2nd benefit

2nd benefit

  • หน้าแรก

องค์กรผู้บริโภคเรียกร้อง อย. ออกมาตรการการกำกับดูแลผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มที่ใช้ส่วนของกัญชาในอาหาร หวั่นเกิดผลกระทบผู้บริโภคบางรายแพ้สารกัญชา

ppic

ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขปลดล็อคส่วนของพืชกัญชา - กัญชง ประกอบด้วย เปลือก ลำต้นเส้นใย กิ่งก้าน รากและใบ ไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วยให้พ้นจากการเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 แต่ยังไม่มีการแก้ไขประกาศที่เกี่ยวข้องกับการใช้ในอาหารเพราะมีเสียงแย้งจากนักวิชาการเรื่องข้อมูลความปลอดภัยในการบริโภคเป็นอาหารยังมีไม่มากพอนั้น

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค มีข้อห่วงใยกับการนำส่วนต่างๆของพืชกัญชาที่ไม่ใช่ยาเสพติดให้โทษไปใช้ในอาหารโดยขาดการกำหนดมาตรการในการควบคุมดูแลการใช้ที่รัดกุมเพียงพอของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จนอาจเกิดปัญหาทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด หลงเชื่อบริโภค และอาจเกิดปัญหาด้านความปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชนได้ โดยประเมินได้จากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดำเนินการต่างๆ ได้แก่

  1. ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ พ.ศ. ๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๓ โดยในรายละเอียดของประกาศนี้ ที่กำหนดให้พืชกัญชาส่วนที่ไม่เป็นยาเสพติด ในประกาศข้อ 2 (1) “กัญชา (cannabis) พืชในสกุล Cannabis และวัตถุหรือสารต่างๆ ที่มีในพืชกัญ เช่น ยาง น้ำมัน ยกเว้นวัตถุหรือสารดังต่อไปนี้ เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศ ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ (ก) เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน และราก (ข) ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย (ค) สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล (cannabidiol, CBD) เป็นส่วนประกอบและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก (ง) กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชาและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก”
  2. ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๔๒๔) พ.ศ. ๒๕๖๔ ออกตามความในพระราชราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. ๒๕๒๒ เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ลงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ จะส่งผลให้ส่วนของกัญชาที่ไม่ใช่ยาเสพติดสามารนำมาผลิตอาหารได้
  3. จากการออกประกาศดังกล่าวทั้ง 2 ฉบับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยังไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการอนุญาตเรื่องการใช้ส่วนของกัญชาที่ไม่ใช่ยาเสพติดให้โทษมาผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ และบทลงโทษกรณีผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตาม อีกทั้งยังไม่มีมาตรการการคุ้มครองผู้บริโภคโดยเฉพาะในด้านความปลอดภัย ซึ่งจำเป็นต้องมีการให้ข้อมูลที่ชัดเจนเพียงพอ ได้แก่ การแจ้งว่ามีส่วนประกอบของกัญชาในอาหาร การให้ข้อมูลผู้บริโภคได้รับทราบถึงผลข้างเคียงและความเสี่ยง ตลอดจนคำเตือนสำหรับกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงในการบริโภค และการกำหนดอายุผู้บริโภคที่จะบริโภคได้

ดังนั้น เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีคำสั่งให้ สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค ให้ดำเนินการออกมาตรการการกำกับดูแลผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มที่ใช้ส่วนของกัญชาในอาหาร เพื่อเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค ดังนี้

๑. ผู้ประกอบการต้องลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ว่าจะขายอาหารและเครื่องดื่มที่ใช้ส่วนของกัญชา และต้องเปิดเผยแหล่งที่มาของวัตถุดิบกัญชา

๒. ณ จุดขาย ต้องมีป้ายข้อความชัดเจนเพื่อแสดงว่า “ร้านนี้ขายอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมกัญชา” พร้อมแสดงข้อมูลที่สำคัญ ดังนี้

     ๒.๑ แสดงรายการอาหาร และเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของกัญชา

     ๒.๒ แสดงส่วนผสม และปริมาณที่ใช้ในการผลิตอาหาร

     ๒.๓ แสดงข้อความ “คำเตือน” เด็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ผู้สูงอายุ ผู้ที่แพ้กัญชา ไม่ควรรับประทาน

     ๒.๔ แสดงข้อความ “คำเตือน” สำหรับผู้มีโรคประจำตัวต้องระวัง และข้อระวังอื่น ทางวิชาการ

๓. ณ จุดขาย ห้ามโฆษณาสรรพคุณในการป้องกัน หรือรักษาโรค

๔. กำหนดอายุผู้ที่มีสิทธิซื้อผู้รับประทานให้ชัดเจน

๕. กำหนดบทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม

๖. ให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เรื่องมาตรการการกำกับดูแลร้านอาหารและเครื่องดื่มที่ใช้ส่วนของกัญชา ต่อสาธารณะ

คอบช. ค้าน อย.ออกประกาศฉลากจีเอ็มโอให้แจ้งส่วนประกอบตั้งแต่ 5% ขึ้นไปเท่านั้น ปล่อยผีสารประกอบที่ทำจากพืชสัตว์ดัดแปรพันธุกรรมไม่ต้องติดฉลาก ปิดบังข้อมูลผู้บริโภค

 

630331gmo2
คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ไม่เห็นด้วยที่ อย.จะออกประกาศฉลากอาหารดัดแปรพันธุกรรม หรือ จีเอ็มโอ ให้แจ้งเฉพาะที่มีส่วนประกอบเกิน 5% เท่านั้น ชี้ละเมิดสิทธิผู้บริโภคที่จะได้รับข้อมูลการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อย. และสถาบันโภชนาการ จับมือสุ่มตรวจไขมันทรานส์ในอาหารกลุ่มเสี่ยง พบปริมาณลดลง หลังประกาศใช้กฎหมายควบคุม

IMG 0349
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับ อย. และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยผลตรวจสอบการสุ่มตัวอย่างในผลิตภัณฑ์อาหารกลุ่มเสี่ยง พบว่า มีปริมาณไขมันทรานส์ลดลง หลังบังคับใช้กฎหมายห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เมื่อ 9 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา

‘ฉลาดซื้อ’ พบ “ไซบูทรามีน – ฟลูออกซิทีน”ยาอันตรายใน 6 อาหารเสริม จากห้างออนไลน์ชื่อดัง 4 แห่ง LAZADA, C mart, 11 street และ Shopee เรียกร้องให้รับผิดชอบต่อสังคม

610611 news1

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สุ่มทดสอบซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำนวน 16 ตัวอย่าง ผ่านช่องทางห้างออนไลน์ชื่อดัง 8 แห่ง ได้แก่ LAZADA,C mart, 11 street, Shopee, Shop at 24, We mall, Watsons, และ Konvy ในเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคมที่ผ่านมา จากการทดสอบผลิตภัณฑ์อาหารเสริม พบยา “ไซบูทรามีน” และ “ฟลูออกซิทีน” ในอาหารเสริมลดน้ำหนัก 6 ตัวอย่าง

ภาคประชาชน ร้องนายกฯ ยกเลิก 'พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส'

610605 news
เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง ร้องนายกฯ พิจารณายกเลิกพาราควอตและคลอร์ไพริฟอส ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์หาวิธีการทดแทน และเสนอให้กระทรวงการคลังศึกษาและจัดเก็บภาษีจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายร้ายแรง หากพบว่ามีผลกระทบต่อต้นทุนของเกษตรกร ด้าน คอบช.สำรวจความเห็นประชาชนร้อยละ 91.5 หนุนเลิกใช้

องค์กรผู้บริโภคจับมือภาคธุรกิจยุติการใช้สารพาราควอต ส่งสัญญาณ เราหยุดแล้ว ใยท่านจึงไม่หยุด

610520 news
วันนี้ (20 พ.ค. 61)คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) ร่วมกับเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (SVN Thailand) และ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) จัดประชุม "ความร่วมมือองค์กรผู้บริโภค-ภาคธุรกิจ ยุติการใช้สารพาราควอต" เห็นร่วมกันต้องยุติการใช้สารกำจัดวัชพืชในกระบวนการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งพาราควอต เพื่อความปลอดภัยของทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค พร้อมเสนอนายก-กรรมการวัตถุอันตรายประกาศยกเลิกการใช้สารพาราควอต

เนื้อหาอื่นๆ...