2nd benefit

2nd benefit

  • หน้าแรก

เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคเรียกร้องนายกฯ – กรรมการวัตถุอันตราย แบนพาราควอต

610518 news

เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ขอนายกรัฐมนตรี และกรรมการวัตถุอันตราย สั่งยกเลิกการใช้พาราควอตในการประชุมวันที่ 23 พฤษภาคม นี้ ชี้ข้อมูลนักวิชาการระบุชัดถึงอันตราย ตกค้างในสิ่งแวดล้อมร สัตว์และคน

คอบช.สำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคต่อฉลากอาหาร GMO หวังพัฒนาฉลากที่เข้าใจง่าย

610208 gmo
คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน โดยอนุกรรมการด้านอาหาร จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคต่อ ต่อการติดฉลาก GMOs เพื่อพัฒนาฉลากอาหารให้ผู้บริโภคเข้าใจง่าย ชัดเจน และน่าสนใจ อันนำมาสู่ความปลอดภัยในการบริโภค

คอบช.ชวนตอบแบบสอบถาม การพัฒนาการกำกับดูแลโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง

610116 adเชิญชวนนิสิต นักศึกษา และทุกท่าน ร่วมตอบแบบสอบถาม เพื่อให้เกิดคลังข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพ ไว้ตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพ และข้อความโฆษณาว่าเกินจริงหรือไม่


แบบสอบถามชุดนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยของคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ด้านสื่อและโทรคมนาคม เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงระบบ กลไกการกำกับดูแลโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพในสื่อต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อสร้างความมั่นใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อต่างๆ ได้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถามจะถูกเก็บเป็นความลับเพื่อใช้ในการวิจัยเท่านั้น
"ความคิดเห็นทุกคน ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้"

ร่วมตอบแบบสอบถาม
1. คลิกลิ้งก์
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScTLaCnSvRGxTHMlOOKQSZORdH1Kb95wa04aiXzSGQ-vlIGrg/viewform 

2. scan QR Code เพื่อเข้าสู่การตอบแบบสอบถาม

ขอบคุณผู้ให้ข้อมูลทุกท่าน
2. scan QR Code เพื่อเข้าสู่การตอบแบบสอบถาม

ระยะเวลารวบรวมข้อมูล 16/01/2561 - 16/02/2561

 อ่านข้อมูลเพิ่มเติมจากนิตยสารฉลาดซื้อ 

หวั่น ปชช.เสี่ยงบริโภคอาหารตีกลับด้อยคุณภาพ หลัง อย.โอนภารกิจให้ กษ.ดูแลอาหารนำเข้า อาจเข้าข่ายลักไก่ ไม่มีกฎหมายรองรับ

press 9SEP2016-01

7 กันยายน 2559 เวลา 13.30 น. ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค คณะอนุกรรมการด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ (คอบช.) แถลงข่าวแสดงความเป็นห่วง กรณีเลขาธิการ อย.ออกประกาศสำนักงานฯ ถ่ายโอนภารกิจให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตรวจสอบการนำเข้าสินค้าอาหารที่ยังไม่แปรรูป ได้แก่ เนื้อสัตว์ สัตว์น้ำ เครื่องเทศ ธัญพืช และถั่ว หวั่นประชาชนต้องบริโภคอาหารถูกตีกลับจากการส่งออกที่ด้อยคุณภาพและไม่ได้มาตรฐาน เปรียบเหมือนใช้ผู้บริโภคเป็นตัวประกันเพื่อเจรจาต่อรองผลประโยชน์การส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ

press 9SEP2016-04

น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล อนุกรรมการด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการฯได้มีการพิจารณาเรื่องนี้ด้วยความห่วงใยประเทศ ทั้งการออกประกาศทั้งที่ไม่มีกฎหมายรองรับ การใช้การอนุญาตนำเข้าอาหารซึ่งมีเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคไปเป็นการเจรจาต่อรองทางการค้ากับประเทศคู่ค้า และการรวบอำนาจการดูแลด้านอาหารนำเข้า-ส่งออกและตีกลับไปไว้ที่หน่วยงานด้านเศรษฐกิจเกรงว่าจะเป็นการซ้ำรอยความผิดพลาดในอดีต

“เป็นประกาศ อย.ที่มีความผิดปรกติอย่างมากเพราะไม่ได้อ้างอิงถึงอำนาจตามกฎหมาย ไม่มีตราครุฑ ไม่มีลายเซ็น แต่เป็นการอ้างอิงนโยบายรัฐมนตรีและข้อเสนอคณะทำงานจัดทำแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบการนำเข้า-ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร ภายใต้คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่มีเพียงทหาร ข้าราชการ นักธุรกิจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่มีตัวแทนผู้บริโภค อีกทั้งการตรวจสอบสินค้าที่เป็นอาหาร อย.ไม่สามารถถ่ายโอนภารกิจให้กระทรวงเกษตรฯได้เพราะพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ไม่ได้ให้อำนาจ อย.กระทำเช่นนั้น หาก อย.ถ่ายโอนภารกิจการตรวจให้กระทรวงเกษตรฯ กระทำหน้าที่แทนก็ถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย”

นอกจากนี้ สินค้าที่ถ่ายโอนภารกิจตามประกาศ อย.ซึ่งลงวันที่ 29 เม.ย.59 นั้น แม้จะแยกเป็นสินค้าเกษตรเฉพาะสินค้าอาหารตามพิกัดศุลกากรและรหัสสถิติ (HS Code) ที่มีรายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายประกาศฯ ข้อ 1 ให้กระทรวงเกษตรฯดูแล แต่ในข้อ 2 กลับซ่อนเงื่อนงำสินค้าอาหารทุกพิกัดที่ส่งออกแล้วถูกตีกลับโดยไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการจำหน่ายภายในประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ในข้อ 3 ให้กระทรวงเกษตรฯดูแลสินค้าอาหารที่ถูกตีกลับที่อาจมีวัตถุประสงค์เพื่อการจำหน่ายในประเทศ

“ฉะนั้น ไม่ว่าสินค้าอาหารที่ได้มีการส่งออกแล้วถูกตีกลับไม่ว่าจะมีวัตถุประสงค์เพื่อจำหน่ายหรือไม่จำหน่ายในประเทศจะอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงเกษตรฯ แทน อย. ซึ่งเดิมหากมีการตีกลับแล้วจะนำกลับมาผลิตหรือจำหน่ายในประเทศจะต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการอาหารอย่างเข้มงวด จากการไม่ทำหน้าที่ตามกฎหมายของ อย.ครั้งนี้ จึงน่าเป็นห่วงด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในประเทศ เพราะจากรายงานของคณะทำงาน สนช.ที่อ้างถึงนี้ มีความชัดเจนว่า ต้องการแก้ปัญหาและลดภาระให้อุตสาหกรรมอาหาร”

press 9SEP2016-02

 

น.ส.ปรกชล อู๋ทรัพย์ กล่าวว่า โดยโครงสร้างเดิมของกระทรวงเกษตรฯ ก็ไม่ได้มีเพื่อการนี้ ซึ่งการถ่ายโอนภารกิจจะทำให้ภาระงานของกระทรวงเกษตรฯต้องรับผิดชอบมีมากขึ้น และเป็นภารกิจที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคซึ่งเป็นภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยตรง ประกอบกับก่อนหน้านี้ที่พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานในผักผลไม้ที่ได้รับตรารับรองมาตรฐานQ และ OrganicThailand จากกระทรวงเกษตรฯ ก็เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในการกำกับดูแลมาตรฐานสินค้าของกระทรวงเกษตรฯ

 

 

 

press 9SEP2016-03

 

รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ให้ความเห็นว่า “ในบทบาทหน้าที่ของกระทรวงเกษตรฯ ที่จะสนับสนุนการส่งออกเพื่อสร้างรายได้ให้ประเทศ ตรงนั้นอาจเป็นเหตุผลที่มักถูกอ้างตลอดเวลาว่า หากดูแลเฉพาะการส่งออก ถ้าสินค้าถูกตีกลับจากประเทศปลายทาง เราจะไม่มีมาตรการอะไรที่จะไปใช้ต่อรอง ซึ่งถ้าคิดแบบนี้แปลว่าคิดบนฐานของเศรษฐกิจมาก่อนความปลอดภัยของผู้บริโภค ถ้าสินค้าถูกตีกลับแปลว่าอาหารนั้นไม่ปลอดภัยจึงถูกตีกลับ ทำให้เกิดคำถามว่า นั่นเป็นการดูแลประชาชนจริงหรือไม่ ?”

คณะอนุกรรมการด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ คอบช. ยังตั้งข้อสังเกตว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เน้นเรื่องการค้าและการเจรจาต่อรองเพื่อขายสินค้าเกษตรและอาหาร แต่ในประกาศ อย. ถ่ายโอนภารกิจดังกล่าว ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารหากมีการกระทำการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 หากมีการวิ่งเต้นหน่วยงานที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจให้มีการช่วยเหลือผู้ส่งออกที่สินค้าถูกตีกลับจะเกิดขึ้นอย่างง่ายดายขึ้นหรือไม่ เมื่อไม่มีหน่วยงานที่ดูแลด้านความปลอดภัยของสินค้าอาหารเช่น อย. มาคอยถ่วงดุลการตรวจสอบสินค้าและอาหาร

“ตั้งแต่ปี 2545 เคยมีแรงผลักดันจากภาคธุรกิจที่จะดึงงานควบคุมดูแลเรื่องอาหารทั้งหมดให้ไปอยู่ภายใต้หน่วยงานเดียว คือ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มอกช.) ภายใต้กระทรวงเกษตรฯ ด้วยเหตุผลเพื่อให้เกิดการแข่งขันได้ดียิ่งขึ้นทางด้านเศรษฐกิจ โดยแทบไม่สนใจเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค เช่นเดียวกับเหตุผลที่อ้างอิงในรายงานคณะทำงานของ สนช. แต่ครั้งนั้นมีการทัดทานจากหลายฝ่ายทำให้รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้ดำเนินตามเสียงเรียกร้องของกลุ่มธุรกิจอาหาร ไม่น่าเชื่อว่า จะมาสำเร็จในรัฐบาลทหารของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลกระทบสุขภาพอนามัยของประชาชนในประเทศไทย เช่นที่เคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อครั้งวัวบ้าระบาดในอังกฤษ และไข้หวัดนกในไทย ซึ่งในปัจจุบัน อังกฤษต้องทบทวนบทเรียนแยกหน่วยงานด้านความปลอดภัยอาหารออกมาจากกระทรวงด้านเศรษฐกิจ แต่ของไทยกลับไม่มีการสรุปบทเรียนทางอนุกรรมการอาหารและยา คอบช.จึงเสนอให้มีการทบทวนเรื่องดังกล่าว และ ขอให้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจงอย่างละเอียดว่า มีกระบวนการตรวจสอบสินค้าอาหารตีกลับอย่างไร มีหน่วยงานหรือภาคส่วนใดเข้าไปร่วมตรวจสอบสร้างความสมดุล ประชาชนจะมีความปลอดภัยต่อการบริโภคอาหารที่ถูกส่งคืนกลับมาอย่างไร และจะคุ้มครองผู้บริโภคอย่างไร

ทั้งนี้ ประกาศฉบับนี้นั้นมีผลบังคับใช้ไปแล้ว ตั้งแต่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา

link: ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การถ่ายโอนภารกิจให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตรวจสอบการนำเข้าสินค้าอาหาร

จี้ อย.หยุดเดินตาม “ประชารัฐ” ชี้อาจแทรกแซง-ทำลายสิทธิผู้บริโภค

press 150859-004-cover web

องค์กรผู้บริโภค เผย อย. อาจกำลังทำลายการคุ้มครองผู้บริโภคหากเดินตามข้อเสนอของ โครงการสานพลังประชารัฐ เหตุ “ประชารัฐ” ขอแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 367 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ อ้างเป็นอุปสรรคต่อการค้า และมีข้อกำหนดหลายประการไม่สามารถปฏิบัติได้ ทั้งๆ ที่ประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้รวมช่วงเวลาผ่อนผันให้ใช้ฉลากเก่ากว่า 2 ปี ซึ่งมีหลายบริษัทได้เปลี่ยนแปลงฉลากตามประกาศดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค จี้ อย. เดินหน้าใช้ประกาศฉลากรูปแบบใหม่ โดยไม่ต้องมีการปรับแก้ ตามที่ “ประชารัฐ” เสนอ เพื่อปกป้องสิทธิพื้นฐานของผู้บริโภค

         วันนี้ (15 ส.ค. 2559) ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี คณะอนุกรรมการด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) ร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ยื่นหนังสือคัดค้าน อย. ให้หยุดการพิจารณาปรับแก้ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 367 เรื่องการแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ

         จากการที่ประชารัฐกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารขอให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ.2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ ให้กลับมาใช้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194) พ.ศ.2543 เรื่องฉลาก โดยประชารัฐกลุ่มนี้อ้างในเอกสารว่า ไม่สามารถทำตามประกาศ สธ.ที่ 367 เพราะ มีข้อจำกัดมากมาย ไม่สามารถปฏิบัติได้จริงและสับสน และไม่สามารถทำฉลากใช้ร่วมกับประเทศอื่นได้ ต้องมีสต็อกฉลากเฉพาะขายในประเทศไทยทำให้ต้นทุนสูง ซึ่งภายหลังมีการปรับข้อเสนอเป็นให้แก้ไขประกาศฯ แทน และได้มีการนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และการแสดงฉลากอาหาร ของ อย. เพื่อให้มีการพิจารณาปรับแก้ประกาศฯ ฉบับที่ 367 เรื่อง การแสดงฉลากฯ ในวันนี้ และ คอบช. ได้มีการแถลงข่าวสนับสนุนให้ อย. เดินหน้าใช้ ประกาศฯ ฉบับที่ 367 เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 59 นั้น

press 150859-002


         นายพชร แกล้วกล้า นักวิชาการ คอบช.
กล่าวว่า ประกาศฯ ฉบับที่ 367 มีความก้าวหน้าในการยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก โดย มีการเพิ่มเติมการให้ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร การแสดงรายการวัตถุเจือปนอาหารตามกลุ่มหน้าที่ซึ่งการแสดงนี้ครอบคลุมถึงวัตถุเจือปนอาหารที่ติดมากับวัตถุดิบที่ใช้การผลิตด้วย การกำหนดให้แสดงชื่อผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย รวมถึงประเทศที่ผลิต การกำหนดขนาดอักษรในการแสดงฉลากให้สอดคล้องกับขนาดพื้นที่ฉลากเพื่อให้ฉลากสามารถอ่านได้ ซึ่งข้อปรับปรุงเหล่านี้ เป็นการปรับปรุงจากปัญหาต่าง ๆ ที่ อย. พบเจอมาในอดีต โดยได้ดำเนินการภายใต้แนวทางของมาตรฐานอาหารสากล (CODEX) ซึ่งถือเป็นการยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลากอาหารของประเทศไทย ดังนั้น หากคณะอนุฯ ของ อย. ชุดนี้ มีการพิจารณาปรับแก้ตามข้อเสนอของ ประชารัฐ ที่โดยรวม เสมือนจะให้กลับไปปฏิบัติแบบประกาศฯ ฉบับเดิม (194) นั้น จะเป็นการถอยหลังเข้าคลอง อย่างรุนแรง อาจเป็นการลิดรอนสิทธิพื้นฐานของผู้บริโภคซึ่งเป็นสิทธิที่ถูกระบุไว้ทั้งใน พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522(ข้อ 1 สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ) และเป็นสิทธิผู้บริโภคสากล (ข้อ 2 สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสาร : The Right to be Informed) ทำให้เข้าข่ายทำลายการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่ง คณะอนุฯ ชุดนี้ของ อย. จักต้องระวังและต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและถี่ถ้วนว่าสมควรปรับแก้ประกาศฯ ตามที่ “ประชารัฐ” เสนอมา หรือไม่ อย่างไร ซึ่งทางฝั่งภาคประชาชนมีความเห็นว่า สมควรเดินหน้าบังคับใช้ประกาศฯ ฉบับที่ 367 นี้ โดยไม่ต้องมีการปรับแก้

press 150859-003


         นายพงษภัทร หงส์สุขสวัสดิ์ ผู้จัดการสมาคมผู้บริโภคภาคตะวันตก
เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า อย. กำลังทำให้เกิดการปฏิบัติแบบ 2 มาตรฐานขึ้น ในการพิจารณาดำเนินงานภายใต้ข้อเสนอของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แตกต่างกัน ที่ผ่านมาเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภายใต้การดำเนินงานของ คอบช. ซึ่งเป็นภาคประชาชน เคยส่งหนังสือให้ อย. พิจารณาปรับแก้ ประกาศฯ เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารดัดแปรพันธุกรรม ตั้งแต่ปลายปี 2558 บัดนี้ผ่านมาเกือบ 9 เดือน อย. ดำเนินการแค่ทำหนังสือขอข้อคิดเห็นการแสดงฉลากของอาหารดัดแปรพันธุกรรม ไปยังหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่กับ ประเด็นนี้ การแก้ไขการแสดงฉลากอาหารในภาชนะบรรจุ ที่ “ประชารัฐ” ซึ่งเป็นกลุ่มของภาคธุรกิจ ได้เรียกร้องให้มีการปรับแก้ กลับใช้เวลาแค่หนึ่งเดือนก็จัดให้มีการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ด้านฉลากเป็นการเฉพาะเพื่อให้มีการพิจารณาปรับแก้ตามข้อเรียกร้อง การกระทำเช่นนี้ นำมาซึ่งคำถามว่า อย. ดูแลใครกันแน่ระหว่างผลประโยชน์ของผู้บริโภคที่เป็นประชาชนทั่วไป กับ ผลประโยขน์ของภาคธุรกิจ   

 

press 150859-005นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ตามที่คุณพงษภัทร กล่าวไปแล้ว ดูเหมือนว่า อย. จะเอาใจภาคธุรกิจจนทำให้การทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคเป็นไปอย่างล่าช้า ซึ่งสำหรับกรณีนี้กลับกลายเป็นการถอยหลังลงคลองเสียด้วยซ้ำ ฉะนั้น อย.จะต้องทบทวนบทบาทของตนเองให้ดีว่าภารกิจของตนอยู่ตรงไหนกันแน่

นางสาวสารี กล่าวต่อว่า จากข้อมูลการสำรวจฉลากของ คอบช. เมื่อระหว่างวันที่ 13 – 15 กรกฎาคม 2559 ที่ระบุว่าร้อยละ 84 มีการปรับแก้การแสดงฉลากตามประกาศฯ ฉบับที่ 367 แล้ว ชี้ให้เห็นว่า ข้ออ้างของประชารัฐที่ไม่สามารถทำตามประกาศ สธ.ที่ 367 นั้น ไม่จริง จึงขอเรียกร้องให้ อย. บังคับใช้ประกาศ ฯ 367 โดยไม่ต้องมีการปรับแก้ และให้มีกระบวนการตรวจสอบทั้งก่อนการจำหน่าย (pre-marketing) และหลังการจำหน่าย (post-marketing) อย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ และให้มีการรายงานผลการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดฐานแสดงฉลากไม่ถูกต้องต่อสาธารณะให้รับทราบด้วย เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีข้อมูลประกอบการเลือกสินค้าของตน ทั้งนี้หากต้องมีการปรับแก้ประกาศ สธ. ใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฉลากอาหาร ขอให้ดำเนินการภายใต้มาตรฐานเดียวกันเพื่อส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทยให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล

press 150859-006


ดร.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ตัวแทนรับมอบหนังสือจากคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค พร้อมรับปากว่าจะนำประเด็นดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมในเรื่องที่ยังไม่ชัดเจน และจะพิจารณาให้เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย

     ทั้งนี้ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) และเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศจะตรวจสอบเรื่องนี้อย่างเข้มข้น จะไม่ปล่อยให้ มีการทำลายการคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิผู้บริโภคอย่างเด็ดขาด

 

 

ข้อเท็จจริง
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ.2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2557 บังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้ใช้ฉลากเดิมที่เหลืออยู่ต่อไป แต่ไม่เกิน 2 ปี ซึ่งวันสุดท้ายของการใช้ฉลากเดิมคือวันที่ 4 ธันวาคม 2559

press 150859-007

“ประชารัฐ” แทรกแซง ทำลายการคุ้มครองผู้บริโภค ?

590715001 for web 

องค์กรผู้บริโภค เผย โครงการสานพลังประชารัฐ อาจทำลายการคุ้มครองผู้บริโภค เหตุให้ยกเลิกการแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ อ้างเป็นอุปสรรคต่อการค้า ทั้งๆ ที่ประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ผ่านมาเกือบ 2 ปี โดยผ่อนผันให้ใช้ฉลากเก่าได้ใน 2 ปี ซึ่งมีหลายบริษัทได้เปลี่ยนแปลงฉลากตามประกาศดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) หนุน อย. เดินหน้าใช้ประกาศฉลากรูปแบบใหม่ เพื่อส่งเสริมสิทธิผู้บริโภค  

          วันนี้ (15 ก.ค. 2559) ณ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพฯ คณะอนุกรรมการด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) เสนอผลทดสอบการแสดงฉลากอาหารของอาหารในภาชนะบรรจุ

          จากการที่ประชารัฐกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารขอให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ.2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ ให้กลับมาใช้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194) พ.ศ.2543 เรื่องฉลาก โดยประชารัฐกลุ่มนี้อ้างในเอกสารว่า ไม่สามารถทำตามประกาศ สธ.ที่ 367 เพราะ มีข้อจำกัดมากมาย ไม่สามารถปฏิบัติได้จริงและสับสน และไม่สามารถทำฉลากใช้ร่วมกับประเทศอื่นได้ ต้องมีสต็อกฉลากเฉพาะขายในประเทศไทยทำให้ต้นทุนสูง

590715002 for web

นายพชร แกล้วกล้า นักวิชาการ คอบช. กล่าวว่า จากการสำรวจการแสดงฉลากของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคระหว่างวันที่ 11 – 13 ก.ค. 59 โดยสุ่มสำรวจอาหารใน 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มเครื่องดื่ม จำนวน 39 ตัวอย่าง กลุ่มขนมขบเคี้ยว-เบเกอรี่ จำนวน 28 ตัวอย่าง กลุ่มอาหารพร้อมบริโภค (แช่เย็น-แช่แข็ง) จำนวน 13 ตัวอย่าง กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป-อาหารกระป๋อง จำนวน 13 ตัวอย่าง และ กลุ่มเครื่องปรุงรส จำนวน 8 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 101 ตัวอย่าง พบว่า อาหารจำนวน 85 ตัวอย่าง (ร้อยละ 84) มีการปรับปรุงฉลากตามประกาศฯ ฉบับที่ 367 เรียบร้อยแล้ว ส่วนตัวอย่างอีกจำนวน 16 ตัวอย่างนั้นยังคงใช้ฉลากรูปแบบเดิมตามประกาศฯ ฉบับที่ 194 อยู่ โดยเมื่อแยกตามกลุ่มของอาหารที่สำรวจฉลากจะพบว่าอาหารกลุ่มที่ยังใช้ฉลากรูปแบบเดิมอยู่มากที่สุดจะเป็นกลุ่มขนมขบเคี้ยว ซึ่งมีการใช้ฉลากรูปแบบเดิมที่ร้อยละ 50 (จาก 16 ตัวอย่างที่ใช้ฉลากเดิม) ส่วนกลุ่มอาหารที่เปลี่ยนมาใช้ฉลากรูปแบบใหม่ทั้งหมด (100%) ได้แก่ กลุ่มอาหารพร้อมบริโภค แช่เย็น-แช่แข็ง สำหรับกลุ่มอาหารที่เหลืออีก 4 กลุ่มมีการใช้ฉลากรูปแบบใหม่ ดังนี้ กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป-อาหารกระป๋อง ร้อยละ 92 กลุ่มเครื่องปรุงรส-วัตถุดิบ ร้อยละ 87.5 กลุ่มเครื่องดื่ม ร้อยละ 85 กลุ่มขนมขบเคี้ยว ร้อยละ 71 อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกต โดยเฉพาะเครื่องดื่มในกลุ่มน้ำผลไม้ที่ไม่มีการใส่วัตถุกันเสียนั้น ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าได้มีการปรับรูปแบบฉลากแล้วหรือไม่ เนื่องจากระบุบนฉลากว่าไม่ใช้วัตถุกันเสียและไม่มีส่วนประกอบใดที่เกี่ยวข้องกับการแพ้อาหาร

          “ประกาศฯ ฉบับที่ 367 เกิดจากการประชุมคณะอนุกรรมการเรื่องฉลากของ อย. เมื่อประมาณ 3 – 4 ปีที่แล้ว องค์ประกอบของคณะอนุฯ ชุดนั้น มีผู้แทนจากกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร นักวิชาการ นักกฎหมาย เจ้าหน้าที่ อย. และ ภาคประชาสังคม ประชุมร่วมกันจนได้เป็นประกาศฉบับนี้ แต่กลับเป็นว่า “ประชารัฐ” ภายใต้ภาคธุรกิจกับรัฐ หารือกัน 2 ฝ่าย โดยไม่มีภาคประชาสังคม จะให้ยกเลิกประกาศ ฯ ฉบับนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้อย่างยิ่ง รัฐจำเป็นที่จะต้องเปิดให้ทุกภาคส่วนเข้าไปมีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริง มิฉะนั้น อาจเป็นการทำลายการคุ้มครองผู้บริโภค อย่างที่ประชารัฐกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารกำลังจะทำ แบบนี้ไม่สามารถเรียกได้ว่า ‘ประชารัฐ’ แต่คือ ‘ธนรัฐ’ ทุนกับรัฐสมคบกัน” นายพชร กล่าว

590715003 for web

 

รศ. ดร. จิราพร ลิ้มปานานนท์ คณะอนุกรรมการฯ คอบช. กล่าวว่า จากข้อมูลการสำรวจฉลากดังกล่าว แสดงชัดเจนว่า ข้ออ้างของประชารัฐที่ไม่สามารถทำตามประกาศ สธ.ที่ 367 นั้น ไม่จริง จึงขอเรียกร้องให้ อย. บังคับใช้ประกาศ 367ฯ และให้มีกระบวนการตรวจสอบทั้งก่อนการจำหน่าย (pre-marketing) และหลังการจำหน่าย (post-marketing) อย่างต่อเนื่อง อย่างเป็นระบบ และมีการรายงานผลการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดฐานแสดงฉลากไม่ถูกต้องต่อสาธารณะให้รับทราบด้วย เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีข้อมูลประกอบการเลือกสินค้าของตน

ทั้งนี้ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) และเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศจะตรวจสอบเรื่องนี้อย่างเข้มข้น ไม่ปล่อยให้ ‘ประชารัฐ’ แต่ในนามนี้ทำลายการคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิผู้บริโภคอย่างเด็ดขาด

ข้อเท็จจริง
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ.2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2557 บังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับจากวันที่ประกาศในราช-กิจจานุเบกษา และให้ใช้ฉลากเดิมที่เหลืออยู่ต่อไป แต่ไม่เกิน 2 ปี ซึ่งวันสุดท้ายของการใช้ฉลากเดิมคือวันที่ 4 ธันวาคม 2559

ภาพถ่าย: เบญจมาศ ลาวงค์

 

เนื้อหาอื่นๆ...