2nd benefit

2nd benefit

  • หน้าแรก

ซื้อสินค้าจากเพจโอนเงินค่าสินค้าแล้วแต่ไม่ได้รับของ

shoppingonline3

ซื้อสินค้าจากร้านค้าต่างๆ ซื้อของออนไลน์ ไม่ตรงคำโฆษณาขาย (ขนาด ไซส์ รูปแบบ และคำโฆษณา) ไม่ได้รับสินค้าหรือถูกโกง และได้รับสินค้าทางไปรษณีย์ เปิดออกมากลับพบว่าสินค้าชำรุด หรือไม่สามารถใช้งานได้ ให้ทำการถ่ายรูปสินค้าที่เราได้รับไว้เป็นหลักฐาน (ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าชำรุด หรือสินค้าที่ไม่ตรงกับคำโฆษณา) จากนั้น ต้องติดต่อไปยังผู้ขาย เพื่อแจ้งให้ทราบถึงข้อบกพร่องของสินค้าและสอบถามถึงวิธีการเยียวยาความเสียหาย

ถ้าเป็นการซื้อผ่านเว็บไซต์ก็จะมีขั้นตอนและเงื่อนไขในการรับผิดชอบของเว็บไซต์
กำหนดไว้แล้ว สามารถติดต่อไปยังคอลเซ็นเตอร์ หรือหมายเลขโทรศัพท์ที่ปรากฏบนหน้าเว็บไซต์
ถ้าเป็นการซื้อผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์ ต้องติดต่อ ไปยังพ่อค้าแม่ค้า ซึ่งเป็นการช่วยเหลือตนเองในเบื้องต้นก่อน หากตกลงกับผู้ขายหรือร้านค้าไม่ได้ ให้ร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่รับแจ้งเรื่องร้องเรียน เพื่อขอคำแนะนำและความช่วยเหลือต่อไป โดยการร้องเรียนต้องรวบรวมหลักฐานดังนี้คือ
          1.ใบสั่งซื้อสินค้าหรือคำสั่งซื้อสินค้า
          2.ข้อความสนทนาการซื้อสินค้าระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย
          3.ข้อมูลร้านค้า
          4.หลักฐานการชำระเงิน
          5.ถ่ายรูปสินค้าและเก็บสินค้าไว้เป็นหลักฐาน
          6.นำหลักฐานทั้งหมดแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษที่สถานีตำรวจท้องที่  เพื่อพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมาย และตำรวจจะทำหนังสือถึงธนาคารของผู้รับโอนเงินหรือผู้ขายสินค้า เพื่อระงับการทำธุรกรรมทางการเงินของผู้รับโอนเงินหรือผู้ขายสินค้าไว้ก่อน

ขอแนะนำ ขั้นตอนการการดำเนินการแจ้งความดำเนินคดี
          1.ให้ผู้เสียหาย เตรียมเอกสารส่วนตัว และ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
          2.กรณีที่เสียหายต่อชื่อเสียง ให้เตรียมหลักฐาน ที่พบว่ามีการกระทำความผิด เช่น ปรินส์เอกสารหน้าจอ หน้าเว็บไซต์ หน้าโปรแกรมไลน์ โปรแกรมเฟสบุค หรือหน้าเพจที่พบการกระทำความผิด
          3.กรณีที่เสียหายต่อทรัพย์ ให้เตรียมหลักฐานที่พบการกระทำความผิด การหลอกลวง ปรินส์เอกสารออกมาจากระบบคอมพิวเตอร์ให้เรียบร้อย เป็นต้น
          4.ให้ไปแจ้งความ ณ สถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุ สถานีตำรวจนครบาล หรือสถานีตำรวจภูธร หรือท่านสามารถเดินทางมา ร้องทุกข์ที่่ บก.ปอท. ได้เช่นกัน พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา

หมายเหตุ** บก.ปอท. ไม่สามารถดำเนินการลบหรือปิดกั้นโพสใดๆ ได้ทันที เพราะข้อมูลอินเทอร์เน็ตอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ให้บริการสื่อนั้นๆ การดำเนินการใดจำเป็นต้องเป็นไปตามขั้นตอนทางกฏหมาย ที่ต้องมีผู้เสียหายมาร้องทุกข์กล่าวโทษด้วยตนเอง ณ สถานีตำรวจ หรือที่ บก.ปอท. แล้วเท่านั้น
                1.กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิด เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีศูนย์ราชการ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคาร B ชั้น 4
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม.10210โทรศัพท์ 02-143-8077 – 80 Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
               2.สถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุ
              3.แจ้งระงับธนาคารเจ้าของบัตรเครดิต (หากชำระแบบหักผ่านบัตรเครดิต) เพื่อให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินแก่ผู้ขาย

สมัครคอร์สเสริมความงามไปแล้ว จะยกเลิกอย่างไรดี ?

fitness

การทำสัญญาหรือซื้อคอร์สเสริมความงาม เป็นกรณีที่ยังไม่มีกฎหมายควบคุมสัญญา การยกเลิกสัญญาจึงต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ดังนี้ 
 
1)  สัญญามีข้อกำหนดให้ยกเลิกได้ในกรณีใดได้บ้าง ให้ลองตรวจสอบข้อสัญญาดูก่อน
2)  หากสัญญาไม่ให้ยกเลิกหรือแจ้งว่าคืนเงินไม่ได้ทุกรณี ไม่ต้องตกใจ กรณีการทำสัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายเกินสมควร เข้าข่ายเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม จะมีผลบังคับได้เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น
3)  มีสาเหตุในการเลิกสัญญาหรือไม่ เช่น มีอาการแพ้ผลิตภัณฑ์ของร้าน พนักงานให้บริการแล้วทำให้ได้รับบาดเจ็บ หรือร้านค้าปิดกิจการไม่สามารถให้บริการได้
4)  หากมีสาเหตุให้ดำเนินการแจ้งขอยกเลิกสัญญาเป็นหนังสือ และเก็บหลักฐานของอาการหรือสาเหตุที่เกิดขึ้นด้วย เช่น ใบรับรองแพทย์ ภาพถ่ายอาการความเสียหาย
5)  หากไม่มีสาเหตุข้างต้นจะทำอย่างไร ผู้บริโภคยังสามารถทำหนังสือบอกเลิกสัญญาได้
 
         ทั้งนี้ ร้านสามารถปฏิเสธการขอยกเลิกสัญญาได้ เนื่องจากการขอยกเลิกสัญญาโดยที่ไม่มีเหตุว่าอีกฝ่ายผิดสัญญาอย่างไร ในการบอกเลิกสัญญาจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายด้วยจึงจะสามารถยกเลิกสัญญาได้ ซึ่งในการเจรจาร้านค้าอาจหักค่าใช้จ่าย และคืนเงินส่วนที่เหลือได้
 
อ้างอิง
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386
- พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 4

 

เนื้อหาอื่นๆ...