2nd benefit

2nd benefit

ชุ่ย!!! กรมทรัพย์สินทางปัญญาปล่อยคำขอสิทธิบัตรใช้กัญชารักษาโรคลมบ้าหมูประกาศโฆษณา ทั้งที่ผิดมาตรา 9 และเป็นความรู้แพทยแผนไทยโบราณ

610607 news2มที่มีรายงานการตรวจสอบข้อมูลสิทธิบัตรยา พบว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศโฆษณาคำขอที่ 1101003758 ชื่อการประดิษฐ์ การใช้ไฟโตแคนนาบินอยด์หรือสารผสมของสารดังกล่าวในการรักษาโรคลมบ้าหมู

ที่มีการยื่นคำขอเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2553 โดยผู้ยื่นคำขอคือ โอกะ ฟาร์มาคิวติคอล คอมปะนี ลิมิเต็ด และ จีดับเบิลยู ฟาร์มา ลิมิเต็ด ผู้ประดิษฐ์ คือ วาสลีย์ เบน, สตีเฟนส์ แกรี, วิลเลียมส์ แคลร์, กาย จีออฟเฟรย์, ไวร์ท สตีเฟ่น, คิคูชิ เคทซูโร

610607 news1-Usaดร.อุษาวดี สุตะภักดิ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ นักวิจัยด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการเข้าถึงยา ให้ความเห็นว่า แม้คำขอนี้ยังไม่ได้สิทธิบัตร แต่เป็นคำขอที่ขัดต่อ พ.ร.บ.สิทธิบัตร ไม่สมควรผ่านขั้นตอนจนมาถึงการประกาศโฆษณาได้ ทำให้ขัดขวางนักวิจัยอื่นในการใช้และพัฒนาต่อยอดสารประกอบกัญชาในการรักษาโรค

"คำขอสิทธิบัตรการใช้กัญชาในการรักษาโรคนี้ ขัดมาตรา 9(1) จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากพืชหรือสัตว์ เนื่องจาก cannabinoid หรือโดยเฉพาะ cannabinoid ชนิด THCV เป็นสารสกัดจากกัญชา และยังขัดต่อมาตรา 9(4) วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือการรักษาโรคมนุษย์หรือสัตว์

การที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ปล่อยให้คำขอดังกล่าวผ่านขั้นตอนการประกาศโฆษณาจึงถือเป็นความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ ทั้งที่สามารถสกัดหรือไม่รับคำขอได้ตั้งแต่แรก เนื่องจากก่อนการประกาศโฆษณานั้น ผู้ตรวจสอบต้องพิจารณาว่าขัดมาตรา 9 หรือไม่"

นักวิจัยด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการเข้าถึงยา ชี้ว่า คำขอนี้ ประกาศโฆษณาในวันที่ 30 มิถุนายน 2559 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังการใช้คู่มือการตรวจสอบสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ทางยา ซึ่งในคู่มือดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดเจนว่าคำขอที่เป็นลักษณะการใช้..เพื่อการรักษาโรค นั้นขัดต่อมาตรา 9(4) เป็นคำขอที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง

"การปล่อยให้มีคำขอลักษณะนี้ผ่านขั้นตอนต่างๆ แสดงให้เห็นว่า กรมทรัพย์ไม่มีการใช้คู่มือที่พัฒนาขึ้นอย่างจริงจัง ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจต่อการทำงานของกรมทรัพย์สินทางปัญญาในการสร้างความสมดุลย์ระหว่างการคุ้มครองผู้ทรงสิทธิและการคุ้มครองผู้บริโภค"

ทั้งนี้ยังพบว่าในตำราแพทย์ไทยทั้งในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ซึ่งเป็นตำราแพทย์ฉบับหลวง ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 รวมถึงคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ ของขุนโสภิตบรรณลักษณ์ ก็ระบุว่ามีการใช้กัญชาเป็นเครื่องประกอบในยารักษาโรคลมต่างๆ รวมถึง ลมชัก ลมบ้าหมู อยู่แล้ว จึงกล่าวได้ว่าการใช้สารสกัดจากกัญชาในการรักษาลมชัก ลมบ้าหมู เป็นองค์ความรู้ดั้งเดิมแต่โบราณ ไม่มีความใหม่ในประเทศไทย

ทางด้านนางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล รองประธานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)
กล่าวว่า เท่าที่ทราบมา ยังมีคำขอสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับการใช้กัญชาที่กรมทรัพย์สินทางปัญฯาได้ประกาศโฆษณาแล้วอีก 3 คำขอเกี่ยวกับการใช้รักษาโรคลมชัก ใช้รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก และ มะเร็งเต้านม

"ทุกคำขอดังกล่าวยื่นผ่านระบบ pct ที่ผ่านมาทีมวิชาการที่ทำงานเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและเข้าถึงยาเตือนมาตลอดว่า เป็นคำขอที่ต้องตรวจอย่างละเอียด แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ทำใหสามารถอนุมานได้ว่า ทุกคำขอที่ยื่นผ่านระบบดังกล่าวนั้น กรมทรัพย์สินฯอาจไม่พิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากเห็นว่ามีการขอรับสิทธิบัตรในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วด้วย การขาดการพิจารณาอย่างรอบคอบย่อมกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการวิจัยและพัฒนายาภายในประเทศ รวมถึงปัญหาด้านสาธารณสุข

ดังนั้น ขอให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาเปิดเผยรายงานการสืบค้นข้อมูลประกอบการประกาศโฆษณา (publication of search report) เพื่อให้สาธารณะได้ร่วมตรวจสอบได้ และการแก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตรขณะนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญาต้องเขียนมาตรา 9 ให้ชัดเจนมากขึ้น และจัดการปฏิเสธคำขอลักษณะนี้ก่อนประกาศโฆษณา"