2nd benefit

2nd benefit

องค์กรผู้บริโภค ลุย กสทช.จัดการ ‘ซิมดับ’ อย่าลอยแพรผู้บริโภคนับล้าน

 

pic570623

       กก.องค์การอิสระฯ ภาคประชน พร้อมด้วย องค์กรผู้บริโภค ลุย กสทช. ให้จัดการปัญหา “ซิมดับ” อย่างจริงจัง ไม่ปล่อยลอยแพผู้บริโภคนับล้านที่ค้างในระบบทรูมูฟ ชี้ต้องสื่อสารให้ผู้บริโภครู้สถานการณ์ และมีมาตรการให้ผู้บริโภคที่ตกค้างมีบริการรองรับ

 

       วันนี้ (23 มิ.ย.) เมื่อเวลา 11.00 น. นางสาวชลดา บุญเกษม กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค (ภาคประชาชน) ร่วมกับ นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค และ นายพงษภัทร หงส์สุขสวัสดิ์ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคตะวันตก แถลงข่าวเรื่อง “ถ้ารอบนี้ซิมดับ ต้องไล่ กสทช. ออก” ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค


       นางสาวสารี อ๋องสมหวัง กล่าวว่า  กรณีสัญญาสัมปทานให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัททรูมูฟและบริษัทดีพีซี ที่ทำกับ CAT สิ้นสุดลงตั้งแต่เมื่อกลางเดือนกันยายน ปี 2556 ทาง กสทช.ไม่สามารถจัดประมูลได้ทันและแก้ปัญหาออกประกาศมาตรการเยียวยาฯ กำหนดให้คู่สัญญาสัมปทานยังคงให้บริการต่อเรื่องมากอีก 1 ปี เพื่อป้องกันซิมดับ โดยที่มาตรฐานดังกล่าวได้รับการวิจารณ์และคัดค้านจากนักวิชาการและองค์กรผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง”


       “สถานการณ์ใกล้ซิมดับก็กำลังจะเกิดขึ้นอีกในลักษณะเดิม แถมทางประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ยังมีการให้ข่าวด้วยว่า 16 กันยายนนี้ ซิมจะดับแน่นอน


       จากการติดตามสถานการณ์เรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง ทางองค์กรผู้โภคไม่เห็นด้วยที่ กสทช. จะปล่อยลอยแพผู้บริโภคนับล้านราย แต่มีหน้าที่จะต้องดูแลไม่ให้เกิดภาวะ ‘ซิมดับ’ ซึ่งในด้านของการเร่งแจ้งสถานการณ์ให้ผู้ใช้บริการทราบนั้นถือว่าถูกต้อง แต่จะต้องดำเนินการอย่างเต็มที่ ให้มีหลักประกันว่าข่าวสารจะไปถึงผู้ใช้บริการของทั้งสองบริษัทและได้ใช้ดุลพินิจตัดสินใจเลือก โดยอาจจะย้ายค่ายไปหาผู้ให้บริการรายอื่น แต่ในกรณีที่ผู้บริโภคไม่ต้องการดำเนินการโอนย้าย กสทช. ก็ต้องวางมาตรการรองรับด้วย” เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าว


       ด้าน นางสาวชลดา บุญเกษม กล่าวว่า จากสถานการณ์ดังกล่าว คณะกรรมการองค์การอิสระฯ ภาคประชาชน และองค์กรผู้บริโภค ขอเรียกร้องไม่ให้เกิดภาวะซิมดับและยุติการขยายเวลาให้บริการของบริษัทเอกชนพร้อมเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้

       1.  กสทช. ควรหยุดประชาสัมพันธ์ตัวเองและหันมาประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคกว่า 4 ล้านคนที่มีการใช้งานของทรูและดีพีซีได้รับรู้สถานการณ์และตัดสินใจร่วมแก้ไขปัญหา

       2.  กสทช. ควรเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคที่ใช้บริการในระบบเติมเงินล่วงหน้า (Pre-Paid) ให้ขึ้นทะเบียนการใช้บริการ

       3.  กสทช. มีมาตรการให้ผู้บริโภคในกลุ่มนี้สามารถโอนย้ายเครือข่ายได้โดยง่าย โดยให้บริษัททรูและดีพีซีไปยืมโควต้าจากบริษัทอื่น

       4.  กสทช. ควรมีมติให้บริษัททรูและบริษัท DPC โอนเลขหมายผู้ใช้บริการไปให้ CAT เป็นผู้ให้บริการต่อเนื่อง


       นางสาวบุญยืน ศิริธรรม กล่าวทิ้งท้ายว่า “กสทช. ไม่ควรมีการขยายประกาศเยียมยา เพราะมาตรการดังกล่าวอาจจะผิดต่อกฎหมาย เป็นสัมปทานจำแลงที่ขยายสิทธิให้แก่บริษัทเอกชน โดยไม่มีส่นแบ่งรายได้ให้แก่รัฐ”