2nd benefit

2nd benefit

  • หน้าแรก

คุณรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา ขอเชิญทุกคนมาเดิน-วิ่ง กับกิจกรรมหยุดซิ่ง...มาวิ่งกันเถอะ

คุณรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา ขอเชิญทุกคนมาเดิน-วิ่ง กับกิจกรรมหยุดซิ่ง...มาวิ่งกันเถอะ

เครือข่ายประชาชนเปิดตัวกองทุนแสงอาทิตย์เพื่อความเป็นธรรมด้านพลังงาน

611129 3
เปิดตัวกองทุนแสงอาทิตย์ เพื่อพลังงานที่เป็นธรรม หวังติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับ โรงพยาบาลภาครัฐที่เข้าร่วมโครงการเฟสแรก 7 แห่ง 

คอบช. ยื่นหนังสือ ก.พลังงาน ปฏิรูปโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ

610613 ocbe

คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงกระทรวงพลังงาน เรียกร้องให้ปฏิรูปโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมสำหรับผู้บริโภค

ผู้บริโภคเปิดสภาผู้บริโภคถกปัญหาราคาน้ำมันเเละแก๊สหุงต้ม กลั่นในไทย ทำไมขายน้ำมันเเพงกว่าส่งออกให้สิงคโปร์

610607 news4
ผู้บริโภคเปิดสภาผู้บริโภคถกปัญหาราคาน้ำมันเเละแก๊สหุงต้ม อดีตรมว.คลังชี้นโยบายการตั้งราคาขายในประเทศสูงเกิน ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน แนะ 8 ข้อเสนอแก้ปัญหาพลังงาน

ค้าน กกพ.เพิ่มค่าเอฟที 12 สต. ชี้ไม่สมเหตุสมผล คาดการณ์ราคาก๊าซสวนชาวโลก ปชช.เดือนร้อน ผู้ค้าก๊าซรอฟันกำไร 48%

Press 28APR2017 web01

เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคประชาชนแถลงข่าวคัดค้านการปรับค่าเอฟที (Ft) ของ กกพ. ที่เพิ่มขึ้น 12.52 สต./หน่วย คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 8,538 ล้านบาท สวนทางกับค่าก๊าซธรรมชาติปากหลุมที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ตั้งข้อสังเกตเหตุใด “กำไร” ผู้ขายก๊าซให้ กฟผ. มีช่วงกว้างมากคือ 17-36% ด้านตัวแทนเครือข่ายสลัมสี่ภาควอนรัฐลดความเหลื่อมล้ำ ย้ำให้เห็นใจประชาชนอย่าขึ้นค่าเอฟทีโดยไม่มีเหตุผล

วันนี้ (28 เม.ย.60) เวลา 10.30 น. ณ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน (คอบช.), มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค, เครือข่ายสลัมสี่ภาค และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคประชาชน แถลงข่าวคัดค้านการปรับค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ตามมติที่ประชุมของกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เมื่อวันที่ 19 เม.ย.60 ซึ่งจะปรับค่าเอฟทีงวดเดือน พ.ค.-ส.ค.60 เพิ่มขึ้น 12.52 สตางค์/หน่วย (จากเดิมปัจจุบันค่าเอฟทีอยู่ที่ -37.29 สต./หน่วย เป็น -24.77 สต./หน่วย) ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 8,538 ล้านบาท ซึ่งเป็นการปรับค่าเอฟทีในรอบ 2 ปี 7 เดือน โดยให้เหตุผลว่าหนึ่งในสี่ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับขึ้นค่าเอฟทีในช่วงดังกล่าว เป็นเพราะแนวโน้มราคาก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น 9.35 บาทต่อล้านบีทียู

ผศ.ประสาท มีแต้ม กรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านบริการสาธารณะ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน (คอบช.) กล่าวว่า การคาดการณ์ของกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่คาดว่าราคาก๊าซธรรมชาติจะเพิ่มขึ้นนั้น สวนทางกับความเป็นจริงจากแนวโน้มของราคาก๊าซธรรมชาติที่ปากหลุมที่มีแนวโน้มลดลงตลอด 18 เดือนที่ผ่านมา โดยอ้างว่า “ตามรอบการปรับราคาสัญญา” จากทั้งอ่าวไทยและพม่า ทั้งที่ราคาก๊าซฯ ทั่วโลกมีแนวโน้มลดลง (รวมทั้งราคาก๊าซจากพม่าด้วย)

โดยถึงแม้ว่าหากราคาก๊าซฯ เพิ่มขึ้นจริงตามที่ กกพ. คาดการณ์ โดยมีค่าปัจจัยค่าเชื้อเพลิงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) เพิ่มขึ้นไม่เกิน 4.08 สต./หน่วย ปัจจัยค่าซื้อไฟฟ้าจากเอกชนของ กฟผ. ค่าความพร้อมจ่ายลดลง 0.16 สต./หน่วย ค่าพลังงานไฟฟ้าของเอกชน ควรจะใกล้เคียงกับค่าซื้อเชื้อเพลิงของ กฟผ. และค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐบาล เพิ่มขึ้น 0.64 สต./หน่วย ซึ่งรวมกันแล้ว ค่าเอฟทีเพิ่มขึ้น ไม่เกิน 5 สต./หน่วย ยังไงก็ไม่เกิน 12.52 สต./หน่วย

นอกจากแนวโน้มราคาก๊าซธรรมชาติทั่วโลกที่มีแนวโน้มลดลงแล้ว หากพูดถึงความสมเหตุสมผลของราคาก๊าซธรรมชาติที่ปากหลุม และราคาที่ กฟผ.รับซื้อที่โรงไฟฟ้า สถิติตั้งแต่เดือน พ.ค.58 – ก.พ.60 “กำไร” ของผู้ขายก๊าซให้ กฟผ. มีช่วงกว้างมากถึง 17-36% ซึ่งเป็นที่น่าแปลกใจว่า ทำไมกำไรถึงแกว่งได้มากขนาดนี้ ซึ่งในเดือน ก.พ.60 (ราคาก๊าซธรรมชาติที่ปากหลุมอยู่ที่ 169 บาท/ล้านบีทียู, ราคาที่ กฟผ.รับซื้อที่โรงไฟฟ้า 231 บาท/ล้านบีทียู) กำไรของผู้ขายก๊าซให้ กฟผ. อยู่ที่ 36% และหากสมมติว่าในเดือน พฤษภาคม 60 ราคาก๊าซธรรมชาติที่ปากหลุม (ซึ่งมีแนวโน้มลดลง) ยังคงอยู่ที่ 169 บาท/ล้านบีทียู เหมือนกับเดือน ก.พ.60 และรับซื้อในราคา 250 บาท/ล้านบีทียู (ตามการคาดการณ์ของ กกพ.) ผู้ขายจะได้กำไรเท่ากับ 48% ซึ่งไม่ใช่เรื่องปกติแต่ละ 1% มีมูลค่าในหลักแสนล้านบาท ซึ่งการควบคุมกิจการท่อก๊าซเป็นหน้าที่โดยตรงของ กกพ. ซึ่งไม่เคยสงสัยเลยหรือว่าทำไมอัตรากำไรถึงได้แกว่งมากถึงขนาดนี้

"โดยสรุปท่ามกลางราคาก๊าซธรรมชาติปากหลุมที่ลดลงอย่างต่อเนื่องใน 18 เดือนทีผ่านมา ถ้าสมมติว่าราคาก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นจริงตามที่ กกพ.คาด ค่าเอฟทีที่เพิ่มขึ้นก็ไม่เกิน 5 สตางค์/หน่วย แต่ทำไม กกพ.ถึงคาดการณ์สูง และสูงกว่าที่ กฟผ.คาดการณ์ไว้ด้วยซ้ำ"

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวเสริมว่า เห็นชัดเจนว่าถ้ายึดตัวเลขตาม กกพ.คาดการณ์ไว้ก็ขึ้นไม่ถึง 12 สตางค์/หน่วย "ถือว่าการคาดการณ์อาจผิดพลาด จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรเลย”

ด้านนายจำนงค์ หนูพันธ์ ที่ปรึกษาเครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวว่า จากการที่จะประกาศขึ้นค่าเอฟที ทำให้คนจนทั่วประเทศรู้สึกวิตก ขณะนี้บางชุมชนจ่ายค่าไฟหน่วยละ 8 บาท บางชุมชนหน่วยละ 10 บาท ในขณะที่รายได้เท่าเดิมหรือน้อยลง แต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของรัฐบาล แต่เป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนให้มีมากขึ้น แต่การจะขึ้นค่า เอฟทีมาจากการคาดการณ์โดยไม่มีเหตุผล

ด้านนางสาวนุชนารถ แท่นทอง ประธานเครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวว่า ที่ผ่านมาคนในชุมชนแออัดจะใช้ไฟพ่วงกัน มีทั้งบ้านเช่า เวลาได้รับการลดหย่อน ก็ไม่เคยได้รับการยกเว้น เพราะการพ่วงไฟมาใช้ร่วมกันค่าไฟตก 8-12 บาท บางบ้านใช้ค่าไฟเดือนละ 2,000 กว่าบาท การให้เงินลงทะเบียนคนจน 1,500 – 3,000 บาท แต่การขึ้นค่าไฟ เราถือว่าเป็นการทำร้ายพวกเรา ทั้งทางตรงและทางอ้อม การขึ้นค่าไฟฟ้าในครั้งนี้ ถือว่าไม่เป็นธรรมสำหรับพวกเรา และคนทุกกลุ่มในสังคม เพราะประชาชนควรได้ใช้ไฟฟ้าในราคาที่รัฐสนับสนุน

นางสาวสารี กล่าวเสริมว่า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนปัญหาการเก็บค่าไฟบ้านเช่า-หอพักราคาแพง จำนวนไม่น้อย เนื่องจากไม่ได้เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรง จึงได้รับผลกระทบจากการปรับค่าเอฟทีอยู่แล้ว

ทางด้านนางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า แหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยทั้งหมดอยู่ในระบบสัมปทาน แต่มีราคาก๊าซธรรมชาติที่ปากหลุมสูงกว่าราคาตลาดโลก ใกล้เคียงกับ LNG ที่นำเข้า ทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในประเทศแต่ละแหล่งสูงกว่าราคาตลาดโลกทั้งนั้น ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นก๊าซในอ่าวไทยราคาที่ผ่านระบบสัมปทานเท่ากับราคา LNG ของต่างประเทศ และสูงกว่าราคาก๊าซธรรมชาติในต่างประเทศเกิน 100% ค่าก๊าซธรรมชาติที่ กกพ. คาดการณ์ถึง 250 บาทต่อล้านบีทียูนั้น เราไม่รู้หรอกว่ารวมค่าผ่านท่อแล้วมีมูลค่าเท่าไหร่ กกพ.ควรมีหรือไม่ เพราะมีหน้าที่กำกับดูแลราคาให้ความเป็นธรรมกับผู้บริโภค

นางสาวบุญยืน ศิริธรรม นายกสมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า กกพ.มีหน้าที่กำกับกิจการไฟฟ้าให้เกิดความเป็นธรรม ต้องกำกับการลงทุนให้สมเหตุสมผล ตอนนี้มีการผลิตไฟฟ้าเกินจำเป็นซึ่งเป็นภาระแก่ประชาชน กกพ.ก็ควรออกมาทำหน้าที่บอกคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่ม กกพ.มีหน้าที่กำกับกิจการไฟฟ้าโดยตรง แล้วเราจะมี กกพ.ไปทำไม ใครอยากจะขึ้นอะไรก็ขึ้น ใครอยากจะโยนภาระให้ประชาชนก็โยน มีหรือไม่มี กกพ. ภาวะก็ไม่ต่างไปจากนี้

นางสาวสารี กล่าวปิดท้ายว่า อยากเห็น กกพ. ใช้ข้อมูลที่นำเสนอในวันนี้ ไปเป็นเหตุผลในการทบทวน การขึ้นค่าเอฟที 12 สตางค์ เพราะเป็นการคาดการณ์ที่ไม่มีเหตุผล "อยากให้ กกพ.ออกมารับผิดชอบ โดยจะทำจดหมายเป็นทางการขอให้ทบทวนและยุติการขึ้นปรับค่าเอฟที 12 สตางค์ เพราะเงิน 12 สตางค์ต่อหน่วย โดยรวมคิดเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท เป็นการเอาเงินจากคนจนไปสนับสนุนภาคเอกชนขนาดใหญ่ ซึ่งไม่เป็นธรรม รัฐบาลควรจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำของประชาชน”

ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการแถลงข่าว คลิกที่นี่

 

คอบช. เสนอ 'BEM' เลิกเก็บค่าเปลี่ยนบัตรโดยสาร เหตุผู้บริโภคเสียหายนับร้อยล้านบาท

590527 actionnews1
คอบช. เสนอ 'BEM' เลิกเก็บค่าเปลี่ยนบัตรโดยสาร เหตุผู้บริโภคเสียหายนับร้อยล้านบาท พร้อมร้อง รฟม.ตรวจสอบการเก็บค่าบริการไม่จำเป็น แนะ สคบ. จัดการ ถ้าไม่ทำตามโฆษณา

เนื้อหาอื่นๆ...

  • 1
  • 2