสเกิดถี่ขึ้น รุนแรงขึ้นตามสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกร้อน โดยเชื่อว่าความสำเร็จหรือล้มเหลวในประเด็นทางสังคม ล้วนขึ้นอยู่กับ “คน” หากมีจำนวนแกนนำจำนวนมากเพียงพอและมีประสิทธิภาพสูง ย่อมรับมือกับสถานการณ์และควบคุมปัญหาได้สำเร็จ ดังนั้นจึงเห็นควรค้นหาสร้างเครือข่ายพลังสังคมจังหวัดกาญจนบุรีต่อไป


ที่อยู่สำนักงาน ::
  59 หมู่ที่ 13 ถนนหนองปรือ-เลาขวัญ ตำบลทุ่งกระบ่ำ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี 71210

ผู้ประสานงานหลัก :: น.ส.ณัสญ์ศยา วิษณุกรโยธิน
เบอร์ผู้ประสานงานหลัก :: 089-9121282
E-mail :: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

รายชื่อคณะกรรมการ

1. พระครูพัฒนกาญจนกิจ ประธาน
2. นายวรวุธ พงษ์วิทยภานุ ที่ปรึกษา
3. น.ส.อุบลวรรณ คงสว่าง ที่ปรึกษา
4. นายปกรณ์ สุวรรณประภา ที่ปรึกษา
5. น.ส.วีรยา เดชเฟื่อง ที่ปรึกษา
6. นายสุนทร สุริโย ที่ปรึกษา
7. น.ส.ณัศญ์สยา วิษณุกรโยธิน รองประธาน/ผู้ประสานงาน
8. น.ส.ภัสรา อินนะโสภา เหรัญญิก
9. น.ส.นิชาภา บุรีกาญจน์ เลขานุการ
10. นายปฏิภาณ เย็นกลม คณะทำงาน
11. นายเฉลียว ภักดีนิมิตร แกน อ.เลาขวัญ
12. นางโสภา ปิ่นเสือ คณะทำงาน
13. นายวุฒิพงษ์ สุขนิพิฐพร แกน อ.ท่ามะกา
14. นายคมสันต์ ภุมรินทร์ แกน อ.ศรีสวัสดิ์
15. นายวิชาติ คณทา คณะทำงาน
16. นางวงเดือน น้อยพิทักษ์ แกน อ.สังขละบุรี
17. นายสกุล อินทรสกุล แกน อ.บ่อพลอย
18. นายสมโภชน์ บุญวัน แกน อ.ห้วยกระเจา
19. นายพงศธร จิตดำรงขันติ แกน อ.หนองปรือ
20. น.ส.อรชิสา พวงผิว คณะทำงาน
21. นางนันทา รูปสม คณะทำงาน
22. นางวงเดือน มุขเงิน แกนนำสตรี
23. นางประยุร ช้างวงศ์ คณะทำงาน
24. นางสมบูรณ์ พรหมเกตุ คณะทำงาน
25. นายกฤษฏา ทิพย์เนตร คณะทำงาน

 ผลงานเด่นย้อนหลังในรอบ 10 ปี
1.การรณรงค์สร้างเสริมสุขภาพ คนลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีคนเป็นต้นแบบเลิกเหล้าอย่างเป็นรูปธรรม ในชุมชนและมีการสานงานอย่างต่อเนื่องในชุมชนของตนเอง
สร้างเยาวชนในพื้นที่จากที่ผลการใช้สื่อสร้างสรรค์ โดยใช้ขยะเป็นเครื่องมือ จนเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน ท้องถิ่นเทศบาล อำเภอ จังหวัด และรวมถึงการคิดการจัดการขยะในชุมชน กิจกรรม ลด ละเลิก เหล้า เป็นการต่อยอดโดยผู้นำชุมชนเอง

2.ประสานอาสาสมัคกู้ชีพกู้ภัยในเขตที่มีการขัดแย้งร่วมในเวทีพูดคุยกันจนสามารถมีความสามัคคีทำงานด้วยกันได้ ในเขตหนองปรือ บ่อพลอย (ต่างมูลนิธิ) และยังให้แนวคิดการรับบริจาคอุปกรณ์การช่วยเหลือชีวิตได้

3.การจัดเวทีแบบระดมจิตใจ ในส่วนของคณะทำงานและภาคีต่างๆจนเป็นที่ชื่นชอบในส่วนของผู้เข้าร่วมเวทีแบบใหม่ ที่สบายๆ

ข่าวเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค

นายกเทศมนตรีบ้านเพชรนัดหารือทางออกตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ในชุมชม หลังได้รับเรื่องร้องเรียน

นายกเทศมนตรีบ้านเพชรนัดหารือทางออกตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ในชุมชม หลังได้รับเรื่องร้องเรียน

2 มิ.ย. 62 ศูนย์ข่าวผู้บริโภคภาคอีสานรายงานว่า ทางนายกเทศมนตรีบ้านเพชร บ้านเพชรภูเขียว อ.ภูเขียว จ.ช...

Hits:3056