2nd benefit

2nd benefit

  • หน้าแรก
  • ด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ผู้บริโภคชี้ อย. ต้องออกประกาศให้แสดงฉลาก GMOs ที่ชัดเจนเห็นได้ง่าย ควบคู่กับการแสดงข้อมูลส่วนประกอบของ GMOs

news pic 21.08.2019 2
วันที่ 20 สิงหาคม 2562 คณะอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช. ) ด้านอาหาร ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ และ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคตะวันตก ร่วมกับ นายพงษภัทร หงส์สุขสวัสดิ์ นักวิจัยอิสระ ได้ศึกษาและวิจัยเพื่อสำรวจความเข้าใจและความคิดเห็นของผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างต่อการแสดงฉลากอาหาร GMOs จำนวน 315 คน รวมทั้งสำรวจสถานการณ์การแสดงข้อมูลบนฉลาก GMOs ของผลิตภัณฑ์อาหารตามห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อในพื้นที่ภาคตะวันตก 8 จังหวัด จำนวน 35 แห่ง

นายพงษภัทร หงส์สุขสวัสดิ์ กล่าวว่า ด้านการรับรู้และความเข้าใจของผู้บริโภคร้อยละ 74.29 ยังไม่ทราบและไม่แน่ใจว่าจะต้องมีการแสดงข้อมูลฉลาก GMOs ในผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากข้าวโพดและถั่วเหลืองที่มี GMOs ส่วนด้านความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อการแสดงข้อมูลฉลาก GMOs โดยรวมอยู่ในระดับน้อย เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 60.85 เห็นว่า เนื้อหาของการแสดงข้อมูลฉลาก GMOsไม่ชัดเจน และยังมีการติดสัญลักษณ์ GMOs ที่ทำให้มองเห็นได้ยาก รวมถึงฉลากไม่มีความน่าสนใจ

ด้านผลสำรวจสถานการณ์การแสดงข้อมูลฉลาก GMOs ของผลิตภัณฑ์อาหาร พบว่า มีการแสดงข้อมูลฉลาก GMOs อย่างถูกต้องตามประกาศของ อย. เพียง จำนวน 5 ตัวอย่าง 1 ยี่ห้อ คือ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มธัญญาหารสำเร็จรูป ยี่ห้อ Nesvita และมีผลิตภัณฑ์ที่มีการแสดงข้อมูลฉลากผิดกฎหมายว่า NON - GMO จำนวน 40 ตัวอย่าง 19 ยี่ห้อ โดยลักษณะการแสดงข้อมูลมีทั้งที่แสดงเป็น สัญลักษณ์ ตัวเลือก และ ข้อความ

นายพงษภัทร หงส์สุขสวัสดิ์ กล่าวอีกว่า จากผลการวิจัยดังกล่าว ผู้บริโภคจึงเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีการออกประกาศหลักเกณฑ์การแสดงข้อมูลฉลาก GMOs ที่มีสัญลักษณ์ GMOs ชัดเจนและเห็นได้ง่าย ควบคู่กับการแสดงข้อมูลส่วนประกอบของ GMOs โดยมีข้อเสนอจากการศึกษาวิจัย ดังต่อไปนี้
1) การแสดงฉลากว่ามีส่วนประกอบจาก GMOs ต้องชัดเจน เพื่อสื่อสารให้ผู้บริโภคทราบและเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้า

2) ทุกผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้วัตถุดิบจาก GMOs ต้องแสดงบนฉลาก

 

3) ตัวอย่างการแสดงฉลาก GMOs ควรแสดงเป็น 2 ส่วน คือ

 

4) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ต้องเร่งการออกประกาศฉลาก GMO โดยเร็ว

5) ควรเปลี่ยนข้อความการแสดงข้อมูลของ “แป้งดัดแปร (Modified Starch)” เป็น “แป้งดัดแปรทางเคมี” หรือ “แป้งดัดแปรทางกายภาพ” เพื่อลดความสับสนและความเข้าใจผิดของผู้บริโภคเกี่ยวกับ “แป้งดัดแปร” กับ “ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากวัตถุดิบดัดแปรพันธุกรรม (GMO)”

และ 6) การแสดงฉลากสัญลักษณ์ NON - GMO เสนอเป็น 2 แนวทาง คือ
6.1) ถ้าไม่ให้แสดงข้อความ แต่มีผู้ประกอบการแสดงข้อความ ให้ดำเนินการทางกฎหมาย และเพิ่มโทษให้มากขึ้นกว่าเดิม
6.2) ถ้าให้แสดงการใช้ข้อความได้ ต้องมีหลักเกณฑ์ เงื่อนไขที่ชัดเจน และต้องมีกระบวนการติดตาม ตรวจสอบ ผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด รวมทั้งสามารถพิสูจน์ได้ว่าวัตถุดิบที่นำมาใช้ ไม่มีการปนเปื้อนของส่วนประกอบที่มี GMO โดยต้องมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือจากสถาบันวิชาการที่รัฐรับรองมาประกอบ