2nd benefit

2nd benefit

ผู้บริโภคดันรัฐออก กม.เฉพาะคุ้มตลาดดิจิทัล พัฒนาระบบเยียวยา One stop service

610314 news1


คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน (คอบช.) ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) แผนงานพัฒนาวิชาการและสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) และสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค จัดงานสมัชชาผู้บริโภคประจำปี 2561 กำกับตลาดดิจิทัลให้เป็นธรรม (Making digital marketplacesfairer) วันที่ 14 – 15 มี.ค. 61 ภายในงานมีเสวนากำกับตลาดดิจิทัลให้เป็นธรรม (Making digital marketplaces fairer) โดยมี นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) นายอนุพงษ์ เจริญเวช นักสืบสวนสอบสวนชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค นายภาวุธ พงษ์วิทยภาณุ นายกสมาคมอีคอมเมิร์ซ และนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร่วมเสวนา
610314 news5

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่าปัจจุบันการซื้อขายออนไลน์ง่ายมากข้อมูลส่วนตัวก็ถูกเปิดเผยได้ขึ้น ถือเป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ทั้งการขโมยข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงการขโมยประโยชย์จากการลักลอบใช้บริการ ยกตัวอย่างมีผู้บริโภคร้องเรียนเข้าเรื่องการถูกขโมยใช้บัตรเครดิตในต่างประเทศ มีการขายสินค้าผลิตสุขภาพที่อันตรายมากขึ้นมีคนซื้อไปกินแล้วตาย

“การใช้สิทธิ์ร้องเรียนผู้บริโภคต้องไปอีกหลายหน่วยงาน ควรที่จะมีหน่วยงาน One Stop service ในการรับเรื่องร้องเรียนผู้บริโภค รวมถึงการคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องสัญญาโดยการใช้บัตรเครดิตจ่ายเงินซื้อสินค้าออนไลน์ เมื่อไม่ได้สินค้าก็ควรที่จะได้รับเงินคืนเพราะการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเป็นธุรกิจควบคุมสัญญา” นางสาวสารีกล่าว

นอกจากนี้ยังกล่าวเพิ่มเติมว่าผู้บริโภคเองต้องมียุทธศาสตร์ในการซื้อ รวมถึงติดตามข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค แชร์ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ยังต้องพัฒนากลไกการระงับข้อพิพาทร้องเรียนออนไลน์ รวมถึงมีความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องระบบการชำระเงิน อีกทั้งร่วมมือกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สนับสนุนองค์กรผู้บริโภคและร่วมมือกับผู้ประกอบการจัดโครงการสร้างแรงจูงใจกระตุ้นร้านค้าในตลาดประเภท Social commerce

“ในด้านกฎหมายก็ต้องพัฒนาแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีกฎหมายเฉพาะในด้านนี้ ส่งเสริมให้กำกับดูแลกันเองของผู้ประกอบการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและสร้างความมั่นใจในการซื้อสินค้า และพัฒนากลไกการฟ้องคดีแบบกลุ่มของไทยให้มีประสิทธิภาพ”
610314 news4
นายอนุพงษ์ เจริญเวช นักสืบสวนสอบสวนชำนาญการพิเศษสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่าการกำกับดูแลผู้ขายมีส่วนสำคัญ ทั้งตัวตน ที่อยู่ เพื่อการตรวจสอบข้อมูลเมื่อมีปัญหา ด้วยการทำระบบข้อมูล Big Data

“หน่วยงานด้านสถาบันการเงินมีบทบาทสำคัญเช่นกัน ต้องให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา เช่นการซื้อครีมโดยใช้บัตรเครดิต ครั้นจะยกเลิกผู้บริโภคกลับขอยกเลิกเองไม่ได้ต้องให้ทางร้านทำเรื่องเข้ามายกเลิก ขอให้มีการกำหนดว่าการซื้อสินค้าโดยบัตรเครดิตแล้วยังไม่ได้รับสินค้า ต้องเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคยกเลิกการสั่งซื้อได้ ผู้บริโภคที่มีปัญหาสามารถร้องเรียนกับ สคบ.ได้” นายอนุพงษ์กล่าว

610314 news3

นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. กล่าวว่าบทบาทของ กทสช.นั้น ทำระบบการสื่อสาร ซึ่งกำกับดูแลผู้ให้บริการระบบสื่อสารเช่นทีโอที แต่เมื่อมีการขายของผิดกฎหมาย กสทช.เข้าไปใช้อำนาจปกครองสั่งไม่ได้ ต้องให้ อย.ออกคำสั่งว่าผิดกฎหมายอย่างไร กสทช.จึงจะดำเนินการจัดการได้

“การซื้อของออนไลน์นั้นผู้บริโภคไม่รู้จักผู้ขาย แม้จะมีข้อดีคือราคาถูก หาซื้อของแปลกๆได้ การกำกับดูแลในการซื้อขายออนไลน์ต้องมีนั่นคือ Identity ที่ระบุตัวตนผู้ขายเช่นอาจจะผูกกับเลขบัตรประชาชน รวมถึงมีระบบคุ้มครองข้อมูลการเงินด้วย เมื่อซื้อของแล้วไม่ได้สินค้านก็ต้องคืนเงิน” กรรมการ กสทช.

นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการสร้างพลังของผู้บริโภคว่าการจัดการระบบซื้อขายออนไลน์นั้น ผู้บริโภคต้องอยู่กันเป็นกลุ่มเพื่อสร้างพลัง ใช้อะไรแล้วดีก็บอกต่อ ใช้อะไรแล้วมีปัญหามาบอกต่อกัน การรวมตัวของผู้บริโภคเป็นการรวมข้อมูลกันในการจัดการปัญหา จึงจำเป็นต้องรวมตัวกัน

 

610314 news6

โพลล์ชี้คนกรุง 74.7% เชื่อมั่นช้อปปิ้งออนไลน์ พบกว่าร้อยละ 32 ถูกหลอกลวง แนะภาครัฐตั้งหน่วยรับผิดชอบโดยตรง
http://consumerthai.org/news-consumerthai/ffc-news/4151-press-07032561.html

ติดตาม FB Live  https://www.facebook.com/ffcconsumer/videos/305371346659327/