2nd benefit

2nd benefit

ถอดบทเรียนการทำงานด้านสุขภาพ "การใช้สิทธิบัตรทอง" ถูกร้องเรียนอันดับหนึ่ง

press 111159 005

ผลการทำงานรับเรื่องร้องเรียน ด้านบริการสุขภาพ ขององค์การอิสระผู้บริโภค พบประชาชนร้องเรียนการใช้สิทธิบัตรทองอันดับหนึ่ง  สามปัญหาหลักที่พบประชาชนไม่รู้สิทธิของตัวเอง ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลและมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุข  คณะทำงานร่วมหาทางออกปัญหาบริการสุขภาพ  

วันนี้ (11 พ.ย.59) ในเวทีถอดบทเรียนการทำงานรับเรื่องร้องเรียนด้านบริการสุขภาพของคณะอนุกรรมการด้านบริการสุขภาพ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) 

press 111159 002นางสาวสุรีรัตน์  ตรีมรรคา ประธานอนุกรรมการด้านบริการสุขภาพ คอบช. กล่าวถึงประเด็นสุขภาพที่ทำงานคือ 1.ลดความเหลือมล้ำสร้างความเป็นธรรมและสุขภาพมาตรฐานเดียว  2.การใช้สิทธิฉุกเฉิน สามารถใช้บริการได้ทุกกรณี โดยมีกำหนดวงเงินการรักษาในระบบหลักประกันสุขภาพ และให้แต่ละโรงพยาบาลทำบัญชีราคายาแสดงไว้ในเว็บไซต์ และการติดราคาที่กล่องยา โดยทำการศึกษาวิจัยและรับเรื่องร้องเรียนด้านบริการสุขภาพทั่วประเทศ  

“การจัดงานครั้งนี้จะนำข้อมูลการรับเรื่องร้องเรียนด้านบริการสุขภาพจากทั่วประเทศมาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาหาทางแก้ไขปัญหาในเชิงระบบและนำเสนอนโยบายต่อภาครัฐด้านบริการสุขภาพ ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาเรื่องการให้บริการ รถบริการพยาบาลฉุกเฉิน คาดว่าจะมีประโยชน์ในการประยุกต์ใช้กับสายด่วน 1669 และการดำเนินงานระบบส่งต่อผู้ป่วยในอนาคต” นางสาวสุรีรัตน์กล่าว

สถิติการรับเรื่องร้องเรียนด้านสุขภาพทั่วประเทศของคณะอนุกรรมการด้านบริการสุขภาพฯ ประกอบด้วยศูนย์รับเรื่องร้องเรียนจากภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคอีสาน กทม. ภาคกลาง ภาคใต้ และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ตั้งแต่ ม.ค.57 – 7 พ.ย.59 พบว่าสิทธิการใช้บัตรทอง ประชาชนร้องเรียนเป็นอันดับหนึ่ง จำนวน 653 กรณี อันดับสองสิทธิด้านประกันสุขภาพ 164 กรณี และอันดับสามสิทธิประกันสังคมจำนวน 131 กรณี ซึ่งทั้ง 3 อันดับปัญหาที่พบร่วมกันคือประชาชนไม่รู้สิทธิของตัวเอง รองลงมาได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลและมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุข

press 111159 004

press 111159 003

 

นางสาวชนัญชิดา ตัณฑะผลิน เลขานุการอนุกรรมการด้านบริการสุขภาพฯ ยกตัวอย่างกรณีการรับบริการด้วยสิทธิประกันสังคม แล้วพบปัญหาด้านมาตรฐานการรักษาพยาบาลว่า มีผู้ร้องเรียนเข้ามากรณีภรรยามีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงวันที่ 17 พฤษภาคม 2554 และปวดติดต่อหลายวัน จึงเข้าตรวจรักษา ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง แพทย์ได้ตรวจโดยใช้มือกดคลำที่บริเวณท้อง และสันนิษฐานว่าเป็นเนื้องอกขนาดใหญ่ และให้เอ็กซเรย์ปอดพร้อมเจาะเลือดเพื่อสังเกตอาการ หลังการตรวจพบภาวะเลือดจาง  แพทย์จึงให้ภรรยาผู้ร้องเรียน นอนพักที่โรงพยาบาลเพื่อผ่าตัดในคืนวันนั้น โดยไม่ได้อัลตราซาวด์ หลังการผ่าตัดแพทย์ผู้ทำการตรวจและรักษาได้แจ้งกับผู้ร้องว่าพบเด็กทารกในท้องของภรรยาผู้ร้องเรียน จึงเย็บแผลให้กลับคืนดังเดิม

หลังจากนั้นภรรยาผู้ร้องได้ไปฝากครรภ์ กับโรงพยาบาลอีกแห่ง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2554 ภรรยามีเลือดออกจากช่องคลอด จึงกลับเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งแรกแพทย์ได้ส่งตัวเข้าห้องฉุกเฉินทันที โดยแจ้งต่อผู้ร้องว่า ภรรยาตกเลือดและเสียเลือดมาก ขอให้เลือกระหว่างชีวิตภรรยาและลูก ซึ่งผู้ร้องเรียนเลือกรักษาชีวิตของภรรยา แต่สุดท้ายเมื่อแพทย์ผ่าตัดนำทารกออกจากครรภ์ ส่งผลให้เกิดภาวะเลือดไหลไม่หยุดจากแผลผ่าตัด ทำให้ภรรยาของผู้ร้องถึงแก่ความตาย

 “เรื่องนี้ผู้ร้องเรียนยื่นเรื่องร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค หลังการเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้จึงนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม โดยยื่นฟ้องแพทย์ผู้รักษาและโรงพยาบาล ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะมีหลักฐานไม่เพียงพอ จึงยื่นเรื่องต่อศาลอุทธรณ์ซึ่งศาลตัดสินให้ทั้งแพทย์และโรงพยาบาลผิดจริงให้รับผิดต่อผู้ร้อง ซึ่งคดีนี้ยังไม่สิ้นสุดยังดำเนินการต่อไป เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นชัดในเรื่องมาตรฐานการให้บริการ” เลขานุการอนุกรรมการด้านบริการสุขภาพฯ กล่าว

อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ดังกล่าวทางคณะทำงานได้ถอดบทเรียนการทำงานศูนย์รับเรื่องร้องเรียนแต่ละศูนย์ถึงผลสำเร็จ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานเพื่อส่งเสริมการใช้สิทธิต่อไป

press 111159 001

press 111159 006