แนวทางปฏิบัติ เรื่อง การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2555

Posted in กฎหมาย ฮิต: 8303

1.  ห้ามไม่ให้มีการกระทําที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ตามประกาศ กสทช. เรื่อง การกระทําที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2555

       1.1  ไม่ออกอากาศรายการหรือการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

       1.2  ไม่ออกอากาศรายการหรือการโฆษณาที่มีเนื้อหาสาระในลักษณะเป็นการจูงใจให้ผู้บริโภคเลือกใช้บริการหรือสินค้า โดยหลอกลวงหรือกระทําให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับบริการหรือสินค้านั้น หรือโดยการใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือข้อมูลอันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริง

       1.3  ไม่ออกอากาศรายการโดยมีการโฆษณาบริการหรือสินค้าเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกําหนดหรือบ่อยครั้งที่เป็นผลให้ผู้บริโภครับชมรายการอย่างไม่ต่อเนื่อง

       1.4  ไม่ออกออกอากาศรายการในลักษณะที่จัดให้มีข้อความหรือข้อมูล ซึ่งมีขนาดพื้นที่รวมกันเกินหนึ่งในแปดของขนาดพื้นที่หน้าจอโทรทัศน์

       1.5  ไม่ออกอากาศรายการหรือการโฆษณาโดยใช้วิธีการเพิ่มเสียงดัง เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค

       1.6  ไม่ออกอากาศรายการในลักษณะเชิญชวนให้ผู้บริโภคส่งข้อความหรือเน้นย้ำในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

 

2.  แนวปฏิบัติเฉพาะด้านการการออกอากาศรายการหรือการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีดังนี้

       2.1  ขออนุญาตการโฆษณา หรือตรวจสอบเอกสารใบอนุญาตการโฆษณา จากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

       2.2  อย. กําหนดให้มีเครื่องหมาย อย. ในผลิตภัณฑ์อาหารและมีเลขสารบบ 13 หลัก ซึ่งหมายความว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้รับอนุญาตให้ผลิต นําเข้า หรือจําหน่ายได้

       2.3  เครื่องหมาย อย. และเลขสารบบ 13 หลักไม่ได้บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นผ่านการรับรองให้โฆษณาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สําหรับยาไม่ได้กําหนดให้ใช้เครื่องหมาย อย.

       2.4  การโฆษณาสรรพคุณ คุณประโยชน์ต้องขออนุญาตก่อนเผยแพร่ หากมีการโฆษณาชิ้นใหม่ ต้องขออนุญาตโฆษณาใหม่ทุกครั้ง

       2.5  ต้องแสดงเลขที่อนุญาตโฆษณา ดังนี้

              -  ฆอ. .../... สําหรับการโฆษณาอาหาร

              -  ฆท. .../... สําหรับการโฆษณายา

              -  ฆพ. .../… สําหรับการโฆษณาเครื่องมือแพทย์

       2.6  ต้องแสดงเลขที่อนุญาตโฆษณาให้ชัดเจน มองเห็นได้ง่าย

       2.7  เนื้อหาที่โฆษณาต้องตรงกับที่ได้รับอนุญาตโฆษณาทุกประการ ทั้งเสียง ภาพ หรือข้อความ หากไม่ตรงถือว่าเป็นการโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาต

       2.8  ไม่สามารถโฆษณาสรรพคุณว่า สามารถป้องกัน บําบัด บรรเทา รักษาโรคได้

       2.9  ไม่ใช้คําต่อไปนี้ในการโฆษณาสรรพคุณของอาหาร ยอด ดีเลิศ เด็ดขาด อันดับหนึ่ง ศักดิ์สิทธิ์ มหัศจรรย์ ที่สุด สุดยอด เยี่ยม เยี่ยมยอด ยอดเยี่ยม ดีที่สุดเลิศที่สุด ชนะเลิศ เลิศเลอ ดีเด็ด สุดเหวี่ยง วิเศษ ฮีโร่ บริสุทธิ์ ล้ําเลิศ ชั้นเลิศ เลิศล้ํา เด็ดหนึ่งเดียว พิเศษ ยอดไปเลย เยี่ยมไปเลย ที่หนึ่งเลย โดดเด่น ปาฏิหาริย์

     2.10  ไม่แสดงข้อความว่าได้รับการรับรองคุณภาพ คุณประโยชน์ โดยบุคคลอื่น หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น แพทย์ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ สถาบันวิชาการ องค์การอนามัยโลก กระทรวงสาธารณสุข

     2.11  ไม่แสดงสรรพคุณอันเป็นเท็จ หรือเกินจริง ทําให้หลงเชื่อโดยไม่สมควร หรือทําให้เข้าใจผิดในสาระสําคัญ เช่น

     2.12  ไม่ใช้ถ้อยคําแสดงว่ารักษาโรคได้หายขาด เช่น ยอดเยี่ยม หายแน่ วิเศษยิ่ง ปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง ไม่ทําให้เกิดอาการแพ้ ทันใจ พิเศษ ดีที่สุด เด็ดขาด หายขาด หายห่วง ฉับพลัน ทันใจ ศักดิ์สิทธิ์ มหัศจรรย์ เป็นหนึ่ง ที่หนึ่ง ที่สุด แน่นอน เหนือกว่า พิชิตโรคร้าย

     2.13  ไม่แสดงสรรพคุณอันเป็นเท็จหรือเกินจริง ทําให้หลงเชื่อโดยไม่สมควร หรือทําให้เข้าใจผิดในสาระสําคัญ เช่น

     2.14  ไม่แสดงรูปภาพ สัญลักษณ์ สื่อถึงผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายการโฆษณาแอบแฝงไม่ใช้ภาพที่ไม่เหมาะสม ภาพที่ไม่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ ภาพผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่ใช่สินค้าจริงในการโฆษณาที่ทําให้เกิดความเข้าใจผิด

     2.15  ไม่มีรายการสุขภาพที่เข้าข่ายการโฆษณาแอบแฝง เช่น แสดงสินค้าในรายการแต่งกายล่อแหลมเพื่อสื่อถึงผลิตภัณฑ์เสริมสมรรถภาพทางเพศ

     2.16  หลักเกณฑ์การโฆษณายาต้องเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 หมวด 11 มาตรา 88 – 90 และระเบียบระเบียบสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาว่าด้วยหลักเกณฑ์การโฆษณาขายยา พ.ศ. 2545

     2.17  หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหารต้องเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40, 41

 

3.  การออกอากาศรายการหรือการโฆษณาที่เป็นการหลอกลวงหรือกระทําให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับบริการหรือสินค้า มีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

       3.1  ต้องไม่ทําให้ผู้บริโภคโดยทั่วไปเข้าใจผิดในข้อเท็จจริง หรือคุณสมบัติ หรือคุณลักษณะของสินค้าหรือบริการ และจากการเข้าใจผิดดังกล่าวมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค

       3.2  ต้องไม่ใช้ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือข้อมูลที่ถูกต้องแต่มีการปกปิดข้อมูลที่สําคัญหรือให้ข้อมูลที่ไม่ชัดเจน ไม่อาจเข้าใจได้ กํากวม ไม่เหมาะสม จนเป็นเหตุให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดในบริการหรือสินค้านั้น

       3.3  ต้องไม่ละเว้นการนําเสนอข้อมูลที่จําเป็นต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการหรือสินค้า ซึ่งหากผู้บริโภคทราบข้อมูลดังกล่าวแล้วย่อมตัดสินใจไม่เลือกใช้บริการหรือสินค้านั้น

 

4.  การบันทึกรายการที่ได้ให้บริการหรือแพร่ภาพกระจายเสียงไปแล้ว

       4.1  บันทึกรายการที่ได้ให้บริการหรือแพร่ภาพกระจายเสียงไปแล้วไว้ในเทปหรือวัสดุโทรทัศน์อย่างอื่น หรือด้วยวิธีการใด ๆ ที่สามารถถ่ายทอดกลับมาเป็นรายการนั้นได้ไม่น้อยกว่าสามสิบวันโดยจะต้องไม่ดําเนินการแก้ไข หรือดัดแปลงให้แตกต่างจากรายการที่ให้บริการหรือแพร่ภาพกระจายเสียง

       4.2  จัดส่งเทปหรือวัสดุตามข้อ 1 ให้ สํานักงาน กสทช. ตามที่ร้องขอ

 

Tags: กสทช.,, การเอาเปรียบผู้บริโภค, ผู้บริโภค, ประกาศห้ามเอาเปรียบผู้บริโภค

พิมพ์