2nd benefit

2nd benefit

ก้าวหน้า หรือล้าหลัง เมื่อกฎหมายสภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติกลายเป็นกฎหมายสภาขององค์กรผู้บริโภค มาตรา 46

611029 news
กฎหมาย สภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติ ผ่านคณะรัฐมนตรีไปเมื่อ 5 มิถุนายนที่ผ่านมาและได้ถูกส่งต่อไปที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีคณะพิเศษขึ้นมาจัดทำร่างกฎหมายฉบับนี้โดยมีคุณมีชัย ฤชุพันธุ์เป็นประธานคณะกรรมการ

สิ่งที่ทำให้ตื่นเต้นจากคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษนี้ก็คือการยกเลิกร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เพราะมองว่าร่างกฎหมายเขียนให้องค์กรเป็นหน่วยงานราชการ อาจจะขัดธรรมนูญ

โดยได้มีการร่างกฎหมายฉบับใหม่เป็นร่างกฏหมายจัดตั้งสภาขององค์กรผู้บริโภค ซึ่งกำหนดให้ทุกคนมีสิทธิรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรผู้บริโภค   แต่สภาองค์กรของผู้บริโภคมาจากองค์กรผู้บริโภคที่ทำงานมาไม่น้อยกว่าสองปีและไม่ถูกจัดตั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมโดยบริษัทเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐ มีสิทธิร่วมมือกันเสนอสภาขององค์กรผู้บริโภคซึ่งเบื้องต้นไม่น้อยกว่า 150 องค์กรในการริเริ่มได้ดำเนินการจดทะเบียนสภาองค์กรของผู้บริโภคแล้วภายใน 30 วันให้นายทะเบียนประกาศการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค
611029 news2

ให้องค์กรผู้บริโภคที่เป็นผู้ริเริ่มก่อการจัดทำข้อบังคับและวัตถุประสงค์ของสภาขององค์กรผู้บริโภค  โดยกฎหมายได้ออกแบบให้มีอำนาจเสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคต่อคณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงาน  ตรวจสอบติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาสินค้าและบริการเตือนภัยเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่อาจจะเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคและสามารถเปิดเผยชื่อสินค้าได้
ตรวจสอบการกระทำหรือละเลยการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรืออันตรายต่อผู้บริโภคสนับสนุนและช่วยเหลือองค์กรผู้บริโภคศึกษาวิจัยและดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิด สิทธิผู้บริโภคจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้บริโภคทุกปีโดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  ส่วนงบประมาณฝากไว้กับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเสนอให้เป็นเงินอุดหนุนประจำปี
รวมทั้งกำหนดให้มีทุนประเดิม 350 ล้านบาท

การพิจารณากฎหมายฉบับนี้นอกเหนือจากคณะกรรมการคณะพิเศษยังมีตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและตัวแทนจากองค์กรผู้บริโภคมีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำร่างกฎหมายฉบับนี้