2nd benefit

2nd benefit

‘อาจารย์แพทย์ มศว.’ ค้านหลักสูตรศัลยกรรมความงามระยะสั้น ชี้แพทยสภาควรทำหน้าที่แค่กำกับติดตามมาตรฐานและจรรยาบรรณ

SuteerRatnamonkkolkul-by-wasi

จากข้อเรียกร้องของแพทย์ 840 คน ที่ร่วมลงชื่อสนับสนุนให้แพทยสภาจัดอบรมด้านการศัลยกรรมเสริมความงามระยะสั้น เพื่อควบคุมมาตรฐานของแพทย์ที่ให้บริการ เหตุไม่มีกฎหมายห้ามแพทย์ทำศัลยกรรมเสริมความงาม เว้นศัลยกรรมซับซ้อนอย่างแปลงการเพศ เป็นต้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 58 นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่าการเรียกร้องของแพทย์ 840 คนนั้นสามารถทำได้ แต่ขณะนี้แพทยสภายังไม่ได้ตัดสินใจเปิดอบรมหลักสูตรศัลยกรรมเสริมความงามระยะสั้นตามข้อเรียกร้อง แต่การยื่นข้อเรียกร้องของแพทยสภาสามารถทำได้ตามระเบียบของแพทยสภาที่ให้สมาชิกแพทยสภาจำนวน 50 คนขึ้นไป สามารถรวมตัวเรียกร้องเกี่ยวกับระเบียบต่างๆ ได้ โดยขั้นตอนต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภาพิจารณาก่อน แต่ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ ยิ่งมีการคัดค้านเช่นนี้คงเป็นเรื่องยาก

ด้าน นพ.สุธีร์ รัตนะมงคลกุล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของแพทยสภาว่า แพทยสภาควรมีหน้าที่ในการกำกับติดตามมาตรฐานและจรรยาบรรณ เพราะประเทศไทยมีราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ทำหน้าที่อยู่แล้ว ควรให้ราชวิทยาลัยเป็นผู้จัดหลักสูตรอบรมให้เหมาะสม และยิ่งมีการอ้างว่าการอบรมระยะสั้นนี้จะได้ตอบสนองต่อการเป็นสมาชิกอาเซี่ยนแล้วยิ่งน่าเป็นห่วง ด้วยเรื่องของมาตรฐานและคุณภาพที่ไม่ได้ขั้น จึงเกิดความกังวลใจว่าการอบรมนี้จะส่งเสริมให้เกิดการใช้วุฒิบัตรที่ได้จากการอบรมระยะสั้นเป็นเครื่องมือหารายได้ที่รวดเร็วพร้อมกับป้องกันการฟ้องร้อง ร้องเรียนของแพทย์จำนวนหนึ่งที่ไม่ต้องฝึกฝนอย่างยาวนานเพื่อเป็นศัลยแพทย์ตกแต่ง

“ปัญหาสาธารณสุขตอนนี้คือโรงพยาบาลไม่เปิดห้องผ่าตัดระดับอำเภอ เหตุเพราะมีการผ่าตัดแล้วคนไข้เสียชีวิต ทำให้แพทย์ไม่กล้าที่จะผ่าตัด ส่งผลให้คนเป็นไส้ติ่งแตกเป็นจำนวนมากและการคลอดที่ยากส่งผลให้ทารกแรกคลอดสำลักน้ำคร่ำเกิดภาวะสมองขาดออกซิเจนจำนวนมากเช่นกัน เพราะไม่ได้รับการผ่าตัดหรือผ่าตัดช้า ควรไปพัฒนาการผ่าตัดระดับอำเภอซึ่งเป็นเรื่องความเป็นความตาย เพราะเรื่องความสวยความงามนั้นคนต้องการเรื่อยๆ กระตุ้นให้คนไข้อยากรักษาไปเรื่อยๆไม่มีที่สุดสิ้นสุด มันควรจะไปดูแลเรื่องของความเป็นจำเป็นจริงๆ ไม่ใช่ความต้องการของคนไข้” นพ.สุธีร์ กล่าว

นพ.สุธีร์ กล่าวถึงการศึกษาวิชาชีพแพทย์นั้นต้องใช้เวลาถึง 6 ปี ศัลยกรรมแพทย์ทั่วไปอีก 3 ปี และ ศัลยกรรมแพทย์ตกแต่งอีก 3 ปี เพื่อทำให้ผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ไม่ใช่แค่การผ่าตัด แต่ต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของแผล การหายของแผลด้วย ส่วนเรื่องการอยู่ในกรอบแพทยสภาต้องเป็นคนไปตรวสอบไม่เกี่ยวกับตัวหลักสูตร หากจะควบคุมได้ก็ต้องอบรมให้ถูกต้องและมีการตรวจสอบตัดสินให้ชัดเจนเพื่อป้องกันไม่เป็นที่ข้อครหาของประชาชนได้ ควรมีการตรวจสอบคลินิกน่าจะดีกว่า

 

ขอบคุณภาพจาก: เครือข่ายพัฒนาศักยภาพผู้นำการสร้างสุขภาวะ (คศน)

 

ข่าวบทความเนื้อหาใกล้เคียงกัน

|

 

Tags: แพทยสภา